HR-LLB-TU-2556-TPC-การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ

สิทธิ คือ ประโยชน์หรืออำนาจของบุคคลที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองมิให้มีการละเมิด รวมทั้งการบังคับให้เป็นไปตามสิทธิในกรณีที่มีการละเมิดด้วย เช่นสิทธิในทรัพย์สิน สิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัว

มนุษย์จะอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุขนั้น พึงต้องตระหนักว่าทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานเหมือนตนเอง ไม่ควรถูกละเมิด และควรเคารพสิทธิของผู้อื่น เพราะปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น ล้วนเกิดจากการที่มนุษย์ไม่สามารถใช้สิทธิของตนที่จำเป็นในการดำรงชีวิตได้อย่างเต็มที่ อันเป็นการถูกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานทั้งสิ้น และสิทธิในชีวิตถือได้ว่าเป็นสิทธิที่สำคัญที่สุดสิทธิหนึ่งในชีวิตของมนุษย์ ได้ถูกรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งคุ้มครองบุคคลทุกคนที่เป็นมนุษย์ให้ได้รับสิทธิจากความเป็นมนุษย์ตามข้อ3 สิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งบุคคล โดยถ้ามนุษย์คนใดไม่มีชีวิตแล้ว ความเป็นมนุษย์ของคนคนนั้นก็ได้หมดลงไปอย่างสิ้นเชิง ถ้าเราไม่คุ้มครองสิทธิในชีวิตของมนุษย์แล้ว เราก็ไม่สามารถรักษาความเป็นมนุษย์ของเขาได้

กรณีศึกษา ชาวโรฮิงญาที่กลายเป็นเหยื่อในการค้ามนุษย์

การค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา เริ่มต้นจากการรับจ้างนำออกจากประเทศพม่าเข้ามายังฝั่งไทย คิดค่าหัวตั้งแต่ 20,000-50,000 บาท แล้วแต่ข้อตกลง เมื่อส่งข้ามแดนประเทศไทยมาแล้วก็ถือว่าหมดหน้าที่ แต่ปัจจุบันขบวนการรับจ้างนำชาวโรฮิงญา ไปยังประเทศที่ 3 มีความแยบยลมากยิ่งขึ้น ซึ่งใช้วิธีการ “เข้าฮอส” แบบกินสองต่อ คือการรับจ้างนำชาวโรฮิงญาหลบหนีออกจากประเทศพม่าแล้ว ยังทำการกักขังควบคุมตัวเอาไว้ในสถานที่ตามแนวชายแดน เพื่อขายชาวโรฮิงญาให้กับผู้ต้องการแรงงานในประเทศเพื่อนบ้าน ในราคาหัวละ 30,000–50,000 บาท ซึ่งมีนายทุนทั้งภาคการเกษตรและการประมง ที่ต้องการแรงงานเหล่านี้ไว้ใช้งาน เพราะค่าแรงถูก นายทุนสามารถกดขี่ได้ตามชอบใจ[1] ดังนั้นชาวโรฮิงญาเหล่านี้จึงตกอยู่ในสภาพหนีเสือปะจระเข้ ถูกทารุณกรรมสารพัด

หากไทยปล่อยให้ชาวโรฮิงญาถูกกดขี่ เป็นวัตถุในการค้ามนุษย์ต่อไป หากพิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 4 บัญญัติว่า"ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับการคุ้มครอง"[2]ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นี้เป็นสิทธิในชีวิตอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในสิทธิมนุษยชน คือมนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มนุษย์ทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นมีเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์ใด ก็จะได้รับการคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญเสียทั้งสิ้น

มนุษย์จึงเป็นการกระทำกับมนุษย์ดังเช่นว่าเขาเป็นสิ่งของ ไม่ใช่มนุษย์อีกต่อไป นอกจากการค้ามนุษย์แล้ว ในระหว่างการเดินทางยังมีการทารุณโหดร้าย นายจ้างกดขี่ตามใจชอบ ถูกใช้งานหนัก การกระทำเช่นนี้ก็เป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เช่นกัน คือ เอาเขาลงเป็นทาส ทั้งๆที่มนุษย์ทุกคนมีชีวิตจิตใจ มีความเป็นมนุษย์ มีสิทธิเสรีภาพอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันทุกคน ดังนั้น ขบวนการค้าชาวโรฮิงญานี้ เป็นการละเมิดสิทธิในชีวิตอย่างหนึ่ง คือการลดทอนศักดิ์ศรความเป็นมนุษย์ทั้งในเรื่องการค้ามนุษย์และการเอาคนลง เป็นทาส

กล่าวโดยสรุป สิทธิในชีวิตเป็นสิทธิที่สำคัญที่สุดของมนุษย์คนหนึ่ง แต่ก็ยังมีคนหลายกลุ่มที่ถูกละเมิดสิทธิในชีวิตนี้ ไทยจึงควรจะให้ความช่วยเหลือ ให้เขาได้รับการคุ้มครองสิทธิในชีวิต มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น ให้เขาอยู่ได้โดยปกติสุข และที่สำคัญคือ ถ้าสถานการณ์ในประเทศต้นทางของเขาสงบ เขาก็จะได้ถูกส่งกลับอย่างปลอดภัยในที่สุด

[1]ไชยยงค์ มณีพิลึก. เจาะลึก"โรฮิงญา"เหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ตายทั้งเป็น!!ถูกขูดรีด กักขัง กดขี่เยี่ยงทาส. 2556.http://www.dailynews.co.th/Content/regional/174579...เจาะลึก"โรฮิงญา"เหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ตายทั้งเป็น!!ถูกขูดรีด-กักขัง-กดขี่เยี่ยงทาส. 15 พฤษภาคม 2557

[2]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. 2550. แหล่งที่มา : http://www.ombudsman.go.th/10/documents/law/Consti... 17พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568446เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท