ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้วยหรือ


           โดยปกติเมื่อพูดถึง ว่า สิทธิมนุษยชน ก็มักจะเกิดความเข้าใจว่าเกี่ยวข้องกับรัฐโดยตรงที่ต้องมีหน้าที่เคารพสิทธิอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ซึ่งปกติสิทธิมนุษยชนก็ยังมีความสัมพันธ์กับบุคคลด้วยกันเองที่บุคคลทุกคนต่างมีสิทธิอันเป็นสิทธิมนุษยชนที่ใครจะละเมิดมิได้ และในปัจจุบันบุคคลก็มักจะมีการรวมตัวกันประกอบธุรกิจขึ้นเป็นรูปขององค์กร บริษัทต่างๆมากมาย ซึ่งถ้าหากพิจารณาแล้วจะเห็นว่า ผู้ประกอบการธุรกิจไทยก็จะต้องคำนึงและไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยเช่นกัน

และเป็นที่แน่นอนและทราบกันดีอยู่แล้วว่าสังคมไทยปัจจุบันเน้นความสำคัญของภาคเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือระบบตลาดได้ครอบงำเศรษฐกิจโลกและภายใต้ระบบตลาดเศรษฐกิจทุนนิยมดังกล่าวได้ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มาพร้อมกับเศรษฐกิจในระบบตลาดทำให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นโดยในที่นี้จะขอกล่าวถึงสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นผลมาจากการพยายามก้าวไปสู่ความทันสมัยโดยไม่คำนึงถึงว่าจะละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่อย่างไร

กรณีศึกษาดังนี้ [1]

เขื่อนไซยะบุรีโครงการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าในแม่น้ำโขงมูลค่ากว่าแสนล้านบาทในลาวเป็นตัวอย่างอันดีของโครงการขนาดใหญ่ที่ควรใช้หลักอีเควเตอร์เข้ามาจับก่อนการอนุมัติเงินกู้น่าเสียดายที่ธนาคารไทยทั้งหกแห่งที่ปล่อยกู้ในโครงการได้แก่ธนาคารกรุงเทพกสิกรไทยกรุงไทยไทยพาณิชย์ทิสโก้และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) โดยมีไทยพาณิชย์เป็น “โต้โผ” ใหญ่ไม่มีธนาคารไทยรายใดลงนามรับหลักอีเควเตอร์

การก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีมีข้อท้วงติงและข้อกังวลมากมายจากนักสิ่งแวดล้อมนักวิทยาศาสตร์องค์กรภาคประชาสังคมและชาวบ้านที่พึ่งพาแม่น้ำโขงในการดำรงชีวิตลุ่มน้ำโขงเป็นถิ่นอาศัยของประชากรกว่า 65 ล้านคนหรือเท่ากับประชากรไทยทั้งประเทศในจำนวนนี้สองในสามหาเลี้ยงชีพด้วยการจับปลาในแม่น้ำโขงพื้นที่ประมงในประเทศขนาดใหญ่ที่สุดในโลกโดยในแต่ละปีคนกัมพูชาและเวียดนามสามารถจับสัตว์น้ำได้ถึงกว่าหนึ่งล้านตันนอกจากนี้ตะกอนในท้องน้ำยังมีสารอาหารซึ่งเป็นปุ๋ยตามธรรมชาติเป็นปัจจัยสำคัญต่อผลิตภาพทางการเกษตรในพื้นที่น้ำหลากขนาด 18,000 ตารางกิโลเมตรในกัมพูชาอีกราว 10,000 ตารางกิโลเมตรในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม

ในแง่ความสำคัญต่อระบบนิเวศโลกด้วยพันธุ์ปลากว่า 1,300 ชนิดแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอันดับสองของโลกเป็นรองแต่เพียงแม่น้ำอะเมซอนในอเมริกาใต้

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ทำให้ไม่ผิดนักหากจะสรุปว่ารัฐบาลลาวไทยและธนาคารไทยหกแห่งได้ตัดสินใจเอา “ความมั่นคงทางอาหาร” และ “ระบบนิเวศ” ของแม่น้ำโขงไป “แลก” กับ “ไฟฟ้าพลังน้ำ” จากเขื่อนไซยะบุรี (ซึ่งไทยจะรับซื้อ 90 เปอร์เซ็นต์ของไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตได้)

ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว จะเห็นว่าผู้ประกอบธุรกิจไทยไม่ได้คำนึงถึงสิทธิในด้านสิ่งแวดล้อม และชุมชนแต่อย่างใด เพรราะกรณีดังกล่าวกระทบต่อระบบนิเวศ และชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลด้วย ซึ่งประเด็นนี้ก็ได้นำมาเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาที่ภาคธุรกิจจะต้อง

แสดงความรับผิดชอบโดยตรงต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมด้วย

           ข้าพเจ้าเห็นว่าจากนี้ไปภาคธุรกิจไทยคงจะต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานที่ส่งผลต่อประเด็นที่  สัมพันธ์กับเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังและเตรียมมาตรการที่จะต้องตอบสนองต่อความคิดเห็นของภาคประชาชนในการแก้ไข เยียวยาด้วย


[1] “สินเชื่อสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน (จบ) บทเรียนที่ยังไม่จบจากเขื่อนไซยะบุรี http://thaipublica.org/2013/04/xayaburi-and-equator-2/

หมายเลขบันทึก: 568059เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท