ข้อคิดที่ได้จากภาพยนตร์ Amazing Grace


<p>          ภาพยนตร์เรื่อง Amazing grace เป็นภาพยนตร์แห่งประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อฉลองการครบรอบ 200 ปี แห่งการยกเลิกการค้าทาสในประเทศอังกฤษ นี่คือเรื่องราวการต่อสู้ของ วิลเลียม วิลเบอร์ฟอร์ซ คริสเตียนหนุ่ม ผู้เป็นสมาชิกรัฐสภาอังกฤษที่อายุน้อยที่สุดในเวลานั้น เพื่อยกเลิกกฎหมายการค้าทาสในสหราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งเวลานั้นนับได้ว่าเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงจนแทบประเมินค่าไม่ได้ เนื่องจากมีทาสผิวดำชาวแอฟริกาถูกเกณฑ์มาขายในตลาดค้าทาสกว่า 12 ล้านคน ผลประโยชน์มูลค่ามหาศาลเกิดขึ้นบนเลือดเนื้อ ความตายและความเจ็บปวดของเพื่อนมนุษย์ ที่พวกเขาถูกมองว่าไม่ได้แตกต่างอะไรจากสัตว์ใช้งาน ใคร ๆ ก็มีสิทธิกอบโกยประโยชน์จากชีวิตทุกหยาดหยดของพวกเขาได้อย่างชอบธรรม เพียงเพราะเขาเกิดมามีสีผิวและหน้าตาที่แตกต่างจากคนบางกลุ่มเท่านั้น</p><p>         ประวัติการต่อสู้ของ วิลเลียม วิลเบอร์ฟอร์ซ (William Wilberforce) วิลเบอร์ฟอร์ซ เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 1759 ได้เข้าศึกษาที่วิทยาลัยเซ็นต์จอห์น เมืองเคมบริดจ์ ขณะที่ศึกษาอยู่เขาได้รู้จักและเป็นเพื่อนกับ วิลเลียม พิตต์ ซึ่งกลายเป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษในเวลาต่อมา พิตต์เป็นผู้จุดประกายและชักชวนให้วิลเบอร์ฟอร์ซเข้าสู่เวทีการเมืองเพียงอายุ 21 ปี เขาได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ในสมาชิกรัฐสภาประจำเมือง Hull เขาเป็นผู้มีวาทะศิลป์เข้าขั้นหาตัวจับยาก และนั่นทำให้เขาได้รับการขนานนามว่า “นักการเมืองฝีปากกล้าแห่งยุค”</p><p>          วิลเบอร์ฟอร์ซเปิดใจต้อนรับพระเจ้าเข้ามาในชีวิตเมื่ออายุ 25 ปี นั่นคือจุดหักเหเป็นสำคัญในชีวิตของเขา เพราะพระเจ้าได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาที่เคยทะเยอทะยาน ใจร้อน แสวงหาความสุขอย่างไร้เป้าหมาย ให้กลายเป็นคนใหม่ วันนึงเขาได้พบกับ จอห์น นิวตัน ผู้รับใช้พระเจ้าและเป็นผู้ประพันธ์บทเพลง Amazing Grace ซึ่งเคยมีอาชีพค้าทาสมาก่อน นิวตันนับเป็นบุคคลสำคัญที่ร่วมแรงร่วมใจในการต่อสู้ร่วมกับวิลเบอร์ฟอร์ซ จนกระทั่งวาระสุดท้ายวิลเบอร์ฟอร์ซยื่นฎีกาขอให้มีการล้มเลิกการค้าทาส ในวันที่ 11 พฤษภาคม 1815 แต่ไม่สำเร็จ นับจากนั้นตลอด 18 ปีต่อมาเขายังคงเสนอฎีกา และต่อสู้ด้วยความทรหดอดทนจนในที่สุดพระราชบัญญัติเลิกทาส (Emancipation Act) ก็ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 26 กรกฎาคม 1833 ซึ่งหลังจากนั้น 3 วัน วิลเลียม วิลเบอร์ฟอร์ซ ก็เสียชีวิตลง</p><p>          ข้อคิดที่ข้าพเจ้าได้หลังจากชมภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ เรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนพึงมีอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งเชื้อชาติหรือสีผิว ซึ่งเห็นได้จากในภาพยนตร์ว่าในยุคนั้น สังคมจะเห็นว่าคนผิวดำนั้นไม่ใช้มนุษย์จึงมีการกระทำโหดร้าย แบ่งแยก กดขี่ข่มเหงพวกคนผิวสี เพียงเพราะว่าพวกเขามีภาษา ชาติพันธุ์ที่แตกต่างไป ดังนั้น เราจึงควรมองเห็นคุณค่าของมนุษย์ ปฏิบัติต่อทุกคนโดยไม่แบ่งแยก เพราะมนุษย์ทุกคนนั้นมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน</p><p>ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=181700</p><p>ธัญกาญจน์ ผดุงชีวิต</p><p>5301611215</p>

หมายเลขบันทึก: 568313เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท