การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ : กรณีศึกษาน้องนาแฮ

น้องนาแฮเกิดที่หมู่บ้านแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงรายเมื่อประมาณ พ.ศ.2550 จึงมีอายุประมาน 16 ปี ได้อาศัยอยู่กับบิดาและครอบครัว ที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย[1]แต่น้องนาแฮยังไม่ได้รับการรับรองสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรตามกฎหมายของรัฐใดเลยบนโลก จึงทำให้น้องนาแฮเป็นบุคคลที่ไร้รัฐ (stateless) ซึ่งตาม ข้อ 16 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration on Human Rights : UDHR ) กล่าวว่า ทุกๆคนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลในกฎหมายไม่ว่าที่ใด[2] ดังนั้นแล้วไม่ว่าน้องนาแฮจะยังไม่ได้พิสูจน์สัญชาติว่าเป็นสัญชาติใด น้องนาแฮย่อมมีสิทธิที่จะได้รับรองทางทะเบียนในรัฐไทยเพราะน้องนาแฮมีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทย จึงทำให้รัฐไทยเป็นผู้มีอำนาจอธิปไตยเหนือตัวบุคคล คือ น้องนาแฮ เมื่อรัฐไทยไม่ได้รับรองสิทธิทางทะเบียนราษฎรซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายแพ่งและเป็นสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

นอกจากน้องนาแฮจะไม่ได้รับการรับรองสิทธิในสถานะบุคคลแล้ว น้องนาแฮยังเป็นบุคคลที่ไร้สัญชาติอีกด้วยจากข้อเท็จจริงแล้วนั้นน้องนาแฮเป็นบุคคลที่เกิดในรัฐไทยถือว่ามีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐไทยโดยหลักดินแดน ซึ่งรัฐไทยจะต้องมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนที่น้องนาแฮเกิด ดังนั้นน้องนาแฮย่อมได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิด ตามที่ปรากฏในข้อ 15 ปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration on Human Rights : UDHR ) กล่าวว่า(1) บุคคลมีสิทธิในการถือสัญชาติ และตามที่ปรากฏในพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งมีการพิจารณาการได้รับสัญชาติ ใน 3 กรณี คือ 1.การที่บุคคลมีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐไทยด้วยการเกิดในรัฐไทย ทำให้รัฐไทยมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน

2.การที่บุคคลมีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐไทยด้วยการที่บิดาเป็นคนสัญชาติไทย ทำให้รัฐไทยมีอำนาจอธิปไตยเหนือตัวบุคคล

3.การที่บุคคลมีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐไทยด้วยการที่มารดาเป็นคนสัญชาติไทย ทำให้รัฐไทยมีอำนาจอธิปไตยเหนือตัวบุคคล

ดังนั้นแล้วเมื่อรัฐไทยไม่ได้รับรองสัญชาติแก่น้องนาแฮย่อมถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และละเมิดกฎหมายของประเทศไทยด้วย

(เขียนบทความวันที่ 11 พฤษภาคม 2557)


[1] กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนที่ประสบปัญหาความด้อยโอกาสทางสัขภาพเพราะพิการและป่วยหนัก โดย รศ.ดร.พันทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2557 ค้นข้อมูล :10 พฤษภาคม 2557

[2] ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration on Human Rights 1948: UDHR )http://www.khamkoo.com/uploads/9/0/0/4/9004485/un_udhr_-_thai.pdf ค้นข้อมูล :10 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 568148เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท