ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี


ผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี


สิทธิในการมีสุขภาพที่ดี

               เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมวลมนุษยชาติตามปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่สหประชาชาติได้กำหนดไว้ ซึ่งมนุษย์ทุกคนมีสิทที่จะได้มีสุขภาพที่ดีอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง

สิทธิมนุษยชนด้านสาธารณสุข 

               หมายถึง การที่บุคคลมีสิทธิในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างเท่าเทียมกัน สิทธิที่จะได้รับคือ การบริการด้านการสุขภาพ ก็คือ สิทธิของบุคคลที่ได้รับความเท่าเทียมในการที่จะได้ รับบริการด้านสุขภาพ โดยไม่คำนึงว่าบุคคลนั้นจะเป็นใคร มีความสามารถจะรับภาระค่าบริการหรือไม่ก็ตาม เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพดี


องค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ [WHO] 

               ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับสุขภาพไว้ว่า สุขภาพดี คือการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตและสวัสดิภาพทางสังคม อยู่ในสภาพดี ไม่ได้หมายความเพียงว่า ไม่มีการเจ็บป่วยหรือไม่มีทุกข์กังวลกับการเจ็บป่วยเท่านั้น ในทางการแพทย์ คำว่า สุขภาพดีไม่มีกำหนดค่าที่แน่นอนตายตัวขึ้นอยู่กับสภาพความเหมาะสม ของแต่ละคน ไม่อาจใช้หลักเกณฑ์เดียวกันในการวัดค่าต่างๆ

ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 

       มาตรา 5 บัญญัติว่า บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติ

                จากหลักกฎหมายข้างต้นจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยได้มีการรับรองถึงหลักประกันสุขภาพของประชาชนไว้ทั้งในกฎหมายสูงสุดของประเทศซึ่งก็คือรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้นยังรับรองไว้ใน พ.ร.บ. ต่างๆ 


ปัญหาที่น่าพิจารณา...  คือ บุคคลผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดีนั้น หมายความถึงเฉพาะบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้นหรือไม่? ที่จะได้รับการดูแลในเรื่องสุขภาพจากรัฐ หรือจะหมายความว่า มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะมีสัญชาติใดก็เป็นผู้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดีได้

                 ถ้าเป็น "คนที่ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ" การได้รับสิทธิด้านสาธารณสุข ได้ถูกกำจัดเขตการบริการด้านสุขภาพ สิทธิในด้านสาธารณสุขมิได้ควบคุมอย่างทั่วถึง ในด้านการบริการบางอย่างไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ์นั้นได้ ไม่มีสิทธิในหลักประกันสุขภาพใดๆ ตัวอย่างเช่น 

กรณีศึกษา :

                น้องบิวตี้ หรือ ด.ญ. อรพรรณ อายุ 11 เดือน เกิดใน จ.ตาก ประเทศไทยจากแม่ที่เกิดในประเทศไทยแต่ไม่มีสัญชาติ    พิการตั้งแต่กำเนิด ขามีลักษณะบิดเบี้ยว ผิดปกติ ไม่น่าสามารถเดินได้ ได้รับการรับรองสถานะคนต่างด้าวที่มีสิทธิอาศัยชั่วคราว ใน ท.ร.13 มีบัตรประจำตัวประชาชน นำหน้าด้วยเลข 7 ไม่มีสิทธิในการประกันสุขภาพ ทำให้ได้รับการลำบากในการรักษาสุขภาพ เพราะไม่มีเงินรักษามากพอซึ่งจากอาการของน้องบิวตี้ที่พิการ อีกทั้งแม่ของบิวตี้ได้ทิ้งไปทำให้น้องบิวตี้ขาดทั้งแม่และเงิน โดยขณะนี้อยู่ในการดูแลของสถานพักพิงบ้านทัศนีย์

                 จะเห็นได้ว่า จากที่กล่าวมาประเทศไทยมีผู้ถูกละเมิดสิทธิในการมีสุขภาพดีเป็นจำนวนหนึ่งถึงมากทีเดียว กรณีอื่นนอกจากน้องบิวตี้ เช่น กรณีน้องนาแฮซึ่งขาและเท้าบิด ไม่สามารถเดินได้ ต้องคลานไปตามพื้น น้องนาแฮเป็นบุคคลไร้รัฐเพราะไม่เคยมีการแจ้งเกิดแม้เกิดในประเทศไทยก็ตาม ทำให้น้องนาแฮไม่มีสิทธิในการรักษาพยาบาล ทั้งที่ความจริงแล้วน้องนาแฮควรได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลในฐานะที่เป็นเด็ก คนพิการ รวมถึงเป็นมนุษย์คนหนึ่งด้วย จากที่ได้กล่าวไป เห็นได้ชัดว่าน้องนาแฮกำลังถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

                   ทั้งที่สิทธิในการมีสุขภาพดี ปรากฏอยู่ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ25(1) ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพและความเป็นอยู่ดีของตนและครอบครัว รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษาทางแพทย์และบริการสังคมที่จำเป็น และมีสิทธิในความมั่นคงยามว่างงาน เจ็บป่วยพิการ เป็นหม้าย วัยชรา หรือขาดอาชีพอื่นในพฤติการที่นอกเหนืออำนาจของตน

                   ความหมายของคำว่าทุกคนในข้อ25(1) แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนย่อมหมายถึง ทุกคนที่เป็นมนุษย์โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นเพศใด ศาสนาใด เชื้อชาติหรือแม้แต่สัญชาติใด ดังนั้นประเทศไทยเราควรที่จะให้ความสนใจ ใส่ใจในด้านนี้ คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และทำตามอย่างจริงจัง จะได้ไม่เกิดเหตุการณ์ดังเช่น ตัวอย่างที่กล่าวข้างต้นไม่ว่ากับใครก็ตาม



อ้างอิง

-สิทธิในการมีสุขภาพที่ดีและวิธีปฎิบัติผู้มีสิทธิได้รัประโยชน์(ออนไลน์) 

http://www.esanphc.net/online/people/people01.htm

-แผนปฏิบัติการแม่บทว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้านสาธารณสุข แหล่งที่มา:

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-4/hu…

-พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545

http://www.moph.go.th/ops/minister_06/Office2/30%20baht%20law.pdf

-ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf

หมายเลขบันทึก: 568298เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท