มนุษย์ที่ข้ามชาติ


ประเทศไทยในวันนี้ ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนยังมีก่อเกิดเป็นปัญหาให้เราได้พบเห็นอยู่เสมอและมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงขึ้น คือ ปัญหามนุษย์ที่ข้ามชาติ มนุษย์ที่ข้ามชาติหมายถึงบุคคลที่มีการกระทำในลักษณะที่ข้ามชาติคือมีถิ่นที่อยู่หรือเคยอยู่อาศัยในประเทศประเทศหนึ่งอยู่แล้วแต่ได้มีการข้ามหรือเคลื่อนย้ายมายังอีกประเทศหนึ่งไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตามบุคคลเหล่านี้ได้แก่นักท่องเที่ยวแรงงานข้ามชาตินักลงทุนข้ามชาตินักศึกษาและผู้หนีภัยความตายเป็นต้น[1]

โดยหนึ่งในปัญหาคือความไร้รัฐ ไร้สัญชาติ

ปัญหาความไร้สัญชาติ (Nationalityless) ที่เกิดขึ้นแก่บุคคลธรรมดา ก็คือ สภาพที่บุคคลไม่มีสัญชาติของประเทศใดเลยในโลก กล่าวโดยหลักกฎหมายได้ว่า คนไร้สัญชาติมีสถานะเป็นคนต่างด้าวในทุกประเทศของโลก

แต่ปัญหาไร้สัญชาติจะรุนแรงมากขึ้นหากบุคคลไม่ได้รับการยอมรับให้ “สิทธิอาศัย” โดยรัฐใดเลยในโลกโดยผลของกฎหมายบุคคลในสถานการณ์นี้จึงตกเป็น “คนต่างด้าวผิดกฎหมาย” ในทุกประเภทของโลกบุคคลในลักษณะนี้จึงตกเป็น “คนไร้รัฐ” (Stateless) โดยสิ้นเชิง

ในประเทศไทยปรากฏมีทั้ง (๑) คนไร้สัญชาติที่ได้รับสิทธิอาศัยชั่วคราวตามกฎหมายไทยแล้วและ (๒) คนไร้สัญชาติที่ยังมิได้รับสิทธิอาศัยตามกฎหมายไทยในกรณีหลังก็คือกรณีของคนที่มีลักษณะไร้รัฐอย่างแท้จริง

สาเหตุแห่งความไร้สัญชาติในประเทศไทยปรากฏข้อเท็จจริงมีคนไร้สัญชาติในประเทศไทยจำนวนมากซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นได้๒ลักษณะคือ (๑) ความไร้สัญชาติเพียงด้านข้อเท็จจริงและ (๒) ความไร้สัญชาติโดยด้านข้อกฎหมาย [2] โดยความไร้สัญชาติโดยด้านข้อกฎหมาย คือ ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายของประเทศใดยอมรับให้สัญชาติแก่บุคคลนี้

ซึ่งกรณีศึกษาที่ได้ศึกษาในห้องเรียน คือ กรณีของน้องดนัย ยื่อบ๊อ

น้องดนัยเกิดเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2542 ที่อำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่ประเทศไทยเป็นบุตรของนายอาบูไม่ได้มีสัญชาติไทยที่เป็นถิ่นฐานที่เข้ามาอยู่อาศัยโดยการเข้าเมืองผิดกฏหมายกับนางหมี่ยื่มยื่อบ๊อซึ่งเป็นชาวอาข่าที่อพยพมาจากฝั่งเมียนมาร์ต่อมานางหยี่ยื่มได้รับสัญชาติไทยในวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 นางหมี่ยื่มสามารถพิสูจน์และได้รับสัญชาติไทยภายหลังจากทีน้องดนัยเกิดดังนั้นในขณะที่น้องดนัยเกิดบิดาและมารดาจึงเป็นคนข้ามชาติที่อาศัยในไทยโดยไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทย

โดยหลักการได้มาซึ่งสัญชาติ บุคคลนั้นจะต้องมีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐนั้นอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นจุดเกาะเกี่ยวโดยการเกิดหรือจุดเกาะเกี่ยวภายหลังการเกิด บุคคลที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐใดโดยการเกิด

ก็มักจะมีสิทธิที่จะได้สัญชาติของรัฐนั้นและมีสิทธิอาศัยในดินแดนของรัฐนั้นๆในลักษณะที่จะเป็นพลเมืองของรัฐดังกล่าวด้วยเพราะจุดเกาะเกี่ยวโดยการเกิดมักได้รับการยอมรับจากรัฐว่าเป็นจุดเกาะเกี่ยวที่แท้จริงบุคคลดังกล่าวจะมีสถานะบุคคลที่ดีกว่าบุคคลที่มีจุดเกาะเกี่ยวภายหลังการเกิดกับรัฐ[3]

หรือจุดเกาะเกี่ยวภายหลังการเกิดเอกชนอาจมีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐใน๒สถานะกล่าวคือ (๑) รัฐเจ้าของสัญชาติของบุคคลในครอบครัวอาทิคู่สมรสหรือบุพการีที่มาแปลงชาติใหม่และ (๒) รัฐเจ้าของดินแดนซึ่งบุคคลนั้นเข้ามาจงรักภักดีภายหลังการเกิดจะเห็นว่าจุดเกาะเกี่ยวประการแรกเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและบุคคลโดยหลักบุคคลในขณะที่จุดเกาะเกี่ยวในสองประการหลังเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและบุคคลโดยหลักดินแดน[4]

กรณีของน้องดนัยจะพิจารณาจาก พระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ. ๒๕๐๘[5]

มาตราบุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(๑) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(๒) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยยกเว้นบุคคลตามมาตรา๗ทวิวรรคหนึ่ง

คำว่าบิดาตาม (๑) ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงแม้ผู้นั้นจะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิดและมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม

มาตราทวิผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทยถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น

(๑) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย

(๒) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราวหรือ

(๓) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

ในกรณีที่เห็นสมควรรัฐมนตรีจะพิจารณาและสั่งเฉพาะรายหรือเป็นการทั่วไปให้บุคคลตามวรรคหนึ่งได้สัญชาติไทยก็ได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งจะอยู่ในราชอาณาจักรไทยในฐานะใดภายใต้เงื่อนไขใดให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้โดยคำนึงถึงความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและสิทธิมนุษยชนประกอบกันในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงดังกล่าวให้ถือว่าผู้นั้นเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

มาตราผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวย่อมไม่ได้สัญชาติไทยถ้าขณะที่เกิดบิดาหรือมารดาเป็น

(๑) หัวหน้าคณะผู้แทนทางทูตหรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางทูต

(๒) หัวหน้าคณะผู้แทนทางกงสุลหรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางกงสุล

(๓) พนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ

(๔) คนในครอบครัวซึ่งเป็นญาติอยู่ในความอุปการะหรือคนใช้ซึ่งเดินทางจากต่างประเทศมาอยู่กับบุคคลใน (๑) (๒) หรือ (๓)

กรณีของน้องดนัยจึงถูกสันนิษฐานว่าเป็นเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย เนื่องจากขณะดนัยเกิดบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ข้าพเจ้าคิดว่าน้องดนัยน่าจะได้สัญชาติไทยเนื่องจากมารดาซึ่งมีสัญชาติไทยตามมาตรา7(1) แต่ปัญหาคือขณะที่น้องดนัยเกิดนั้นมารดายังไม่ได้สัญชาติไทยจึงยังไม่มีการรับรองว่าดนัยเป็นคนสัญชาติไทยแต่อย่างไรก็ตามดนัยเกิดที่อำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งก็คือราชอาณาจักรไทยดังนั้นดนัยจึงมีสิทธิได้สัญชาติไทยเพราะมีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐตามหลักดินแดนตามมาตรา7(2)

อย่างไรก็ตามการที่อำเภอไม่รับรองสัญชาติให้ดนัยนั้นทำให้ดนัยเป็นคนไร้สัญชาติซึ่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 15(1) ซึ่งได้บัญญัติโดยมีหลักว่า ทุกคนมีสิทธิในสัญชาติหนึ่ง ดังนั้นจึงถือว่าน้องดนัยถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน


[1] ภัทรธนาฒย์ศรีถาพร."เด็กข้ามชาติ"

มนุษย์ข้ามชาติที่มาจากหลากหลายสาเหตุเข้าถึงได้จาก , http://www.l3nr.org/posts/535656

[2] รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์กาญจนะจิตราสายสุนทร, คนไร้รัฐและคนไร้สัญชาติในประเทศไทย : คือใครกัน ?เข้าถึงได้จาก , http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=278&d_id=277

[3] รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์กาญจนะจิตราสายสุนทร, แนวคิดทั่วไปและข้อเท็จจริงที่แสดงถึงจุดเกาะเกี่ยวระหว่างบุคคลธรรมดากับรัฐ[1]http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=430&d_id=429

[4] เพิ่งอ้าง

[5] สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, พระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ. ๒๕๐๘เข้าถึงได้จาก, http://www.thaigeneralkonsulat.de/th/consular/nationality1.pdf

หมายเลขบันทึก: 568067เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 20:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 22:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท