การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ

เคยได้กล่าวไปแล้วในบทความก่อนหน้านี้ถึง การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาว โรฮิงญา ในประเทศพม่าซึ่งทำให้ชาวโรฮิงญาจำนวนมากต้องทิ้งบ้านเกิดเมืองนอนเร่ร่อนไปยังประเทศต่างๆเพื่อแสวงหาการมีชีวิตที่ดีกว่า ซึ่งในบทความนี้จะขอยกกรณีตัวอย่างของ

ชาวโรฮิงญาขึ้นกล่าวอ้างอีกครั้งโดยจะมุ่งเน้นไปที่ สิทธิในการมีชีวิตซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นหนึ่งในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานซึ่งมีความสำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่ง

พิจารณาว่าสิทธิในการมีชีวิตคืออะไร? ตามปฏิญาณสากาลว่าด้วยสิทธิมนุยชนได้ อธิบายไว้

ข้อ3“คนทุกคนมีสิทธิในการดำรงชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งตัวเอง”

กล่าวคือมนุษย์มีสิทธิที่จะกำหนดและลิขิตชีวิตของตนเอง โดยอิสรเสรีและปราศจากการแทรกแซงจากบุคคลอื่นที่จะมาพรากเอาสิทธินั้นไป และ ยังมีสิทธิที่จะมีชีวิตที่ปลอดภัยและมั่นคง มนการดำรงชีวิตอีกด้วย นอกจากนี้ในข้อ 5 ยังได้กล่าวต่อมาว่า

ข้อ5“บุคคลใดๆ จะถูกทรมาน หรือได้รับผลปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายผิดมนุษยธรรม หรือต่ำช้าไม่ได้”

หมายความว่า บุคคลจะถูก ทรมานทั้งด้านร่างกาย หรือจิตใจ หรือได้รับผลร้าย หรือถูกลงโทษ จากการปฏิบัติที่ผิดหลักมนุษยธรรมไม่ได้ อันเป็นการตอกย้ำถึง เรื่องของความมั่นคง และ การมีชีวิตอยู่ โดยปราศจากการ ปฏิบัติอันไร้มนุษยธรรมจากผู้อื่นนั่นเอง

สำหรับกรณีชาวโรฮิงญานั้น เป็นกลุ่มคนที่โดนละเมิดสิทธิในการมีชีวิตอยู่จากรัฐบาลทหารพม่าอย่างรุนแรง เพราะเหตุที่ว่ารัฐบาลทหารพม่ามองว่า กลุ่มค่าเหล่านี้ไม่ใช่คนสัญชาติของตน และเป็นกลุ่มคนที่ลี้ภัยอย่างผิดกฎหมายในประเทศพม่า แม้กระทั่งว่าหลายคนจะได้เกิดในประเทศพม่าก็ตาม ก็ยังคงเป็นการยากที่จะได้รับสัญชาติพม่า นอกจกานี้ยังได้ทำการกวาดล้างชาวโรฮิงญาอย่างไร้มนุษยธรรม โดยการกดขี่สิทธิมนุษยชนของชาวโรฮิงญาเป็นอย่างมาก เป็นต้นว่า ขวางกั้นชาวโนฮิงญาจากการได้รับบริการสาธารณะต่าง เช่นโรงพยาบาล จำกัดสิทธิไม่ให้ชาวโรฮิงญาสามารถแต่งงานได้ บังคับใช้แรงงาน กีดกันในเรื่องของที่พักรวมถึงอาหาร จนเป็นเหตุให้ชาวโรฮิงญาจำนวนมาก ต้องดิ้นรนเพื่อที่จะมีชีวิตที่ดีกว่า หรือมีชีวิตรอด ไปยังประเทศที่สาม หรือ หนีมายังประเทศทางผ่านอย่างประเทศไทย หรือ อินโดนีเซียเป็นต้น

จากที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นจะเห็นได้ว่าการที่รัฐบาลทหารพม่า กระทำการดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิในการมีชีวิตอยู่ ของชาวโรฮิงญาอย่างรุนแรง โดยการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม ทำให้ชาวโรฮิงญาไม่สิทธิที่จะเลือกวิธีการดำเนินชีวิตของตนเองอย่างอิสระ อีกทั้งยังเป็นการยากที่จะสามารถมีชีวิตที่สุขสบายได้ ภายใต้การกดขี่ข่มเหงดังกล่าว ซึ่งความพยายามที่จะเอาชีวิตรอดของชาวโรฮิงญานั้น ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาอย่างมากมายแก่ประเทศอื่นๆ เป็นต้นว่ามีการเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายของชาวโรฮิงญา หรือจำต้องเสียค่าใช้จ่ายมหาศาลในการดูแลบุคคลเหล่านี้อย่างไม่มีทางเลือกเนื่องมาจากว่าไม่สามารถผลักดันคนเหล่านี้กลับประเทศได้ เพราะหากกระทำลไงปย่อมเท่ากับเป็นเสือนการ ผลักไล่คนที่กำลังขาหักให้ไปว่าน้ำในทะเล ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างมาก

แม้ว่าในปัจจุบันจะมีหน่วยงานต่างๆมากมายเข้ามาให้ความช่วยเหลือแก่ชาวโรฮิงญา ในด้านต่างๆแล้วก็ตาม แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ย่อมสะท้อนถึงข้อความคิดที่ยังไม่เป็นผลใช้ได้จริงซึ่งเกิดขึ้นในประเทศพม่า คือเรื่องของการเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ และเคารพสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่น รวมถึงการเคารพสิทธิในการมีชีวิตของบุคคลด้วย ซึ่งมิใช่แต่เพียงพม่าเท่านั้นที่ยังประสบปัญหาดังกล่าว ข้าพเจ้าเชื่อว่ายังมีอีกหลายประเทศที่นโยบายของประเทศมิได้เป็นไปโดยสอดคล้องกับ หลัก สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประชาคมโลกจะมความตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวและมุ่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้หมดสิ้นไป

อ้างอิง

สิทธิในชีวิตและร่างกาย แหล่งที่มา: http://www.l3nr.org/posts/465925 14พฦษภาคม 2557

ประวัติชาวโรฮิงญา แหล่งที่มา: http://www.tacdb-burmese.org/web/index.php?option=com_content&view=article&id=61:2010-11-16-05-48-43&catid=36:2010-10-21-08-06-37&Itemid=58 14พฦษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568231เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 02:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 02:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท