กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


ประเทศไทยได้มีการประกันสิทธิมนุษยชนทั้งในเชิงเนื้อหาสิทธิและการสร้างกลไกมาบังคับตาม สิทธิไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นหลัก และไม่มีกฎหมายเฉพาะในระดับรองที่กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนไว้อย่างรอบ ด้าน(Comprehensive) ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายต่อต้านการเลือกประติบัติ (Anti-Discrimination Law) หรือ กฎหมายสิทธิมนุษยชน (Human Rights Law) จึงต้องนำรัฐธรรมนูญมาเป็นตัวบท (Text) ในการวิพากษ์ (Critique) โดยใช้หลักการสิทธิมนุษยชนมาเป็นแนวบรรทัดฐาน (Norms)[1]

กฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2550

มาตรา 4 บัญญัติว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง"

มาตรา 32 “บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย”

มาพิจารณาถึงโทษประหารชีวิตในประเทศไทย

โทษประหารชีวิตนับเป็นโทษที่มีการนำมาใช้ปฏิบัติในสังคมไทยมาเป็นเวลานานตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบันโดยกล่าวกันว่าเป็นการลงโทษที่มุ่งลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทนให้สาสมกับความผิดที่ได้กระทำไปอีกทั้งยังเป็นการลงโทษที่มุ่งสร้างความหวาดกลัวต่อผู้ที่คิดจะทำผิดเพื่อให้เกิดการยับยั้งอันจะนำมาซึ่งความสงบเรียบร้อยในสังคมโทษประหารชีวิตจึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในยุคที่มีการใช้อำนาจตามประกาศคณะปฏิวัติจะมีการนำโทษประหารชีวิตมาใช้บ่อยครั้งรวมทั้งมีการประหารชีวิตในที่เกิดเหตุในทันทีที่มีการจับกุมผู้กระทำผิดได้[2]

แต่เมื่อพิจารณาแนวคิดที่สำคัญของประชาชนที่มีต่อโทษประหารชีวิตในประเทศไทยคือประชาชนไทยส่วนหนึ่งยังคงเห็นด้วยกับการใช้โทษประหารชีวิต เนื่องจากเห็นว่าหากประเทศไทยยัง ไม่มีความพร้อมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นในประเทศการใช้โทษประหารชีวิตยงัคงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับประเทศไทยเพื่อเป็นการป้ องปรามอาชญากรรมที่กำลังจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ทัศนะ ของประชาชนอีกส่วนหนึ่งกลับเห็นว่าประเทศไทยควรมีการยกเลิกการใช้โทษประหารชีวิตอย่างถาวร เพราะโทษประหารชีวิตไม่สามารถป้องปรามอาชญากรรมได้ หากประเทศไทยจะยกเลิกโทษประหารชีวิตในอนาคต อาจจะ เป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมและเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนชาวไทย รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิผู้กระทำความผิด เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและเป็นการเคารพในศักดิ์ ศรีความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง [3]

คำตอบนั้นจะมีอยู่ในใจของแต่ละคนอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่า เราจะใช้เกณฑ์อะไรตัดสินเท่านั้นเอง และในปัจจุบัน ดูเหมือนว่าหลายๆประเทศส่วนใหญ่จะใช้เกณฑ์เรื่องของมนุษย์ธรรม และสิทธิต่างๆเป็นตัวตัดสิน และคำตอบที่หลายๆประเทศให้นั้นก็คือ ท่าทีที่จะยกเลิกการประหารชีวิต แต่ก็มีหลายๆประเทศที่ยังคงต้องการให้การประหารชีวิตต่อไป นั้นเองคือ ปัญหาที่ยังต้องการข้อสรุป และยังคงต้องการให้มีการถกเถียงต่อไป

ในความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่าการประหารชีวิต เป็นการลงโทษที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าหากได้ถูกนำมาใช้บังคับ ข้อดีคือ ก่อให้เกิดความหวาดกลัว ไม่กล้าทำผิดกฎหมาย เป็นการป้องกันอาชญกรรมที่ดีอย่างหนึ่ง ส่วนข้อเสียคือ เป็นการละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน ในการมีสิทธิในชีวิต ร่างกายของตนเอง อันเป็นสิทธิพื้นฐานที่ผู้ใดจะมาละเมิด หรือพรากไปจากบุคคลดังกล่าวไม่ได้ ย่อมได้รับการคุ้มครอง ดังนั้น หากจะมีการลงโทษโดยการประหารชีวิต ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ย่อมถูกลดทอนลงไปด้วย


[1] เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชากฎหมาย สิทธิมนุษยชน ,อาจารย์ทศพลทรรศนกุลพันธ์, เข้าถึงได้จาก

http://www.lrct.go.th/th/?wpfb_dl=1166

[2] การยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทย: กระแสสากลกับกระแสภายในประเทศ , เข้าถึงได้จาก http://www.gotoknow.org/posts/556740

[3] รายงานเรื่อง โทษประหารชีวิตในประเทศไทย , เข้าถึงได้จาก http://library.nhrc.or.th/ulib/document/Fulltext/F07970.pdf

หมายเลขบันทึก: 568051เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท