ศาลสิทธิมนุษยชน


            เมื่อในปัจจุบันปัญหาการถูกละเมิดสิทธิมนุษย์ชนนั้นได้เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งกระบวนการในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนนั้นมีอยู่หลักๆด้วย 2 กระบวนการ คือ กระบวนการยุติธรรมในศาลและกระบวนการยุติธรรมนอกศาลซึ่งมีทั้งในระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งในทีนี้จะขอกล่าวถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศซึ่งจัดเป็นกระบวนการยุติธรรมในศาล ซึ่งก็คือ ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปซึ่งถือว่าเป็นศาลที่มีประสิทธิภาพแห่งหนึ่งของโลก

                 โดยหากเราศึกษาย้อนไปในอดีต เหตุการณ์ต่างๆที่สะท้อนให้เห็นถึงการละเมิดสิทธิมนุษย์ ด้วยกันทั้งสิ้น และล้วนเกิดขึ้นในประเทศที่อยู่ในทวีปยุโรป จึงได้มีการจัดตั้งองค์กรและหน่วยงานต่างๆเข้ามาดูแลและปฏิบัติหน้าที่ ในส่วนของด้านกระบวนการยุติธรรม ก็ได้มีหน่วยงานต่างๆ ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นICJหรือศาลโลก รวมถึง ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปด้วย

ที่มาของศาลดังกล่าว

                  ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European of Human Rights-ECtHR) ตั้งอยู่ที่เมืองสตราส์บูร์ก (Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส ตามหลักการในอนุสัญญายุโรปว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน ปี 1950 (The European Convention on Human Rights) เพื่อดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติตามอนุสัญญาของประเทศสมาชิก ซึ่งอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms) ซึ่งเป็นหนึ่งในอนุสัญญาที่สำคัญที่สุด ที่สภายุโรป (The Council of Europe) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกของสภายุโรป ทั้ง 47 ประเทศได้เข้าเป็นภาคีและรับหลักการของอนุสัญญาฯ

                    ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป(The European Court of Human Rights) จัดตั้งตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรป ค.ศ.1950 Article 19 เพื่อเป็นการประกันว่ารัฐภาคีในอนุสัญญาได้เคารพและปฏิบัติตามอนุสัญญาและพิธีสารฉบับต่างๆที่ผูกพันรัฐนั้นๆ อำนาจศาลคือ ตีความและบังคับใช้อนุสัญญาและพิธีศาลครอบคุลมกรณีตามที่บัญญัติในอนุสัญญา ศาลภายในของรัฐสมาชิกต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาด้วย หากไม่ปฏิบัติตามจะเกิดความรับผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ


                   ผู้พิพากษาในศาลสิทธิมนุษยชน ประกอบไปด้วยผู้พิพากษาจากแต่ละภาคีจำนวนเท่ากันกับจำนวนรัฐภาคีอนุสัญญาฯ มีทั้งสิ้น47 คน โดยมาจากการเลือกตั้งโดยคณะรัฐมนตรียุโรป มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 9 ปี สำหรับองค์คณะในการนั่งพิจารณานั้น ประกอบด้วยผู้พิพากษา 7 คน ส่วนที่ประชุมใหญ่ประกอบด้วยผู้พิพากษา 17 คน นอกจากนี้รัฐภาคีอาจจะเสนอรายนาม ผู้พิพากษาที่มีสัญชาติอื่นในนามของตนก็ได้

                    บุคคลที่สามารถฟ้องคดีได้ คือปัจเจกชนทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลโดยไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติของรัฐสมาชิก NGO (non-governmental organization) อันมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ [1]

1.มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในรัฐสมาชิกแห่งอนุสัญญา

2.ถูกละเมิดสิทธิที่ได้รับการรับรองตามอนุสัญญาโดยตรงจากรัฐที่ถูกฟ้องร้อง

             รัฐสมาชิก ผู้ที่ตกเป็นจำเลยคือรัฐสมาชิกเท่านั้น เงื่อนไขเกี่ยวกับคดีคือ

1.ต้องมีการดำเนินคดีต่อศาลภายในรัฐนั้นๆจนเสร็จสิ้นแล้วคือคดีถึงที่สุดในศาลสูงสุดแล้ว รวมถึงการฟ้องศาลรัฐธรรมนูญของรัฐนั้นด้วย

2.โจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปใน 6 เดือนนับแต่วันที่คดีถึงที่สุดในศาลภายใน

3.โดยในการฟ้องคดีต่อศาลภายในข้างต้นจะต้องมีการกล่าวอ้างว่าโจทก์ถูกรัฐนั้นๆละเมิดสิทธมนุษยชนที่ได้รับรองไว้ในอนุสัญญามาตราใด

4.นอกจากอนุสัญญานี้ยังสามารถอาศัย UDHR, Charter of Fundamental Rights เป็นฐานแห่งสิทธิได้

             กล่าวได้ว่าถ้าไม่ได้เป็นรัฐภาคีของอนุสัญญานี้ ก็จะไม่สามารถขึ้นศาลนี้ได้ แต่เมื่อเป็นภาคีแล้ว ก็ไม่ใช่ทุกข้อในอนุสัญญาและในพิธีสารจะผูกพันรัฐนั้นทุกข้อ บางรัฐอาจทำพิธีสารเลือกรับได้ คือเลือกรับเฉพาะอนุสัญญาหรือจะรับท้ังอนุสัญญาและพิธีสาร ทั้งนี้ เมื่อรับเท่าใดก็จะผูกพับรัฐเท่านั้น ในส่วนที่ไม่ได้รับก็จะฟ้องหรือถูกฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้

                    การตัดสินของศาลนั้น[2]  จะต้องทำการตัดสินด้วยการลงคะแนนเสียงข้างมากผู้พิพากษาที่มีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีและจะมีเอกสิทธิในการเพิ่มเติมความคิดเห็นของตนเองลงไปต่างหากจากคำพิพากษาหรือรวมกันก็ได้ รวมทั้งการแสดงความเห็นขัดแย้งหรือขัดแย้งเพียงเล็กน้อยลงไปด้วย
ถึงแม้ว่าคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปจะ “ไม่มีผลเหนือศาลภายใน” หรือ “ไม่มีผลลบล้างคำพิพากษาของศาลภายใน” ก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลมีผลผูกพันต่อรัฐคู่กรณีที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาล และแนวทางการพิจารณาคดียึดถือตามคำพิพากษาที่ได้พิพากษาไปแล้วเป็นหลัก  กล่าวคือ ทำให้รัฐคู่กรณีและประเทศสมาชิกได้ปรับกฎหมายภายในของตนให้สอดคล้องกับอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

           ซึ่งคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปนั้น ได้เป็นที่ยอมรับว่ามีความชัดเจนแน่นอน และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติตามได้ไม่เฉพาะเพียงแต่ในประเทศในภูมิภาคยุโรปเท่านั้น คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติหรือที่เรียกว่าUN Human Rights Committee ก็ได้นำแนวคำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปไปปรับใช้ในการพิจารณาถึงพันธกรณีของรัฐภาคีองค์การสหประชาชาติ ในกรณีที่มีการร้องเรียนโดยรัฐหรือเอกชนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนโดยรัฐใดรัฐหนึ่งหรือไม่ด้วย 

          จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงถือได้ว่า ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปนั้นเป็นกระบวนการสำคัญในการคุ้มครองและช่วยในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ ทำให้ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนนั้นได้รับทางแก้และเป็นตัวอย่างและแนวในการปฎิบัติที่ดีต่อศาลหรือองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลกให้นำไปปฎิบัติและดำเนินงานตามแนวทางดังกล่าว  ส่งผลให้สิทธิมนุษย์ชนได้รับการคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้สังคมทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว

แหล่งที่มาของข้อมูล

[1] เอกสารประกอบการบรรยายวิชา น.396 สิทธิมนุษยชน 

[2] วิธีปฎิบัติขั้นตอนและรายละเอียดของศาลสิทธิมนุษยชน (ออนไลน์)  http://www.l3nr.org/posts/466240

หมายเลขบันทึก: 568312เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท