ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป


ความหมายของ"สิทธิมนุษยชน"

สิทธิมนุษยชน จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) ข้อ 1 ที่ระบุไว้ว่า บุคคลชอบที่จะมีสิทธิและเสรีภาพประดามีที่ระบุไว้ในปฏิญาณนี้ ทั้งนี้โดยไม่มีการจำแนกความแตกต่างในเรื่องใดๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรือทางอื่นใด ชาติหรือสังคมอันเป็นที่มาเดิม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นใด นอกจากนี้การจำแนกข้อแตกต่างโดยอาศัยมูลฐานแห่งสถานะทางการเมืองทางดุลอาณาหรือทางเรื่องระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนซึ่งบุคคลสังกัดจะทำมิได้ ทั้งนี้ไม่ว่าดินแดนดังกล่าวจะเป็นเอกราชอยู่ในความพิทักษ์ มิได้ปกครองตนเองหรืออยู่ภายใต้การจำกัดแห่งอธิปไตยอื่นใด[1]

เมื่อบุคคลบุคคลหนึ่งถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเข้าไม่ถึงสิทธิมนุษยชนหรือถูกปฏิเสธสิทธิมนุษยชนบุคคลดังกล่าวสามารถร้องเรียนต่อองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อให้สิทธิของตนที่ถูกละเมิดได้รับความคุ้มครองได้เนื่องจากรัฐแต่ละรัฐมีหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยการยอมรับกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนบัญญัติกฎหมายภายในเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนรวมถึงจัดตั้งองค์กรเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนดังนั้นภายในรัฐแต่ละรัฐจึงมีองค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นกระบวนการยุติธรรมในศาลและกระบวนการยุติธรรมนอกศาลทั้งในระดับภายในประเทศและระดับระหว่างประเทศหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศซึ่งจัดเป็นกระบวนการยุติธรรมในศาลเช่นศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป

ศาลสิทธิมนุษยชนคือศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องกับทางด้านสิทธิมนุษยชนอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของการดำรงชีวิตโดยทั่วไปมักเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐสมาชิกกระทำละเมิดต่อประชาชนที่เป็นปัจเจกบุคคลคนธรรมดาศาลสิทธิมนุษยชนส่วนมากก่อตั้งขึ้นโดยอนุสัญญาที่มีผลผูกพันกันในระหว่างประเทศและกระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลกอาทิศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปศาลสิทธิมนุษยชนแห่งแอฟริกาและศาลสิทธิมนุษยชนแห่งทวีปอเมริกาเป็นต้นนอกจากนี้ก็ยังจะมีการก่อตั้งศาลสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียนตามมาในอนาคตอีกด้วย

ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปมีที่มาจากการก่อตั้งCouncil of Europe ขึ้นเป็นอันดับแรกโดย Council of Europe ได้ก่อตั้งขึ้นตามแนวคิดของเซอร์วินสตันเชอร์ชิลเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมค.ศ. 1949 โดยสนธิสัญญากรุงลอนดอนมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสร้างเสริมความเป็นประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐในทวีปยุโรปโดยสาเหตุและความเป็นมาของการจัดตั้ง Council of Europe ก็เพื่อที่จะฟื้นฟูสภาพจิตใจและความเสียหายของประเทศในยุโรปหลังจากการสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่ 2

ในปัจจุบัน Council of Europe ตั้งอยู่ที่กรุง Strasburg ประเทศฝรั่งเศสมีประเทศสมาชิกอยู่จำนวน 47 ประเทศ[1]ได้แก่ Albania, Andorra, Armenia, Austria, Azerbaijan, Belgium, Bosnia and Herzegovina, Bulgaria, Croatia, Cyprus, Czech Republic, Denmark, Estonia, Finland, France, Georgia, Germany, Greece, Hungary, Iceland, Ireland, Italy, Latvia, Liechtenstein, Lithuania, Luxembourg, Malta, Republic of Moldova, Monaco, Montenegro, Netherlands, Norway, Poland, Portugal, Romania
, Russian Federation, San Marino, Serbia, Slovak Republic, Slovenia, Spain, Sweden, Switzerland, The former Yugoslav Republic of Macedonia, Turkey, Ukraine, United Kingdom และได้มีกฎหมายที่ยกร่างขึ้นโดย Council of Europe ซึ่งใช้บังคับกันระหว่างรัฐสมาชิกคืออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรป 1950 (European Convention on Human Rights 1950)อนุสัญญานี้มีผลบังคับใช้ในปี 1953 โดยเนื้อหาภายในของอนุสัญญากล่าวถึงในเรื่องของสิ่งต้องห้ามอันได้แก่การทรมานการทารุณกรรมหรือการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมรวมถึงการลงโทษอย่างไร้มนุษยธรรมการเอาคนลงเป็นทาสและการใช้แรงงานโดยการบังคับโทษประหารชีวิตการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือโดยอำเภอใจการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมในการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่ได้รับรองไว้ในอนุสัญญาฉบับนี้[2]

ศาลสิทธิมนุษยชนเป็นศาลที่มีลักษณะที่เป็นระหว่างประเทศแต่ไม่เหมือนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice หรือ ICJ) เนื่องจากไม่ได้พิจารณาคดีที่คู่กรณีคือรัฐกับรัฐหรือรัฐกับองค์กรระหว่างประเทศ

อำนาจของศาลสิทธิมนุษยชน (Competence) ต้องตีความและบังคับใช้จากอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรปและพิธีสารดังนั้นศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปจึงมีอำนาจครอบคลุมกรณีตามที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรป 1950 ซึ่งในอนุสัญญานี้ได้ระบุประเภทของสิทธิที่ได้รับการรับรองประกอบด้วย The right to life คือสิทธิในการมีชีวิตอยู่ The right to a fair hearing คือสิทธิในกระบวนการยุติธรรม The right to respect for private and family life คือสิทธิในความเป็นส่วนตัวและชีวิตครอบครัว Freedom of expression คือเสรีภาพในการแสดงออก Freedom of thought conscience and religion คือเสรีภาพในความคิดมโนสำนึกและศาสนาและ The protection of property คือสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองทรัพย์สิน

สำหรับคู่กรณีในศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปนั้นผู้ที่สามารถเป็นโจทก์ได้คือปัจเจกชนไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดานิติบุคคลหรือแม้กระทั่งองค์กรพัฒนาเอกชนหรือ NGOs ต่างๆส่วนผู้ที่สามารถเป็นจำเลยได้นั้นก็คือรัฐสมาชิกถ้าไม่เป็นสมาชิกก็ไม่สามารถถูกฟ้องได้ปัจเจกชนและองค์กรพัฒนาเอกชนไม่สามารถตกเป็นจำเลยได้นอกจากนี้รัฐสมาชิกก็สามารถฟ้องรัฐสมาชิกได้เช่นกัน

เงื่อนไขในการเป็นโจทก์ของปัจเจกชนนั้นตัวปัจเจกชนเองไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติของรัฐสมาชิกเพียงแค่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในรัฐสมาชิกแห่งอนุสัญญาและถูกละเมิดสิทธิที่ได้รับการรับรองจากอนุสัญญาโดยตรงก็สามารถฟ้องรัฐสมาชิกนั้นๆเป็นจำเลยต่อศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปได้

เงื่อนไขเกี่ยวกับคดีอีกคือคดีนั้นต้องมีการดำเนินคดีต่อศาลภายในรัฐนั้นๆจนเสร็จสิ้นแล้วคือคดีถึงที่สุดในศาลสูงสุดแล้วรวมถึงการฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญของรัฐนั้นด้วยแต่ยังได้ผลไม่เป็นที่พอใจโจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปภายใน 6 เดือนนับแต่คดีถึงที่สุดโดยการฟ้องคดีต่อศาลภายในรัฐนั้นต้องมีการกล่าวอ้างว่าตนถูกรัฐนั้นๆละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่อนุสัญญาได้รับรองไว้นอกจากนี้ยังสามารถใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) และกฎบัตรสิทธิขั้นพื้นฐานของสหภาพยุโรป (Charter of Fundamental Rights of the European Union) เป็นฐานแห่งสิทธิได้ด้วย

เมื่อรัฐใดรัฐหนึ่งตกเป็นจำเลยแล้วนั้นในการดำเนินกระบวนพิจารณารัฐสมาชิกที่เป็นจำเลยมีหน้าที่ต้องให้ความร่วมมือกับศาลในการให้ข้อมูลตลอดจนเอกสารต่างๆที่ศาลจำเป็นต้องใช้ประกอบการพิจารณาคดีด้วยหากรัฐนั้นไม่ให้ความร่วมมือก็จะมีบทลงโทษเนื่องจากเป็นการกระทำที่ละเมิดพันธกรณีตามอนุสัญญาซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐสมาชิกที่ต้องอำนวยความสะดวกให้กับศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปตามที่จำเป็นในการพิจารณาคดี[3]


[1] ความหมายของสิทธิมนุษยชน https://sites.google.com/site/may00may00may/siththi-mnusy-chn/reuxng-thi1khwam-hmay-khxng-siththi-mnusy-chn

[2] “ความรู้ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (The European Court of Human Rights)” จาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/535865?locale=en

[3] อ.ดร.รัชนีกรลาภวณืชชา. เอกสารประกอบการบรรยายวิชาน.396 สิทธิมนุษยชน

หมายเลขบันทึก: 568133เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 12:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท