คนต่างด้าวในประเทศไทย


              คนต่างด้าว หมายถึง บุคคล ซึ่งพำนักอยู่ในรัฐ ที่ตนมิได้เป็นคนสัญชาตินั้น หรือเป็นพลเมืองของรัฐนั้น พระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 4 บัญญัติว่า "คนต่างด้าว หมายถึง ผู้ซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย" โดยทั่วไปแล้วประชาชน ที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินของรัฐหนึ่งรัฐใด ย่อมประกอบไปด้วยบุคคลสองจำพวก คือ พลเมืองของรัฐนั้นจำพวกหนึ่ง กับอีกพวกหนึ่ง คือพลเมืองของรัฐอื่น ซึ่งเรียกว่าคนต่างด้าวคนต่างด้าว ที่เข้ามาอาศัยในดินแดนของรัฐใด ย่อมอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายของรัฐเช่นเดียวกับพลเมืองของรัฐนั้น แต่โดยทั่วไปแล้วคนต่างด้าวจะถูกจำกัดสิทธิ และหน้าที่บางประการ ซึ่งเรื่องนี้ แยกออกพิจารณาได้ 2 ประการ คือ สิทธิตามกฎหมายเอกชน และสิทธิตามกฎหมายมหาชน [1]

               ในปัจจุบันนั้นเราจะพบคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทยจำนวนมาก หลายคนอาจสงสัยว่าบุคคลดังกล่าวนั้นสามารถทำงาน หรือมีสิทธิและเสรีภาพในการทำงานได้เหมือนเช่นคนที่ถือสัญชาติไทยหรือสัญชาติที่เข้าไปอยู่ในรัฐนั้นๆได้หรือไม่ โดยเมื่อพิจารณาเนื้อหาของสิทธิมนุษยชนแล้วจะเห็นได้ว่า เสรีภาพในการประกอบอาชีพนั้นถือเป็นสิทธิมนุษยชนประเภทหนึ่ง ซึ่งบุคคลทุกคนควรได้รับความคุ้มครองโดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ สัญชาติ เพศ อายุ

ตาม ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 23 บัญญัติว่า “(1) ทุกคนมีสิทธิในการทํางาน ในการเลือกงานโดยอิสระ ในเงื่อนไขที่ยุติธรรมและเอื้ออํานวยต่อการทำงานและในการคุ้มครองต่อการว่างงาน ”  [2]

                 แต่อย่างไรก็ตาม เสรีภาพในการประกอบอาชีพเป็นเสรีภาพสัมพัทธ์ คือ อาจถูกจำกัดการใช้เสรีภาพได้โดยกฎหมาย หากพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ เสรีภาพในการประกอบอาชีพจะถูกกำจัดได้โดยกฎหมายที่มีขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด การจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพย่อมต้องตรากฎหมายขึ้นเพื่อจำกัด เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจำกัดเสรีภาพชนิดนี้ตามอำเภอใจได้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 43 บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม [3]

                  การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การจัดระเบียบการประกอบอาชีพ การคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน

                  เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงแม้ว่าประเทศไทยจะมีนโยบายเสรีเพียงใด แต่ก็ยังพบว่ามีการจำกัดสิทธิของคนต่างด้าวไว้บางประการ ทั้งนี้เพราะรัฐย่อมจะต้องคำนึงถึงประโยชน์สุขของคนชาติของตน และความจำเป็นในทางการเมืองและทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นสำคัญ ในการที่จะพิจารณาให้สิทธิแก่คนต่างด้าวมากน้อยเพียงไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในทางการเมือง ซึ่งได้แก่สิทธิในการมีสิทธิมีเสียงในการปกครองประเทศหรือในกิจการของ รัฐบาล ไม่มีรัฐใดให้สิทธินี้แก่คนต่างด้าว ส่วนสิทธิอื่นๆเช่นสิทธิในการมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือทรัพย์สินบางอย่างก็ ถูกจำกัด หรือให้มีสิทธิได้เพียงเท่าที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยในประเทศนั้น และเท่าที่ไม่ขัดต่อประโยชน์และเศรษฐกิจของประเทศ

                  ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนต่างด้าวไหมนั้น ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองและเหตุผลที่นำมารองรับ หากมองว่าการที่จำกัดให้อาชีพบางอาชีพนั้นคนต่างงด้าวไม่สามารถทำได้ สงวนไว้เฉพาะคนสัญชาติไทยที่ทำได้ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยใช้เหตุผลที่ว่าบุคคลทุกคนนั้นไม่ควรได้รับการปฎิบัติต่างกัน อันเนื่องมาจากเชื้อชาติ สัญชาติก็ได้ แต่หากมองในอีกมุมหากรํฐไทยปล่อยให้คนต่างด้าวสามารถประกอบได้ทุกอาชีพ จนทำให้คนไทยไม่มีงานทำหรืออาจตกงานเพราะหากคนต่างด้าวทำได้ทุกอาชีพ นายทุนส่วนใหญ่ย่อมต้องเลือกคนต่างด้าวก่อนเพราะค่าแรงนั้นถูกกว่า ในมุมนี้อาจมองว่าคนไทยอาจถูกะเมิดสิทธิมนุษยชนก้ได้ เช่นกัน โดยในปัจจุบันนั้นมีกฎหมายที่ออกมากำหนดอาชึพที่คนต่างด้าวห้ามทำ คือ บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดในอาชีพและวีชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ
พ.ศ. 2522 ซึ่งมีทั้งหมด 39 อาชีพด้วยกัน เช่น อาชีพกรรมกร งานตัดผม

                   กรณีศึกษาครอบครัวหม่องภา ครอบครัวข้ามชาติที่อพยพจากเมียนมาร์เข้าประเทศไทย ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2543 ด้วยเหตุทางเศรษฐกิจ ที่มีความลำบากในการประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว จากข้อเท็จจริงนายหม่อง นางภา และบุตรทั้ง 2 เกิดที่ประเทศเมียนมาร์ จึงไม่มีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทยโดยการเกิด จึงไม่อาจมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยการเกิด และยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ประเทศเมียนมาร์ได้บันทึกบุคคลทั้ง 4 ในทะเบียนราษฎร พวกเขาจึงตกเป็นคนไร้รัฐ และไร้สัญชาติ คือไม่มีรัฐใดในโลกรับรองสัญชาติให้เป็นคนในรัฐ สมาชิกในครอบครัวหม่องภาจึงเป็นคนต่างด้าว ตามกฎหมายไทย เนื่องจากไม่มีสัญชาติไทย

และเนื่องจากครอบครัวหม่องภาได้เข้าประเทศไทยโดยไม่มีหนังสือเดินทางที่ออกโดยเมียนมาร์ เพราะไม่มีสถานะเป็นคนในรัฐ จึงไม่อาจเป็นคนเข้าเมืองตามกฎหมาย พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และมีสถานะเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย ไม่มีสิทธิอาศัยในประเทศไทย

                    พิจารณาต่อมาในการประกอบอาชีพของบุคคลในครอบครัวหม่องภา ที่แม้ทุกคนยังมีสถานะของ คนต่างด้าวไม่มีสิทธิอาศัยนั้น แต่ก็ยังคงมีสิทธิในการประกอบอาชีพดังที่ รับรองไว้ ตาม ข้อ 23 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และมีสิทธิการเลือกงานโดยอิสระ ดังที่ รัฐธรรมนูญไทยปี 2550 รับรองใน มาตรา 43 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพ แต่การที่คนต่างด้าวในประเทศไทยถูกจำกัดมิให้ประกอบอาชีพบางประเภท ตามม.43

ดังนั้นแม้ประไทยได้ออกกฎหมายมาจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชน ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลดังกล่าว แต่เมื่อเทียบกับความมั่นคงของรัฐ หรือสิทธิบางประการที่ควรสงวนให้คนของรัฐนั้นก่อนเพื่อรักษาให้ความเป็นอยู่ของนในรัฐมีสภาพที่ดี ก็ย่อมถือว่าทำได้โดยถือว่าเป็นเพียงการจำกัดสิทธิมิใช่ไม่มีการรับรองสิทธิให้เลยโดยการจำกัดต้องทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้นและต้องไม่ริดรอนสิทธิของคนต่างด้าวจนหมดหรือเกินควร

แหล่งที่มาของข้อมูล

[1]ความหมายของคนต่างด้าว  (ออนไลน์).http://guru.sanook.com/21278/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0...

[2]ปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ออนไลน์) http://www.l3nr.org/posts/367668

[3]รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ออนไลน์)      http://www.nhrc.or.th/2012/wb/th/page.php?id=16&menu_id=2&groupID=1&subID=14&page=page15-1l

หมายเลขบันทึก: 567976เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2014 23:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท