ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/คนหนีภัยความตาย


ในปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษย์ชนอยู่มากมายซึ่งหนึ่งในนั้นคือปัญหาปัญหาสิทธิมนุษยชนขอบผู้ลี้ภัย/คนหนีตายซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่ง

คำว่าสิทธิมนุษยชน (Human Right)หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ[1]

คำว่า ผู้ลี้ภัยหมายถึงบุคคลที่อยู่นอกประเทศต้นกำเนิดหรือประเทศที่มีถิ่นฐานประจำ เพราะเขาผู้นั้นประสบกับภัยอันเกิดแต่การตามล่า การกดขี่ด้วยเหตุทาง เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ ความเห็นทางการเมือง หรือ การเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคมที่ถูกตามล่า บางครั้งอาจเรียกผู้ลี้ภัยว่า ผู้ขอที่ลี้ภัย (asylum seeker) จนกว่าจะได้รับการยอมรับสถานภาพของผู้ลี้ภัย[2]

ในส่วนของผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 มีคำนิยาม และความหมายของสถานภาพผู้ลี้ภัยว่า ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหารหรือได้รับการคุกคามต่อชีวิตเนื่องจากสาเหตุข้อหนึ่งข้อใด เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติสมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง

ผู้หนีภัยความตาย คือ ผู้หนีภัยที่เกิดกับชีวิต ทั้งภัยโดยตรง และโดยอ้อม

ภัยความตายโดยตรง เช่น ภัยจากการสู้รบ

ภัยความตายโดยอ้อม แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ภัยความตายทางกายภาพและ ภัยความตายทางจิตใจ

ภัยความตายทางกายภาพ เป็นภัยซึ่งเกิดจากการคาดการณ์ได้ว่า ถ้าไม่หนีออกมาจากพื้นที่นั้นจะต้องตาย เช่น เมื่อรู้ข่าวว่ามีกองทหารกำลังจะเข้ามาที่หมู่บ้านและมีข้อมูลว่า หากทหารเข้ามาในหมู่บ้านแล้วจะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงหนีออกมาก่อนที่ทหารจะมาถึง หรือ กรณีการถูกบังคับเก็บภาษี หรือการข่มขืน ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้

ภัยความตายอีกประเภทหนึ่งคือภัยความตายทางจิตใจ เช่น การข่มขืน เป็นต้น

แม้ว่าตลอด เวลากว่าสิบปีที่ผ่านมาประเทศไทยจะมีผู้หนีภัยความตายจากประเทศพม่าเข้ามา อาศัยจำนวนหลายแสนคน แต่เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้ ลงนามเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย ทำให้การให้ความช่วยเหลือผู้หนีภัย ความตายในประเทศไทยไม่ได้ดำเนินไปตามมาตรฐานระดับสากล นอกจากนี้ สังคมไทยส่วนใหญ่ยังคงขาดความเข้าใจในเรื่องสิทธิของผู้หนีภัยความตายจนนำไป สู่การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหรือละเมิดสิทธิผู้หนีภัยความตาย

จากความคิดเห็นของข้าพเจ้า ปัญหาเรื่องปัญหาสิทธิมนุษยชนขอบผู้ลี้ภัย/คนหนีตายในประเทศไทยนั้นเป็นปัญหาน้านของสิทธิมนุษยชน ซึ่งจำเป้นต้องมีการดูแลจากทุกภาคส่วนให้ปัญหานี้หมดไปหรือน้อยลงไปจากสังคมไทย


[1] kittayaporn28.wordpress.com/โลกศึกษา-2/หน่วย-5/สิทธิมนุษยชน-human-right/

[2] th.wikipedia.org/wiki/ผู้ลี้ภัย

หมายเลขบันทึก: 568412เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 03:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 17:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท