มนุษย์ที่ข้ามชาติ


ในปัจจุบัน การเดินทางระหว่างประเทศเป็นไปอย่างอิสระ ดังนั้นการย้ายถิ่นฐานของบุคลย่อมเป็นไปอย่างสะดวก ซึ้งต้นเหตุของการที่ทำให้มนุษย์ย้ายถิ่นฐานมีปัจจัยหมายอย่างอาทิ ปัจจัยทางความคิด ปัจจัยทางเศรษฐกิจการเงิน ปัจจัยทางความรู้ เป็นต้น กรณีที่จะกล่าวถึงก็คือ เมื่อมีการเดินทางและโยกย้ายถิ่นฐานได้ง่ายขึ้น กลับพบว่าปัญหาที่ตามมาก็คือเมื่อบุคคลมีการย้ายถิ่นฐานหรือเดินทางไปทำกิจธุระอย่างใดๆที่ประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งเราจะเรียกพวกเขาเหล่านี้ว่ามนุษย์ข้ามชาติถ้าหากว่ามนุษย์เหล่านี้เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมายก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าตรงข้าม พวกเขาเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ก็จะกลายเป็นบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคลทันที ก็คือกลายเป็นคนไร้สัญชาติ

มนุษย์ที่ข้ามชาติ[1] หมายถึง บุคคลที่มีการกระทำในลักษณะที่ข้ามชาติ คือมีถิ่นที่อยู่หรือเคยอยู่อาศัยในประเทศประเทศหนึ่งอยู่แล้ว แต่ได้มีการข้ามหรือเคลื่อนย้ายมายังอีกประเทศหนึ่ง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม บุคคลเหล่านี้ได้แก่ นักท่องเที่ยว แรงงานข้ามชาติ นักลงทุนข้ามชาติ นักศึกษา และผู้หนีภัยความตาย เป็นต้น

กรณีที่จะนำมาพิจารณาคือ กรณีของ น้องดนัย ยื่อบ๊อ เกิดวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ที่โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของนายอาบู ข้ามฝั่งมาจากเมียนมาร์ และไม่มีสัญชาติไทย มารดาชื่อนางหมี่ยึ่ม นางหมี่ยึ่มนั้นได้พิสูจน์สัญชาติไทยผ่านและได้รับเลขประชาชนไทยแล้ว แต่ได้รับภายหลังจากที่น้องดนัยเกิดหลายปีด้วยกัน ซึ่งก็คือวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 จึงทำให้ในตอนที่เกิดน้องดนัยไม่ได้รับสัญชาติ ไทย

หากพิจารณาการได้มาซึ่งสัญชาติไทยของบุคคลเเล้วมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508[2]

มาตรา 7 บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(2) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคหนึ่ง

คำว่าบิดาตาม (1) ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม

มาตรา 7 ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น

(1) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

ซึ่งจากกรณีที่พิจารณาแล้วจะพบได้ว่า น้องดนัย สมควรที่จะได้รับสัญชาติไทย เนื่องจาก น้องดนัยได้ถือกำเนิดภายในประเทศไทย โดยมีมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ถึงแม้มารดาของน้องดนัยจะได้สัญชาติมาภายหลังที่น้องดนัยจะถือกำเนิด น้องดนัยย่อมสมควรที่จำได้รับสัญชาติไทย ตามมาตรา7 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508

โดยการที่ รัฐ ปฏิเสท การขึ้นทะเบียน สัญชาติให้น้องดนัยเป็นสิ่งที่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยเนื่องจากเมื่อพิจารณา จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 7 เด็กมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิด และมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ[3]ซึ่งการกระทำของรัฐที่ไม่ยอมให้สัญชาติแก่น้องดนัย จึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของน้องดนัย


[1] มนุษย์ข้ามชาติ http://www.l3nr.org/posts/535656.

[2] พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508. แหล่งที่มา : http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538975889&Ntype=1927 เมษายน 2557.

[3] ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนhttp://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/crct.pdf

หมายเลขบันทึก: 568416เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 03:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 03:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท