กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


โทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษผู้กระทําผิดที่มีกําหนดโทษสูงสุดของสังคมมา ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน สำหรับประเทศไทยการประหารชีวิตมีมาตั้งแต่ สมัยโบราณ คือการใช้ดาบตัดคอ และเสียบหัวประจาน และยกเลิกการตัดคอไปในสมัยการปฏิรูปการปกครองปี 2475 ให้เหลือเพียงการเสียบหัวประจาน ในปี 2477 ได้มีปรับเปลี่ยนเป็นการยิงเป้า จนกระทั่ง 19 ตุลาคม 2546 การประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าก็กลายเป็นอดีตเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการ ประหารชีวิตนักโทษจากการยิงเป้าไปเป็นการนำมาฉีดยา หรือสารผิดให้ตาย[1][2]

แนวคิดสิทธิมนุษยชนกับโทษประหารชีวิต ประกอบด้วย [3]

1. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ( Universal Declaration of Human Rights )

ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ ( Moratorium )ได้ให้การรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ตามข้อมติที่217 A (III) ประเทศไทยได้ออกเสียงสนับสนุนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่10 ธันวาคม 2491 ซึ่งถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ในการวางรากฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่าง ประเทศฉบับแรกของโลกและเป็นพื่นฐานของกฎหมาย

ระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนทุกฉบับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนถือเป็นมาตรฐานที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่ ได้ร่วมกันจัดทําเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนทั่วโลก

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจึงเป็นการประกาศเจตนารมณ์ในการรับรอง สิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์และเป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมโลก

ในประเด็นเรื่อง โทษประหารชีวิต มาตราที่เกี่ยวข้องคือ

ข้อ 1 มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดืและสิทธิต่างมี เหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ

ข้อ 3 คนทุกคนมีสิทธิในการดํารงชีวิตเสรีภาพและความมั่นคงแห่งตัวตน

ข้อ 5 บุคคลใดๆ จะถูกทรมานหรือได้รับผลปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายผิด

มนุษยธรรม หรือต่ำช้ามิได้

จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงข้อตกลงระหว่างประเทศที่จะต้องให้ความสําคัญ ต่อสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะการเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานในการมีชีวิตของมนุษย์ ซึ่งการประหารชีวิตถือเป็นการปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดที่เป็นการละเมิดสิทธิ ขั้นพื้นฐานในการมีชีวิตของมนุษย์

ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต เพื่อเป็นการแสดงถึงการปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและเป็นการ แสดงออกถึงการให้ความสําคัญต่อการเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในประเทศ เป็นสําคัญ

2. พิธีสารเลือกรับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ( International Covenant on Civil and Political Rights :ICCPR )

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรองกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง เมื่อวันที่16 ธันวาคม 2509 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่23 มีนาคม 2519 โดยกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองประกอบด้วยวรรคอารัมภบทและบทบัญญัติ 53 ข้อและแบ่งออกเป็ น 6 ส่วน

ประเทศไทยได้เข้าได้เข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง โดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่27 ตุลาคม 2539 โดยมีผลบังคับใช้กับประเทศไทยเมื่อวันที่30 มกราคม 2540

กติกาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการมีชีวิตคือ

ข้อ 3 รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับที่จะประกันสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรีใน การที่จะอุปโภคสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองทั้งปวงดังที่ได้ระบุไว้ในกติกานี้

ข้อ 5 ไม่มีความใดในกติกานี้ที่อาจนําไปตีความไปในทางที่จะให้รัฐใด กลุ่ม หรือบุคคลใดได้สิทธิที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรม หรือกระทําการใดอันมีจุดมุ่งหมายในการทําลายสิทธิและเสรีภาพประการใดที่ รับรองไว้ในกติกานี้หรือเป็นการจํากัดสิทธินั้นยิ่งไปกว่าที่ได้บัญญัติไว้ ในกติกานี้จะต้องไม่มีการจํากัดหรือเลี่ยงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ได้รับ การรับรอง หรืออาจมีอยู่ในรัฐภาคีใดในกติกานี้ซึ้งเป็นไปตามกฎหมาย อนุสัญญากฎระเบียบ หรือจารีตประเพณีโดยอ้างว่ากติกานี้ไม่รับรองสิทธิที่ว่าเช่นนั้น หรือรับรองสิทธินั้นในระดับที่ด้อยกว่า

ข้อ 6 มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตมาแต่กําเนิด สิทธินี้ต้องได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายบุคคลจะต้องไม่ถูกทําให้เสียชีวิต โดยอําเภอใจ

ในประเทศที่ยังมิได้ยกเลิกโทษประหารชีวิต การลงโทษประหารชีวิตอาจจะกระทําได้เฉพาะคดีอุกฉกรรจ์ที่สุดตามกฎหมายที่ใช้ บังคับในขณะกระทําความผิด และไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกติกานี้และต่ออนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและการลง โทษอาชญากรรมการล้างเผ่าพันธุ์ การลงโทษเช่นว่านี้จะกระทําได้ก็แต่โดยคําพิพากษาถึงที่สุดของศาลที่มีอํานา จ

ในกรณีที่การทําให้เสียชีวิตมีลักษณะเป็นอาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์ ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าข้อนี้มิได้ให้อํานาจรัฐภาคีใดแห่งกติกานี้ในอันที่จะ เลี่ยงจากพันธกรณีใดที่มีตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและการ ลงโทษอาชญากรรมล้างเผ่าพันธุ์

บุคคลใดต้องคําพิพากษาประหารชีวิต ย่อมมีสิทธิขออภัยโทษหรือลดหย่อนผ่อนโทษตามคําพิพากษาการนิรโทษกรรม การอภัยโทษตามคําพิพากษาประหารชีวิตอาจให้ได้ในทุกกรณี

บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่จะกระทําความผิดจะถูกพิพากษาประหารชีวิตมิได้และจะดําเนินการประหารชีวิตสตรีขณะมีครรภ์ไม่ได้

รัฐภาคีใดแห่งกติกานี้จะยกเว้นข้อนี้เพื่ออ้างประวิง หรือขัดขวางการยกเลิกโทษประหารชีวิตไม่ได้

ข้อ 7. บุคคลจะถูกทรมาน หรือ ได้รับการปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือต่ำช้ามิได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคคลจะถูกใช้ในการทดลองทางการแพทย์ หรือทางวิทยาศาสตร์โดนปราศจากความยินยอมอย่างเสรีของบุคคลนั้นมิได้

ข้อ 9. บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของร่างกายของบุคคลจะถูกจับกุม หรือควบคุมโดยอําเภอใจไม่ได้ บุคคลจะถูกลิดรอนเสรีภาพของตนมิได้ ยกเว้นโดยเหตุและโดยเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

จากการที่ประเทศไทยได้เข้าได้เข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเมือง โดยข้อกําหนดสิทธิทางการเมืองจากข้อกําหนดของพิธีสารเลือกรับกติการะหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ( International Covenant on Civil and Political Rights:ICCPR ) มีข้อกําหนดที่สําคัญต่อการเคารพสิทธิเสรีภาพและความปลอดภัยของพลเมืองในประ เทศเป็นสําคัญ ซึ่งประเทศไทยได้มีการปฏิบัติตามข้อกําหนดของพิธีสารดังกล่าวในประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับการยกเลิกโทษประหารชีวิตสําหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และสตรีผู้ที่ตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามปัจจุบันประเทศไทยยังคงใช้โทษประหารชีวิตซึ่งอาจแสดงให้เห็นถึง การปฏิบัติต่อผู้กระทําผิดที่ยังคงมีการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพในการมี ชีวิต อันแสดงให้เห็นถึงการไม่ปฏิบัติตามพิธีสารพิธีสารเลือกรับกติการะหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ( InternationalCovenant on Civil and Political Rights :ICCPR ) ทั้งหมด หากแต่มีการเลือกปฏิบัติในประเด็นที่ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามได้ ซึ่งหากประเทศไทยมีการยกเลิกโทษประหารชีวิตได้อย่างแท้จริง จะทําให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามกฎกติการะหว่างประเทศที่ให้ความคุ้มครอง ต่อสิทธิในการมีชีวิตของประชาชนในประเทศเป็นสําคัญ

3. พิธีสารเลือกรับฉบับที่สองแห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง

และสิทธิทางการเมือง ( Second Optional Protocol to the International Covenant on Civil and Political Rights )

พิธีสารฉบับนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมือง แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่ได้เป็นภาคีฉบับที่สองนี้แต่เนื่องจากประเทศไทยได้ เป็นภาคีแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2539 จึงควรพิจารณาถึงสาระของพิธีสารซึ่ง เห็นว่าข้อ 6 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กล่าวถึงการยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยเสนอแนะอย่างจริงจังว่าการยกเลิกนี้เป็นสิ่งอันพึงปรารถนา จึงเชื่อมั่นว่ามาตรการทั้งมวลในการยกเลิกโทษประหารชีวิต จะต้องถือเป็นความก้าวหน้าในการมีสิทธิที่จะมีชีวิต และมุ่งมั่นที่จะดําเนินการเพื่อปฏิบัติตามข้อผูกพันระหว่างประเทศ ในการยกเลิกโทษประหารชีวิต พิธีสารกําหนดว่า

ข้อ 1 ไม่มีบุคคลใดที่อยู่ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายของรัฐภาคีในพิธีสารฉบับนี้จะ ถูกประหารชีวิตได้ รัฐภาคีแต่ละรัฐต้องดําเนินมาตรการที่จําเป็นทุกอย่าง เพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิตภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายของตน

ข้อ 2 พิธีสารฉบับนี้ไม่ยอมรับข้อสงวนใดๆยกเว้นข้อสงวนที่กระทําในเวลาสัตยาบัน หรือเมื่อเข้าภาคยานุวัติซึ่งเปิดโอกาสให้ใช้บทลงโทษประหารชีวิตระหว่างสง ครามตามคําพิพากษาคดีอาญาร้ายแรงที่สุดทางทหารที่กระทําในระหว่างสงคราม

พิธีสารเลือกรับฉบับที่สองแห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง ( Second Optional Protocol to the International Covenant on Civil and PoliticalRights ) มีวัตถุประสงค์สําคัญที่ต้องการให้ประเทศต่าง ๆ มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยกําหนดให้เมื่อประเทศสมาชิกได้มีการลงนามแล้ว จะต้องไม่มีการลงโทษประหารชีวิตในประเทศดังกล่าวสําหรับอาชญากรรมร้ายแรง ทั่วไป ( Ordinary Crime ) ทุกประเภทคดี หากแต่สามารถใช้โทษประหารชีวิตสําหรับอาชญากรรมร้ายแรง (Most Serious Crime ) ระหว่างสงครามตามคําพิพากษาคดีอาญาร้ายแรงทางทหารที่กระทําในระหว่างสงคราม โดยมีพฤติกรรมการกระทําผิดที่ละเมิดต่อความมั่นคงของประเทศและความสงบเรียบ ร้อยของสังคม การละเมิดกฎอัยการศึก หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญาที่ร้ายแรงทางทหารในขณะเกิดภาวะสงคราม การก่อการร้าย และการกบฏ โดยส่วนหนึ่งเป็นพฤติกรรมการกระทําผิดที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียชีวิตโดย เป็นการฆาตกรรมโดยเจตนาเป็นสําคัญ


[1] โทษประหารชีวิต ควรมีต่อไปหรือไม่? โดย Nuntarat วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2556

สืบค้นทาง http://news.mthai.com/webmaster-talk/252462.html

[2] บทความ “รณรงค์เปลี่ยนแปลงโทษประหารชีวิตตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล” โดย นายอานนท์ ยังคุณ นักวิชาการยุติธรรมปฏิบัติการ

และนางสาวจิฬาภรณ์ ตามชู นักวิชาการยุติธรรมชํานาญการพิเศษ ผู้จัดทําและเรียบเรียง

นายสมชาย คมกริส ผู้อํานวยการกองส่งเสริมสิทธิและเสรภาพ ี ผู้ตรวจสอบ/กลั่นกรอง

กรมคุ้มครองสทธิ ิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม วันที่ 16 ธ.ค.56

สืบค้นทาง http://www.rlpd.moj.go.th/rlpdnew/images/rlpd_1/HRC/2557/kill131256

[3] รายงาน เรื่อง “โทษประหารชีวิตในประเทศไทย” โดย คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ วันที่ 2 มกราคม 2557

สืบค้นทาง http://library.nhrc.or.th/ulib/document/Fulltext/F07970.pdf

หมายเลขบันทึก: 568311เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 23:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท