ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้วยหรือไม่?


ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้วยหรือไม่?

ที่มา:news.voicetv.co.th

ผู้ประกอบการธุรกิจในปัจจุบันทั้งรายใหญ่และรายย่อยในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การค้าขาย การท่องเที่ยวและบริการ การขนส่งมวลชน ทั้งที่ผู้ประกอบการธุรกิจเป็นภาครัฐ ภาคเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจเป็นที่แน่นอนว่าธุรกิจเหล่านี้ย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาชน และสังคม ทั้งในด้านการจ้างแรงงานในการดำเนินกิจการการให้บริการลูกค้า การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

สิทธิมนุษยชนหมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเท่าเทียมกันในแง่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิ เพื่อดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษาศาสนา และสถานภาพทางกายและสุขภาพรวมทั้งความเชื่อทางการเมือง หรือความเชื่ออื่นๆที่ขึ้นกับพื้นฐานทางสังคม สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายทอดหรือโอนให้แก่ผู้อื่นได้ซึ่งสิทธิมนุษยชนนี้ถูกบัญญัติรับรองไว้ใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) ข้อ1 มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภารดรภาพ

ตังอย่างการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ประกอบการ กรณีการทำภาพยนตร์โฆษณาและโปสเตอร์โฆษณาของบริษัทดังกิ้นโดนัทในไทยได้ออกโฆษณาโปรโมทรสชาติใหม่ "ชาร์โคล โดนัท" เป็นภาพผู้หญิงแต่งหน้าเป็นสีดำ ทาลิปสติกสีชมพูสดใส และทำผมทรงรังผึ้งซึ่งเป็นแฟชั่นในยุคทศวรรษ 1950 ในมือข้างหนึ่งถือโดนัทที่กัดแล้ว มีสโลแกนเป็นภาษาไทยว่า "ฉีกทุกกฎความอร่อย"

องค์กรปกป้องสิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรท์ วอทช์ ได้ตำหนิภาพยนตร์โฆษณาและภาพโปสเตอร์ในไทยว่า "ดูประหลาดและเหยียดเชื้อชาติ" ขณะที่ผู้บริหารดังกิ้นโดนัทในไทยบอกปัดเสียงวิจารณ์ดังกล่าว

มีเสียงวิจารณ์ผ่านทวิตเตอร์ บล็อก และสื่อมวลชนในอเมริกา ว่า ภาพโฆษณานี้ดูคล้ายภาพที่คนอเมริกันผิวขาวในช่วงศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเหยียดผิว

ฮิวแมนไรท์ วอทช์ บอกว่า ถ้าออกโฆษณาแบบนี้ในอเมริกาจะต้องถูกประท้วงอย่างหนัก แต่ ในประเทศไทยเองไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านโฆษณาดังกล่าว

อย่างไรก็ดี เว็บไซต์ทางการของบริษัทในสหรัฐ ได้ออกมาขอโทษ โดยกล่าวว่า กำลังขอให้

เฟรนไชส์ในประเทศไทยถอนโฆษณานี้ และยอมรับว่าเป็นการโฆษณาที่ขาดความระมัดระวัง

ซึ่งก่อนหน้าสำนักงานใหญ่ของดังกิ้นโดนัทจะแถลงขอโทษไม่กี่ชั่วโมง ผู้บริหารดังกิ้น โดนัท ในประเทศไทย นาดิม ซาลฮานี บอกว่า เสียงวิจารณ์ที่เกิดขึ้นเป็น "ความวิตกจริตแบบอเมริกัน"

"ช่างน่าขันจริงๆ เราใช้สีดำโฆษณาโดนัทไม่ได้หรือ? ผมไม่เข้าใจ มันจะเดือดร้อนอะไรกันนักหนา? ถ้าผลิตภัณฑ์ของเราเป็นสีขาว แล้วผมให้ใครสักคนแต่งหน้าเป็นสีขาว นั่นเป็นการเหยียดผิวหรือเปล่า?" เขาตอบโต้ในการให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

จากโฆษณาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การประกอบการธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องเกี่ยวข้องกับสังคมในวงกว้างจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างละเอียดและรอบคอบในเรื่องที่อาจส่งผลกระทบต่อมนุษยชนแม้ว่าในบางกรณีอาจเป็นเรื่องที่คนในสังคมนั้นไม่ได้ให้ความสนใจโดยตรง เช่นในประเทศไทยที่ไม่ได้มองว่าโฆษณาดังกล่าวเป็นการเหยียดผิวเพราะในประเทศไทยไม่เคยมีเหตุการณ์การประท้วงเรื่องการเหยียดผิวเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา เรื่องนี้ จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนต่อสภาพจิตใจของประชาชนสหรัฐอเมริกาที่เคยถูกเหยียดสีผิวซึ่งในการเหยียดสีผิวได้มีการรับรองไว้ในปฏิญญาสากลข้อ 2 (1)ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพบรรดาที่กำหนดไว้ในปฏิญญานี้ โดยปราศจากความแตกต่างไม่ว่าชนิดใด ๆ ดังเช่น เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา การคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น เผ่าพันธุ์แห่งชาติ หรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ

ดังนั้นการที่ผู้บริหารดังกิ้นโดนัทในประเทศไทยออกมากล่าวปัดความรับผิดชอบเช่นนั้นย่อมเป็นการส่งผลเสียต่อธุรกิจเป็นแน่แท้เช่นนี้ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องเป็นผู้ที่ควรมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ และคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ธุรกิจนั้นจึงจะประสบความสำเร็จได้ยาวนาน

อ้างอิง

  1. Dunkin' Donuts ขอโทษ สาขาในไทยออกโฆษณา 'เหยียดผิว'http://news.voicetv.co.th/global/80418.html
  2. ปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน,www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf

    สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568448เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท