การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


สิทธิในชีวิตร่างกายเป็นสิทธิของมนุษยชนที่สำคัญที่สุด หากแต่ในความเป็นจริงก็มีมนุษย์บางคนถูกละเมิดสิทธิในชีวิตของตน

ซึ่งพิจารณาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 [1]ประชาชนจะได้รับความคุ้มครองในชีวิตและร่างกายตามกฏหมายโดยห้ามการทรมานทารุณกรรมหรือลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมประกอบด้วย

มาตรา 31 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

การทรมานทารุณกรรมหรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มษุยธรรมจะกระทำมิได้แต่การลงโทษประหารชีวิตตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้

การจับคุมขังตรวจค้นบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

หรือจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 3 บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิตในเสรีธรรมและในความมั่นคงแห่งร่างกาย

ข้อที่4 บุคคลใดจะถูกบังคับให้เป็นทาสหรืออยู่ภาระจำยอมใดๆมิได้การเป็นทาสและการค้าทาสจะมีไม่ได้ในทุกรูปแบบ

ข้อที่ 5บุคคลใดจะถูกทรมานหรือได้รับการปฏิบัติหรือการลงทัณฑ์ซึ่งทารุณโหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือหยามเกียรติมิได้ เป็นต้น

กรณีศึกษาของชาวโรฮิงยา ซึ่งชาวโรฮิงญาเป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐอาระกันซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐถูกเหยียดหยามและเลือกปฏิบัติโดยรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่องและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากโดยรัฐบาลทหารพม่าตั้งแต่การบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ตามกฎหมายสัญชาติพม่าปี 1982 ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลทหารถ้าจะออกจากพื้นที่และต้องจ่ายเงินถ้าจะออกจากพื้นที่ทำให้มีสถานภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำมากเนื่องจากไม่สามารถหางานทำหรือค้าขายได้ซ้ำร้ายยังถูกละเมิดไม่ให้รับสิทธิที่จะได้รับสัญชาติห้ามแต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารพม่า

นับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีสถานการณ์ความเป็นอยู่ที่เลวร้ายที่สุดในพม่าด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวโรฮิงญาต้องหนีภัยจากพม่าเป็นจำนวนมาก[2]

ข้อเท็จจริงที่ข้าพเจ้าได้อ่านจากเวปไซต์คือ [3]มามัดจอคิดอายุ 24 ปีจากจังหวัดมุสิดอซึ่งยังนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลระนองหลังจากโดนทหารพม่าทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บสาหัสขณะเรือที่เดินทางกำลังลอยลำบริเวณจังหวัดมะริดประเทศพม่า "ทันทีที่ทุกคนเห็นทหารพม่าซึ่งนั่งเรือรบมาทั้งหมด 4 ลำล้อมรอบพวกเรากลัวมากครับเพราะทุกคนรู้ถึงกิตติศัพท์ความโหดร้ายของทหารพม่าเป็นอย่างดี"



บางคนตัวสั่นเทาไปหมดและแล้วในที่สุดพวกเราก็ได้รับการทำทารุณกรรมจริงๆตั้งแต่ทหารพม่าลงมาควบคุมตัวจะแตะต่อยตบหน้าถีบจนกระทั่งนำตัวพวกเราไปยังเกาะแห่งหนึ่งทุกคนจึงถูกลงโทษโบยด้วยแส้จนได้รับบาดเจ็บและใช้ผ้าพันชุบน้ำมันจุดไฟเผามาลนตนเองโชคร้ายที่สุดเพราะเป็นแผลฉกรรจ์ที่ขา "เจ็บมากๆครับแต่พวกเราทุกคนทนได้เพราะความเจ็บปวดแค่นี้เมื่อเทียบกับความโหดร้ายที่เราได้รับอยู่ทุกวันมันเทียบกันไม่ได้เลย" จะเห็นได้ว่าชาวโรฮิงยาถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับชีวิตที่ได้รับการรับรองในปฏิญญาสากลสิทธิมนุษยชน บุคคลใดจะถูกทรมานหรือได้รับการปฏิบัติหรือการลงทัณฑ์ซึ่งทารุณโหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือหยามเกียรติมิได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องแก้ไข เยียวยา มีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังภายใต้หลักการของการเคารพสิทธิความเท่าเทียมของความเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีตามหลักสิทธิมนุษยชนเพราะพวกเขาคือมนุษย์ที่เกิดบนแผ่นดินโลกเช่นกันดังนั้นภายใต้หลักการดังกล่าวการส่งกลับจะต้องไม่ใช่ส่งกลับประเทศต้นทางเพื่อให้เกิดการทารุณและการฆ่าได้อีกนอกจากนี้ต้องคิดถึงการแก้ปัญหาในระยะยาวที่จะทำยังไงไม่ให้เกิดปัญหากระทบกับประเทศได้อีก


[1] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย http://www.kodmhai.com/m1/m1-26-65.html

[2] สรุปประเด็นโรฮิงยา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=447005

[3] เปลือยชีวิตชาวโรฮิงญากับชีวิตที่มากกว่าคำว่า..โหดร้าย (คมชัดลึก)http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=40441.0;wap2

หมายเลขบันทึก: 568072เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท