ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/คนหนีภัยความตาย


ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/คนหนีภัยหนีความตาย

อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 ให้คำนิยาม และความหมายของสถานภาพผู้ลี้ภัยว่า ผู้ลี้ภัย หมายถึงบุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหารหรือได้รับการคุกคามต่อชีวิตเนื่องจากสาเหตุข้อหนึ่งข้อใด เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติสมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เปิดเผยว่า เวลานี้ผู้ลี้ภัยชาวซีเรียมีจำนวนเทียบเท่า 1 ใน 4 ของประชากรเลบานอน ส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่อย่างแร้นแค้น และยังต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากภายนอกผู้ลี้ภัยที่มากมายถึง 1 ล้านคนย่อมเป็นภาระอย่างยิ่งสำหรับประเทศใดก็ตามที่ต้องรับไว้ ความขัดแย้งในซีเรียส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเลบานอนทั้งในด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง ระบบสาธารณสุขการศึกษา รวมไปถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างไฟฟ้า, ประปา และบริการด้านสุขอนามัยต่างๆ แม้นานาชาติจะคอยให้ความช่วยเหลือ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการอยู่ดี

ที่มา: http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?News...

ผู้หนีภัยความตาย คือผู้หนีภัยที่เกิดกับชีวิต ทั้งที่เป็นภัยโดยตรงหรือภัยโดยอ้อม เช่น ภัยจากการสู้รบ ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้หนีภัยความตายจำนวนหลายแสนคนจากประเทศพม่าที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยบริเวณชายแดนของไทย-เมียนมาร์ประเทศไทยจึงมีสถานะเป็นประเทศผู้รับ ที่รอการส่งต่อไปยังประเทศที่สาม หรือรอการส่งกลับผู้หนีภัยความตายหากเหตุการณ์ในประเทศต้นทางหรือประเทศมาตุภูมิสงบลง

เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ประเทศไทยจึงไม่เรียกพวกเขาว่าผู้ลี้ภัย แต่เรียกว่าผู้หนีภัยความตาย ทำให้การให้ความช่วยเหลือผู้หนีภัยความตายไม่เป็นไปตามมาตรฐานระดับสากล จนนำไปสู่การละเมิดสิทธิของผู้หนีภัยความตายตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี ได้ให้สิทธิต่างๆกับมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งสิทธิในการดำรงชีวิต สิทธิในการทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพแต่การกักกันจำกัดถิ่นที่อยู่ของผู้ลี้ภัยเฉพาะเพียงในค่ายผู้ลี้ภัยชั่วคราว ทำให้พวกเขาหมดสิทธิในการประกอบอาชีพ การเข้าถึงสิทธิในการรักษาพยาบาล สิทธิในการการศึกษา เด็กๆในค่ายไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ หรือมีการจัดการเรียนการสอนให้แต่เมื่อเรียนจบแล้วก็ไม่รู้ว่าจะนำความรู้นั้นไปทำอะไร ไม่รู้ว่าจะไปประกอบอาชีพอะไร เพราะถูกบังคับให้อยู่แต่ในค่ายผู้ลี้ภัยเท่านั้น ทำให้ลืมความรู้ที่ร่ำเรียนมาชีวิตของผู้หนีภัยความตายจึงอยู่โดยไร้ความฝันและไร้จุดหมายซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากสิทธิเหล่านี้เป็นสิทธิขั้นพี้นฐานของมนุษย์ที่พวกเขาสมควรได้รับ


  ภาพเหตุการณ์ไฟไหม้ค่ายผู้ลี้ภัยบ้านอุ้มเปี้ยม ต.คีรีราษฎร อ.พบพระ จ.ตาก http://salweennews.org/home/?p=3847

ในเรื่องนี้ นายพงษ์เทพ ยังสมชีพ นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน ได้เคยเสนอร่างยุทธศาสตร์ผู้หนีภัยความตาย ไว้เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2548 โดยเสนอเกี่ยวกับการแสวงหาการแก้ไขปัญหาที่ถาวรสำหรับผู้หนีภัยความตายว่า สามารถกำหนดกรอบของแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด 4 ลักษณะ ดังนี้

1)เดินทางกลับสู่ประเทศมาตุภูมิโดยสมัครใจ เมื่อสถานการณ์ที่เป็นภัยความตายหมดไป

2)การผสมผสานกลมกลืนสำหรับคนต่างด้าวในประเทศไทย ซึ่งอาจได้รับอนุญาตให้เป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองถาวรในประเทศไทย หรือการแปลงสัญชาติเป็นคนสัญชาติไทยแล้วแต่กรณีตามความเหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความผสมกลมกลืนในประเทศไทย จุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทยและปัจจัยทางด้านความมั่นคงแห่งรัฐอื่นๆ

3)การได้รับการยอมรับจากประเทศมาตุภูมิของผู้หนีภัยความตาย ให้เป็นประชาชนที่อยู่ต่างประเทศเพื่อการทำงานหรือจุดประสงค์อื่นๆ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างประเทศไทยกับประเทศนั้น ถ้าหากไม่มีข้อตกลงเช่นที่กล่าวมาให้ใช้เป็นกรณีคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยได้รับการอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยตามกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมและไม่บังคับให้เดินทางกลับสู่ประเทศมาตุภูมิของผู้หนีภัยความตาย

4)การเดินทางไปตั้งรกรากใหม่ในประเทศที่สาม สำหรับผู้หนีภัยความตายที่มีความประสงค์จะไปตั้งรกรากใหม่ในประเทศที่สาม และมีประเทศยอมรับให้ผู้หนีภัยความตายที่ไม่มีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทย ซึ่งประเทศที่สามมักจะคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ในสาขาอาชีพด้านต่างๆ

  

แหล่งอ้างอิงและค้นคว้าเพิ่มเติม

1.ผู้ลี้ภัยคือใคร,สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2557,จาก https://www.unhcr.or.th/th/refugee/about_refugee

2. UN เผยจำนวน “ผู้ลี้ภัยซีเรีย” ในเลบานอนทะลุ “1 ล้านคน”,ASTV ผู้จัดการออนไลน์ โพสต์เมื่อ 3 เมษายน 2557 ,จากhttp://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?News...

3.บทสัมภาษณ์ นายพงษ์เทพ ยังสมชีพ นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน,โดย สาละวินนิวส์ออนไลน์ ,“สิทธิของผู้หนีภัยความตาย”จากมุมมองนักวิชาการด้านสิทธิ,สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2557,จากhttp://salweennews.org/home/?p=986

4.อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย,สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2557,https://www.unhcr.or.th/sites/default/files/Refugee%20Convention%201951%20(Thai).pdf

5. ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR),สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2557,http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf

7. ร่างยุทธศาสตร์ผู้หนีภัยความตาย เสนอโดย นายพงษ์เทพ ยังสมชีพ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2548 โครงการวิจัยผลกระทบของความไร้รัฐและความไร้สัญชาติของเด็ก เยาวชน และครอบครัวในสังคมไทย : การตรวจสอบปัญหาและแนวคิดในการแก้ไขปัญหา หรือเรียกโดยย่อว่า “โครงการเด็กไร้รัฐ”,จากhttp://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=126&d_id=126

8.ภาคภพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา,ผู้หนีภัยความตาย แนวทางดีแต่วิธีปฏิบัติยังมีปัญหา,สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2557,จากhttp://www.l3nr.org/posts/535713

หมายเลขบันทึก: 567871เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2014 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 00:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท