ยามา อุรเคนทรางกูร
นางสาว ยามา อุรเคนทรางกูร อุรเคนทรางกูร

HR-LLB-TU-2556-TPC-การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


                                                                  

                                                                       การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


                               

         


                   สิทธิในชีวิตนับได้ว่าเป็นสิทธิที่สำคัญที่สุดสิทธิหนึ่งในชีวิตของมนุษย์ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง กล่าวถึงสิทธิในชีวิตในรูปแบบสิทธิและเสรีภาพในชีวิตร่างกายและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยขอยกตัวอย่างของกลุ่มบุคคลที่มีถูกละเมิดสิทธิในชีวิต คือ กลุ่มชาวโรฮิงญาที่กลายเป็นเหยื่อในการค้ามนุษย์

           ขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา เริ่มต้นจากการรับจ้างนำออกจากประเทศพม่าเข้ามายังฝั่งไทย คิดค่าหัวตั้งแต่ 20,000-50,000 บาท แล้วแต่ข้อตกลง เมื่อส่งข้ามแดนประเทศไทยมาแล้วก็ถือว่าหมดหน้าที่ แต่ปัจจุบันขบวนการรับจ้างนำชาวโรฮิงญา ไปยังประเทศที่ 3 มีความแยบยลมากยิ่งขึ้น ซึ่งใช้วิธีการ “เข้าฮอส” แบบกินสองต่อ คือการรับจ้างนำชาวโรฮิงญาหลบหนีออกจากประเทศพม่าแล้ว ยังทำการกักขังควบคุมตัวเอาไว้ในสถานที่ตามแนวชายแดน เพื่อขายชาวโรฮิงญาให้กับผู้ต้องการแรงงานในประเทศเพื่อนบ้าน ในราคาหัวละ 30,000–50,000 บาท ซึ่งมีนายทุนทั้งภาคการเกษตรและการประมง ที่ต้องการแรงงานเหล่านี้ไว้ใช้งาน เพราะค่าแรงถูก นายทุนสามารถกดขี่ได้ตามชอบใจ ดังนั้นชาวโรฮิงญาเหล่านี้จึงตกอยู่ในสภาพหนีเสือปะจระเข้ ถูกทารุณกรรมสารพัด

        ถ้าทางการปล่อยให้ชาวโรฮิงญาถูกกดขี่ เป็นวัตถุในการค้ามนุษย์ต่อไป หากพิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 4 บัญญัติว่า" ศักดิศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง"

        ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นี้เป็นสิทธิในชีวิตอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในสิทธิมนุษยชน คือมนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มนุษย์ทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นมีเชื้อชาติหรือชาติพันธุ์ใด ก็จะได้รับการคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญเสียทั้งสิ้น ดังนั้น แม้ว่าชาวโรฮิงญาจะไม่ใช่ชาวไทย ก็ได้รับการคุ้มครองศักดิ์ศรีภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยเช่นกัน

         อีกทั้ง หากพิจารณาถึงขบวนการค้าชาวโรฮิงญา การค้ามนุษย์เป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์รูปแบบหนึ่ง คือ การค้าเป็นการกระทำกับสิ่งของ การค้ามนุษย์จึงเป็นการกระทำกับมนุษย์ดังเช่นว่าเขาเป็นสิ่งของ ไม่ใช่มนุษย์อีกต่อไป นอกจากการค้ามนุษย์แล้ว ในระหว่างการเดินทางยังมีการทารุณโหดร้าย นายจ้างกดขี่ตามใจชอบ ถูกใช้งานหนัก การกระทำเช่นนี้ก็เป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เช่นกัน คือ เอาเขาลงเป็นทาส ทั้งๆที่มนุษย์ทุกคนมีชีวิตจิตใจ มีความเป็นมนุษย์ มีสิทธิเสรีภาพอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันทุกคน ดังนั้น ขบวนการค้าชาวโรฮิงญานี้ เป็นการละเมิดสิทธิในชีวิตอย่างหนึ่ง คือการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ทั้งในเรื่องการค้ามนุษย์และการเอาคนลงเป็นทาส

         สิทธิในชีวิตเป็นสิทธิที่สำคัญที่สุดของมนุษย์คนหนึ่ง แต่ก็ยังมีคนหลายกลุ่มที่ถูกละเมิดสิทธิในชีวิตนี้ เช่น ชาวโรฮิงญา ทั้งนี้ทางการไทยควรจะให้ความช่วยเหลือ ให้เขามีสภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้รับการคุ้มครองสิทธิในชีวิต ให้เขาอยู่ได้โดยปกติสุข และถ้าสถานการณ์ในประเทศต้นทางของเขาสงบ เขาก็จะได้ถูกส่งกลับอย่างปลอดภัยในที่สุด

หมายเลขบันทึก: 568046เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท