ศาลสิทธิมนุษยชน


         ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปเป็นองค์กรตุลาการขององค์การสภาแห่งยุโรป (Council of Europe) จัดตั้งขึ้นภายใต้อนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐาน(ECHR) ซึ่งมีผลบังคับใช้ใน ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502)ศาลนี้ตั้งอยู่ที่เมืองสตราสบูร์ก (Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส[1]

         จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป คือมีการก่อตั้งCouncil of Europe ขึ้นโดยสนธิสัญญากรุงลอนดอน มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสร้างประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐในทวีปยุโรป โดย Council of Europe นี้มีสมาชิกทั้งหมด 47 ประเทศและไม่เฉพาะประเทศในสภาพยุโรป (European Union: EU) เท่านั้นที่เป็นสมาชิกของ Council of Europe

          Council of Europe ยกร่างอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรป ค.ศ.1950 (ECHR) โดยมีโครงสร้างทั้งที่เป็นสารบัญญัติและสถาบัน คือ ตัวอนุสัญญาและศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป มีสมาชิกทั้งหมด 47 ประเทศเช่นเดียวกัน

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรปได้ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพด้านสิทธิในการมีชีวิต ไม่ถูกทรมาน ไม่ถูกเอาลงเป็นทาส สิทธิในกระบวนการยุติธรรม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในทรัพย์สิน ซึ่งมีความคุ้มครองคล้ายกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

          ในข้อ 19 ของอนุสัญญานี้มีการบัญญัติไว้ว่า จัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนเพื่อเป็นการประกันว่ารัฐภาคีในอนุสัญญาฯได้เคารพและปฏิบัติตามอนุสัญญาฯและพิธีการฉบับต่างๆที่ผูกพันรัฐนั้นๆ

ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปมีลักษณะระหว่างประเทศแต่มิได้มีการทำงานเหมือนกับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ไม่พิจารณาคดีระหว่างรัฐต่อรัฐ

         อำนาจศาลสิทธิมนุษยชน ตีความและบังคับใช้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรป ค.ศ.1950 และพิธีสาร

         ผู้ที่มีสิทธิฟ้องคดี คือ ปัจเจกชน เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล หรือ Non-governmental Organization (NGO) รัฐไม่สามารถฟ้องคดีได้

         ผู้ที่จะตกเป็นจำเลยได้ คือ รัฐสมาชิกที่เป็นภาคีในอนุสัญญาในเรื่องนั้นเท่านั้นใโดยปัจเจกชนผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติของรัฐสมาชิก เพียงแต่ต้องมีเงื่อนไขคือ มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในรัฐสมาชิกแห่งอนุสัญญาฯและ ถูกละเมิดสิทธิที่ได้รับการรับรองตามอนุสัญญาฯโดยตรงก็สามารถฟ้องรัฐสมาชิกนั้นๆเป็นจำเลยต่อศาลสิทธิมนุษยชนได้

          เงื่อนไขเกี่ยวกับคดี มีดังนี้

  • 1.ต้องมีการดำเนินคดีต่อศาลภายในรัฐนั้นๆจนเสร็จสิ้นแล้ว คือคดีถึงที่สุดในศาลสูงสุด รวมถึงการฟ้องศาลรัฐธรรมนูญของรัฐนั้นด้วย
  • 2.โจทก์ต้องฟ้องคดีที่ศาล ECHR ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่คดีถึงที่สุดในศาลภายใน
  • 3.ในการฟ้องคดีต่อศาลภายในต้องมีการกล่าวอ้างว่าโจทก์ถูกรัฐนั้นๆละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ได้รับรองไว้ในอนุสัญญามาตราใด
  • 4.นอกจากอนุสัญญายังสามารถอาศัย ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UDHR) หรือ กฎบัตรสิทธิขั้นพื้นฐานของสหภาพยุโรป (Charter of Fundamental Rights) เป็นฐานแห่งสิทธิได้

          รัฐสมาชิกเมื่อตกเป็นจำเลยในคดี มีหน้าที่ให้ความร่วมมือกับศาลในการให้ข้อมูลตลอดจนเอกสารต่างๆที่ศาลจำเป็นต้องใช้ประกอบการพิจารณาคดี หากรัฐภาคีไม่ให้ความร่วมมือก็จะถูกลงโทษซึ่งเป็นกลไกสำคัญทำให้ศาลยังมีอยู่และใช้งานได้จริง

         องค์คณะผู้พิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ประกอบด้วยทั้งหมด 47 นาย มีองค์คณะในการนั่งพิจารณาคดี 7 นาย และ 17 นายในที่ประชุมใหญ่ เลือกตั้งโดยสภาแห่งคณะรัฐมนตรียุโรป มีวาระตำรงตำแหน่ง 9 ปี

          การบังคับตามคำพิพากษาศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ศาลจะส่งคำพิพากษาไปยัง The Committee Of Minister ซึ่งทำหน้าที่หน่วยงานบังคับคดีโดยจะแจ้งให้รัฐที่ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดทราบว่าตนกระทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศในข้อใดบ้าง รัฐดังกล่าวก็ต้องระมัดระวังมิให้มีการกระทำอันเป็นการละเมิดอนุสัญญา และแก้ไขกฎหมายของตนให้สอดคล้อง ไม่ขัดกับอนุสัญญาต่างๆ และศาลยังสามารถลงโทษโดยให้รัฐผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ปัจเจกชนผู้เสียหายได้[2]

          การที่ต้องมีศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปนี้ก็เพื่อที่จะบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ให้กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับได้จริงมิใช่เป็นเพียงตัวอักษรเลื่อนลอย สามารถคุ้มครองผู้ที่ถูกละเมิดได้จริง

          เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีการจัดตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนขึ้น ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มในภูมิภาคคล้ายกับสหภาพยุโรป ก็มีปฏิญญาพนมเปญซึ่งเป็นประกาศเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของอาเซียน และมีการก่อตั้งAICHR เป็นองค์กรที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามข้อ ๑๔ ของกฎบัตรอาเซียน เพื่อปฏิบัติภารกิจในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคตามขอบเขต อำนาจหน้าที่ที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๒ โดยคณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศละ ๑ คน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๓ ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องได้ไม่เกินอีก ๑ วาระ[3]

          แต่อย่างไรก็ตาม AICHR ก็เป็นองค์กรที่มิมีการรับข้อร้องเรียน เมื่อมีประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามอนุสัญญาหรือประกาศ ก็ไม่มีประเทศไหนไปร้องเรียนเพราะประเทศนั้นก็ทำเช่นเดียวกัน อาเซียนจึงยังไม่มีองค์กรที่จะทำหน้าที่บังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ ทำให้กฎหมายระหว่างประเทศหรือประกาศที่ยกร่างขึ้น ไม่มีผลใช้ได้จริง ไม่สามารถคุ้มครองบุคคลได้ ดังนั้น ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปจึงเป็นต้นแบบที่อาเซียนควรนำมาศึกษาและก่อตั้งศาลสิทธิมนุษยชนอาเซียนเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ใช้งานได้จริง


[1] สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.ศัพท์สิทธิมนุษยชน.[ออนไลน์]. http://library.nhrc.or.th/Dictionary/search_dic.ph... วันที่18 พฤษภาคม 2557

[2] ดร.รัชนีกร ลาภวณิชชา.สถาบันด้านสิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศและภูมิภาค.จัดทำเมื่อ22 เมษายน 2557

[3]กระทรวงการต่างประเทศ.การแต่งตั้งผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน.[ออนไลน์] .http://www.mfa.go.th/main/th/media-center/29/32506... 18 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568465เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท