ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


“สิทธิมนุษยชน” (Human Rights) หมายถึง 

            สิทธิขั้นพื้นฐาน ที่มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเท่าเทียมกันในแง่ศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์และสิทธิ เพื่อดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษาศาสนา และสถานภาพทางกายและสุขภาพรวมทั้งความเชื่อทางการเมือง หรือความเชื่ออื่นๆที่ขึ้นกับพื้นฐานทางสังคม สิทธิมนุษยชนจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายทอดหรือโอนให้แก่ผู้อื่นได้

            

            สิทธิมนุษยชน เป็นประเด็นสำคัญที่นานาชาติให้ความสนใจ องค์การต่างๆทั้งในระดับโลก เช่น สหประชาชาติ และองค์การเอกชนต่างก็ให้ความสำคัญกับการต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน การรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมให้พลเมืองเกิดความเคารพในสิทธิ ความเป็นมนุษย์และสิทธิขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตามการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆของโลกซึ่งถือเป็นปัญหาของสังคม โลกที่สำคัญ เพราะจะส่งผลให้สังคมโลกปราศจากความสงบสุข
            ปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์และหลักการทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน แต่ไม่มีพันธะผูกพันในแง่ของกฎหมายระหว่างประเทศ ประกอบด้วยการรับรองสิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจและความพยายามขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดระดับโลกและมีสมาชิกมากที่สุด ที่จะผลักดันประเด็นสิทธิมนุษยชนให้นานาชาติเห็นความสำคัญ และยึดถือปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และอนุสัญญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ องค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนทั่วโลกหลายองค์กรที่มีส่วนรณรงค์และสอดส่อง ปัญหาสิทธิมนุษยชน แต่ทั้งนี้หลายประเทศที่เป็นสมาชิกองค์กรสหประชาชาติและให้สัตยาบันรับรอง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ยังคงถูกกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง

             

           การละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นปัญหาระดับโลก มิใช้เพียงปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่งการละเมิดสิทธิมนุษยชนมีทั้งที่กระทำ โดยรัฐบาลและเอกชน นอกจากนี้การละเมิดสิทธิมนุษยชนยังอาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันโดยที่เราไม่รู้ตัวและอาจมีส่วนร่วมได้ด้วยซ้ำ

               ในประเทศไทยหรือสังคมโลกนั้นต่างก็มีปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกับสิทธิ มนุษยชนอย่างเลี่ยงไม่ได้ในหลายรูปแบบด้วยกัน ทั้งนี้ในวิชาสิทธิมนุษยชนปีการศึกษา 2556 ได้มีการยกตัวอย่างกรณีศึกษาเรื่องของชาวโรฮิงญาอพยพเพื่อทำการศึกษาเกี่ยว กับปัญหาสิทธิมนุษยชนของกลุ่มชนเหล่านี้

                โรฮิงญา เป็นกลุ่มชนบริเวณชายแดนฝั่งพม่าที่พูดภาษาจิตตะกอง-เบงกาลี และนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าปฏิเสธสถานภาพพลเมืองของชาวโรฮิงยา ส่งผลให้มีชาวโรฮิงยาจำนวนมากต้องอพยพลี้ภัยไปยังประเทศอื่นเพื่อแสวงหา ชีวิตที่ดีกว่า [1] ดังนั้นในประเทศเพื่อนบ้านของประเทศเมียนม่าหลายๆประเทศจึงได้พบกับชาวโร ฮิงญาที่อพยพเข้ามาเพื่อหาที่อยู่อาศัยและอาชีพที่ดีกว่า ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศเพื่อนบ้านเหล่านั้น 

                 การที่ชาวโรฮิงญาอพยพเข้ามาในประเทศไทยมักปรากฏตัวในหลายๆรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้แรงงานต่างชาติ ขายถั่ว หรือขายโรตีเป็นต้น ซึ่งมักจะถูกปฏิบัติแตกต่างกับประชาชนคนไทยโดยทั่วๆไป ในเรื่องต่างๆแต่ข้าพเจ้าคิดว่าหากกลุ่มคนเหล่านั้นสามารถมีสิทธิในการเลือก ที่อยู่อาศัย เดินทาง หรือประกอบอาชีพอย่างเสรีนั้น ก็ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮิงญาและทำให้เรื่องราวของกลุ่มคนดังกล่าวได้ รับความสนใจ นั่นก็คือกรณีที่ชาวโรฮิงญาถูกนำมาขายเพื่อใช้แรงงาน ในรูปแบบของการค้ามนุษย์เพื่อเป็นแรงงานทาส ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในด้านศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ควรจะมีความเท่าเทียมกันทุกๆคน แต่ชาวโรฮิงญาเหล่านี้กับได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างออกไปอย่างน่าหดหู่ใ0

                   นอกจากนี้ยังมีปัญหาการซื้อขายมนุษย์ข้ามชาติอีกด้วย ซึ่งเป็นการกระทำที่ทำเหมือนมนุษย์เป็นของเล่น ไม่มีคุณค่า ซึ่งขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเห็นได้ชัด 

                   โดยปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศจึงทำให้ประชาชน ของประเทศเพื่อนบ้านบางส่วน เช่น สหภาพพม่า ราชอาณาจักรกัมพูชา พยายามเดินทางเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทย ทั้งที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมายและลักลอบเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันแรงงานส่วนใหญ่ถูกจ้างแบบเหมาช่วง ทำให้ไม่มีเงินไปดำเนินการในเรื่องพิสูจน์สัญชาติ และเป็นช่องทางให้ไปหางานทำในรูปแบบอื่นๆ ทำให้แรงงานเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์มากขึ้น หรือ นายจ้างหากินกับแรงงานโดยเก็บค่าใช้จ่ายที่เกินจริง และไม่ยอมดำเนินการให้แรงงานทุกกระบวนการ ที่พบเห็นได้บ่อยคือการปฏิบัติของนายจ้างต่อลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติ เพราะลูกจ้างที่เป็นแรงงานข้ามชาติไม่มีใครอยากเปลี่ยนงานบ่อย หากไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งนายจ้างบางคนถึงขั้นยึดเอกสารลูกจ้างไว้เพราะไม่ต้องการให้เปลี่ยนงาน ทั้งที่ค่าจ้างต่ำเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง

                      สำหรับข้าพเจ้า ไม่ว่าจะอย่างไรประเทศไทยควรปฏิบัติต่อสังคมเพื่อนบ้านโดยปฏิบัติอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แม้จะมีปัญหาความเห็นหรือข้อพิพาทต่างๆกับประเทศอื่นๆ แต่ในฐานะมนุษย์ร่วมโลกเราควรปฏิบัติโดยไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้อื่น โดยยึดหลักความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชน เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและความปลอดภัยมั่นคงของประเทศ หากมีการปฏิบัติไปละเมิดสิทธิมนุษยชนของชนชาติอื่นอาจส่งผลความเสียหายต่อประเทศไทย

อ้างอิง 

 “สิทธิมนุษยชนกับสังคมไทย.” 2552 . [ระบบออนไลน์]เข้าถึงได้จาก

-http://www.oknation.net/blog/oh-shit/2009/02/16/entry-1 สืบค้น

-http://www.tacdb-burmese.org/web/index.php?option=…

-http://www.rlpd.moj.go.th/rlpdnew/images/rlpd_1/2556/thaigov_Plan3/2plan3.pdf

-http://www.l3nr.org/posts/535601

หมายเลขบันทึก: 568205เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท