ศาลสิทธิมนุษยชน


ศาลสิทธิมนุษยชน

กระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน มีทั้งกระบวนการนอกศาล ซึ่งได้แก่ กรรมาธิการตามสนธิสัญญาต่างๆ เช่น กรรมาธิการตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก กรรมาธิการตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เป็นต้น และกระบวนการในศาล ได้แก่ อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และศาลระหว่างประเทศ[1]

ศาลสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมด้านสิทธิมนุษยชนภายในศาล ซึ่งศาลสิทธิมนุษยชนคือศาลที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษากรณีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งทวีปอเมริกา ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป แม้ว่าในปัจจุบันอาเซียนจะยังไม่มีศาลสิทธิมนุษยชน แต่ก็สามารถคาดได้ว่าน่าจะมีการก่อตั้งในอีกไม่ช้า

ในที่นี้ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป เนื่องจากเป็นศาลที่เป็นที่รู้จักและมีประสิทธิภาพมากศาลหนึ่ง

ศาลสิทธิมนุษยชน ถูกจัดตั้งขึ้นโดยอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(The European Convention on Human Right) articles19 To ensure the observance of the engagements undertaken by the High Contracting Parties in the Convention and the Protocols thereto, there shall be set up a European Court of Human Rights, hereinafter referred to as “the Court”. It shall function on a permanent basis.[2] มีอำนาจตีความและใช้บังคับอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1950และพิธีสาร

ตามarticles 33 Any High Contracting Party may refer to the Court any alleged breach of the provisions of the Convention and the Protocols thereto by another High Contracting Party. และ articles 34 The Court may receive applications from any person, nongovernmental organisation or group of individuals claiming to be the victim of a violation by one of the High Contracting Parties of the rights set forth in the Convention or the Protocols thereto. The High Contracting Parties undertake not to hinder in any way the effective exercise of this right.[3] ผู้ที่สามารถตกเป็นจำเลยได้ในศาลสิทธิมนุษยชนได้จะต้องเป็นรัฐสมาชิกซึ่งมี47ประเทศตามCouncil of Europe ได้แก่Albania, Andorra, Armenia, Austria, Azerbaijan, Belgium, Bosnia and Herzegovina, Bulgaria, Croatia, Cyprus, Czech Republic, Denmark, Estonia, Finland, France, Georgia, Germany, Greece, Hungary, Iceland, Ireland, Italy, Latvia, Liechtenstein, Lithuania, Luxembourg, Malta, Republic of Moldova, Monaco, Montenegro, Netherlands, Norway, Poland, Portugal, Romania, Russian Federation, San Marino, Serbia, Slovak Republic, Slovenia, Spain, Sweden, Switzerland, The former Yugoslav Republic of Macedonia, Turkey, Ukraine, United Kingdom[4] ปัจเจกชนและองค์กรเอกชนจะไม่สามารถตกเป็นจำเลยได้ และผู้ที่สามารถฟ้องคดีได้จะเป็นปัจเจกชน นิติบุคคลหรือNGOก็ได้ และไม่จำเป็นว่าจะต้องมีสัญชาติของรัฐสมาชิก ขอเพียงแค่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในรัฐสมาชิกเท่านั้น อีกทั้งยังต้องถูกละเมิดสิทธิที่ได้รับการรับรองตามอนุสัญญาโดยตรงด้วย

เงื่อนไขเกี่ยวกับคดีที่จะฟ้องศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปได้ ประการแรกคดีนั้นจะต้องถึงที่สุดในศาลสูงสุดรวมถึงศาลรัฐธรรมนูญของรัฐนั้นแล้ว ประการต่อมาโจทก์จะต้องฟ้องคดีต่อศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปภายใน6เดือนนับแต่วันที่คดีถึงที่สุดในศาลภายในรัฐนั้นๆ และประการสุดท้าย ในการฟ้องคดีต่อศาลภายในจะต้องมีการกล่าวอ้างว่าโจทก์ถูกรัฐนั้นๆละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ได้รับรองไว้ในอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชนหรือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอย่างไรในมาตราใด และเมื่อรัฐใดตกเป็นจำเลย รัฐนั้นก็จะมีหน้าที่ต้องให้ความร่วมมือต่อศาลในการให้ข้อมูลและเอกสารต่างๆที่จำเป็นในการพิจารณาพิพากษาคดี หากไม่ให้ความร่วมมือรัฐนั้นจะถูกลงโทษ

องค์คณะผู้พิพากษาศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ประกอบด้วยผู้พิพ่กษา47นายซึ่งครบทุกรัฐสมาชิกซึ่งเลือกตั้งโดยสภาแห่งคณะมนตรียุโรป โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่ง9ปี และองค์คณะในการนั่งพิจารณาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษา7นาย และในกรณีที่ต้องพิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ องค์คณะในการนั่งพิจารณาประกอบด้วยผู้พิพากษา17นาย

เมื่อศาลพิพากษาพิจารณาคดีแล้ว ก็จะมีกลไกการบังคับตามคำพิพากษาตามอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน articles 46

1.judgment of the Court in any case to which they are parties.

The High Contracting Parties undertake to abide by the final

2. The final judgment of the Court shall be transmitted to the Committee of Ministers, which shall supervise its execution.

3. If the Committee of Ministers considers that the supervision of the execution of a final judgment is hindered by a problem of interpretation of the judgment, it may refer the matter to the Court for a ruling on the question of interpretation. A referral decision shall require a majority vote of two thirds of the representatives entitled to sit on the committee.

4. If the Committee of Ministers considers that a High Contracting Party refuses to abide by a final judgment in a case to which it is a party, it may, after serving formal notice on that Party and by decision adopted by a majority vote of two thirds of the representatives entitled to sit on the committee, refer to the Court the question whether that Party has failed to fulfil its obligation under paragraph1.

5. If the Court finds a violation of paragraph 1, it shall refer the case to the Committee of Ministers for consideration of the measures to be taken. If the Court finds no violation of paragraph1, it shall refer the case to the Committee of Ministers, which shall close its examination of the case.

จากarticles 46 ทำให้เห็นว่าศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปนั้นเป็นองค์กรหนึ่งที่มีประสิทธิภาพจริงๆ เพราะศาลทำให้สิ่งที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญานั้นใช้ได้จริง และตัวองค์กรเองก็มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีกลไกบังคับตามคำพิพากษาด้วย มิใช่เพียงเป็นการพิจารณาพิพากษาเท่านั้นแต่ไม่ก่อให้เกิดผลอะไรตามมาเลย[5] ดังนั้น ศาลสิทธิสิทธิมนุษยชนก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดีในการที่จะนำมาเป็นต้นแบบในการจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียนหรือศาลสิทธิมนุษยชนอื่นๆต่อไป

[1]รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. 27 เมษายน 2557. เอกสารประกอบการบรรยายวิชา น.396 สิทธิมนุษยชน. กระบวนการยุติธรรมด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับภายในและระหว่างประเทศ ... 15 พฤษภาคม 2557

[2]อนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The European Convention on Human Right). แหล่งที่มา: http://www.echr.coe.int/Documents/Convention_ENG.p... ... 15 พฤษภาคม 2557

[3]กล่าวแล้วในเชิงอรรถที่2

[4]Member State Council of Europe. แหล่งที่มา: http://www.coe.int/en/web/portal/country-profiles;... ... 15 พฤษภาคม 2557

[5]อ.ดร.รัชนีกร ลาภวณิชชา. 22 เมษายน 2557. เอกสารประกอบการบรรยายวิชา น.396 สิทธิมนุษยชน. สถาบันด้านสิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศและภูมิภาค ... 15 พฤษภาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 567994เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท