ครอบครัวข้ามชาติ


ครอบครัวข้ามชาติ

พิจารณาว่าครอบครัวข้ามชาติคืออะไร ครอบครัวข้ามชาติคือการที่ ครอบครัวครอบครัวหนึ่งมีบุคคลในครอบครัวซึ่งเป็นคนไร้รัฐ หรือไร้สัญชาติ ซึ่งส่งผลในแง่ของการได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆในฐานะคนของรัฐ อย่างเช่นเรื่องของสวัสดิการในการศึกษา การรักษาพยาบาล จากภาครัฐเป็นต้น นอกจากนี้ยังไม่สามารถดำเนินการบางประการได้เนื่องมาจากสถานะคนไร้รัฐนั่นเอง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาความไม่เท่าเทียม และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกด้วย

ปัญหาครอบครัวข้ามชาติ เป็นปัญหาซึ่งต่อยอดมาจากปัญหามนุษย์ข้ามชาติ ที่ได้พิจารณาไปในบทความเรื่องมนุษย์ข้ามชาติก่อนหน้านี้ ซึ่งประเด็นหลักที่เป็นปัญหาใหญ่ ยังคงเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากการไร้สัญชาติของบุคคล ซึ่งในบทความนี้จะขอยกกรณีตัวอย่างของครอบครัวเจดีย์ทอง ซึ่งประสบปัญหาครอบครัวข้ามชาติขึ้นกล่าวอ้าง

สำหรับกรณีของครอบครัวเจดีย์ทองนั้น เริ่มต้นจากการที่ นางสาวแพทริเซีย หญิงสาวสัญชาติมาเลเซีย ได้พบรักกับนายอาทิตย์ บุคคลสัญชาติไทย นางสาวแพทริเซีย ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยอาศัย หนังสือเดินทางของทางการมาเลเซีย ปรากฏว่าต่อมานางสาวแพทริเซีย ไม่ประสงค์ที่จะกลับไป ณ ประเทศบ้านเกิดคือมาเลเซียอีก จึงทำการอยู่ในประเทศไทยต่อ และทำการอยู่กินกับนายอาทิตย์โดยที่มิได้มีการจดทะเบียนสมรส แต่อย่างใดซึ่งต่อมา นางสาวแพทริเซียก็ได้ทำการแจ้งสถานะคนไร้สัญชาติ กับหน่วยงานราชการของไทย และได้รับการรับรองว่าเป็นบุคคลไร้สัญชาติตามที่ตนได้แจ้งไป โดยทำหน้าที่เป็นคนทำความสะอาดที่บ้านของนายอาทิตย์ ซึ่งก่อปัญหาว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการสร้างสถานะของคนไร้สัญชาติขึ้นโดยไม่จำเป็น ซึ่งทำให้นางสาวแพทริเซีย เสียสิทธิต่างๆอย่างมากมาย เนื่องจากการยอมรับว่าตนไม่มีสัญชาติทั้งที่ในความเป็นจริงนั้น นางสาวแพทริเซียถือสัญชาติมาเลเซีย นอกจากนี้ยังทำให้นางสาวแพทริเซียเสียสิทธิในฐานะ ชาวมาเลเซียซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทยอีกด้วย

ประการต่อมา เมื่อเวลาผ่านไปนางสาวแพทริเซียมีบุตรกับนายอาทิตย์สามคนด้วยกัน ซึ่งตามหลักของการได้สัญชาติแล้วนั้น การที่บุคคลจะได้สัญชาติมาได้นั้นจะต้องมีจุดเกาะเกี่ยวในทางดินแดน หรือกล่าวคือเป็นบุคคลที่เกิดในดินแดนนั้นหรือ ทางสายโลหิตหรือ สืบสายโลหิตมาจากบุคคลที่มีสัญชาตินั้นนั่นเอง ซึ่งบุตรของทั้งคู่มีสิทธิได้รับสัญชาติทั้งไทยและมาเลเซีย โดยการได้รับสัญชาติไทยนั้น ได้รับจากการสืบสายโลหิตจานายอาทิตย์ผู้ซึ่งเป็นพ่อ และ จากการที่เด็กทั้งสามคนเกิดในประเทศไทยนั่นเอง และนอกจากนี้ยังมีสิทธิได้รับสัญชาติมาเลเซีย โดยการสืบสายโลหิต จากผู้เป็นแม่อีกด้วยแต่เนื่องจากว่า ได้มีการจดแจ้งว่านางแพทริเซีย เป็นคนไร้สัญชาติ ดังนั้นเด็กทั้งสามจึงไม่ได้รับการจดแจ้งว่ามีเชื่อสายมาเลเซีย และนอกจากนี้ยังไม่มีการจดลงยังทะเบียนราษของทางการมาเลเซียด้วย ซึ่งทำให้เด็กทั้งสามเสียสิทธิที่จะถือสัญชาติมาเลเซีย เนื่องจากความบอกพร่องในการแจ้งสถานะบุคคลที่ผิดพลาด และไร้การตรวจสอบข้อมูลที่ดีเสียก่อน

ปัญหาเรื่องของครอบครัวเจดีย์ทองเป็นปัญหาที่มีความน่าสนใจมากเพราะเหตุว่า เป็นการสร้างสถานะคนไร้รัฐให้แก่บุคคลทั้งที่บุคคลนั้นมีสัญชาติอยู่แล้ว ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาปก่บุคคลผู้จดแจ้งเป็นคนไร้สัญ๙ติเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบถึงบุตรที่เกิดทั้งสามคน ซึ่งแม้ว่าเด็กทั้งสามคนจะมีสิทธิได้รับสัญชาตืไทยดังที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นแล้วนั้นก็ตาม แต่การได้รับสัญชาติมาเลเซียเป็นสิทธิโดยชอบธรรมที่เด็กทั้งสามคนพึงมีแต่ถูกพรากเอาไปด้วยความผิดพลาดดังกล่าว

อ้างอิง

ความเป็นคนไร้รัฐและคนไร้สัญชาติในประเทศไทย:คืออะไร ? และควรจัดการอย่างไร ? http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=278&d_id=277. 13 พฦษภาคม 2557

กม.ไทยย่อมมีผลกำหนดความเป็นไปได้ที่บิดานอกสมรสจะรับรองบุตรนอกสมรสซึ่งเกิดจากมารดาสัญชาติมาเลเซียให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย

แหล่งที่มา: http://www.l3nr.org/posts/535406 13พฦษภาคม 2557

กรณีศึกษาครอบครัวเจดีย์ทอง : บุตรที่เกิดในไทยจากชายสัญชาติไทยและหญิงมาเลเซียมีสิทธิในสัญชาติไทยหรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?http://www.gotoknow.org/posts/566775 13พฦษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568233เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 02:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 02:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท