ข้อคิดที่ได้จากภาพยนตร์ Amazing Grace


                     “Amazing Grace ถือเป็นภาพยนตร์แห่งประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อฉลองการครบรอบ 200 ปีแห่งการยกเลิกการค้าทาสในประเทศอังกฤษนี่คือเรื่องราวการต่อสู้ของวิลเลียมวิลเบอร์ฟอร์ซคริสเตียนหนุ่มผู้เป็นสมาชิกรัฐสภาอังกฤษที่อายุน้อยที่สุดในเวลานั้นเพื่อยกเลิกกฎหมายการค้าทาสในสหราชอาณาจักรอังกฤษซึ่งเวลานั้นนับได้ว่าเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงจนแทบประเมินค่าไม่ได้เนื่องจากมีทาสผิวดำชาวแอฟริกาถูกเกณฑ์มาขายในตลาดค้าทาสกว่า 12 ล้านคนผลประโยชน์มูลค่ามหาศาลเกิดขึ้นบนเลือดเนื้อความตายและความเจ็บปวดของเพื่อนมนุษย์ที่พวกเขาถูกมองว่าไม่ได้แตกต่างอะไรจากสัตว์ใช้งานใครๆก็มีสิทธิกอบโกยประโยชน์จากชีวิตทุกหยาดหยดของพวกเขาได้อย่างชอบธรรมเพียงเพราะเขาเกิดมามีสีผิวและหน้าตาที่แตกต่างจากคนบางกลุ่มเท่านั้น” [1]

รูปภาพที่ 1

ที่มา: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=181700

ข้อคิดที่ข้าพเจ้าได้จากการชมภาพยนต์เรื่องนี้นั้นมีมากมาย

1. ข้อคิดที่ได้จากตัวนักแสดงนำวิลเลียมวิลเบอร์ฟอร์ซที่เฝ้าอดทนต่อสู้เป็นเวลายาวนานเพื่อเสนอร่างกฎหมายยกเลิกการค้าทาสเป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน

1.1) ความยึดมั่นใจอุดมการณ์ของตนเองกล่าวคือเขาได้พยายามเพื่อที่จะให้ร่างกาฎหมายยกเลิกการค้าทาสผ่านสภาที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมากสำหรับอังกฤษในช่วงเวลาดังกล่าวอีกทั้งการเสนอได้ถูกคัดค้านจากเสียงส่วนมากในสภาแต่วิลเลียมวิลเบอร์ฟอร์ซก็ยังคงต่อสู้ต่อพยายามหาทุกวิถีทางเพื่อที่จะให้การค้าทาสหมดไปทั้งมีการปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชนโดยมีนักบวชเข้ามาร่วมมือหรือในตอนท้ายที่สุดได้ใช้กลอุบายเพื่อเป็นการบรรเทาการค้าทาสโดยการให้ตรวจสอบเรือที่แสดงธงสัญชาติอเมริการซึ่งเป็นเรื่องมีมีการแอบเข้ามาค้าทาสจึงเป็นการทำให้การค้าทาสเป็นไปอย่างยากลำบากยิ่งขึ้น

1.2) ความกล้าหาญที่จะต่อสู้เพื่อคนอื่นจากเห็นได้ว่าวิลเลียมวิลเบอร์ฟอร์ซก็มิได้มีความยากลำบากแต่อย่างไรถ้าเขาจะปล่อยเลยตามเลยไม่จำเป็นต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ก็ไม่ได้ทำให้เขาเดือดร้อนแต่อย่าใดและการที่เขาทำไปก็ไม่ได้เพื่อผลประโยชน์แต่อย่างใดนอกจากการเสียสละเวลาทั้งชีวิตเพื่อต่อสู้เพื่อประชาชนเป็นตัวแทนเสียงของประชาชนอย่างแท้จริงสังเกตเสียงปรบมือจากประชาชนในตอนท้ายของเรื่องนี่ถือเป็นความเสียสละที่ยิ่งใหญ่ต่อสังคมไทย

1.3) ความกล้ากล้าที่จะคิดต่างกล้าที่จะแสดงเจตนารมย์ที่แท้จริงออกมาทั้งที่รู้ว่าจะถูกต่อต้านจากคนอีกจำนวนมากก็ตามสังเกตได้จากการที่วิลเลียมวิลเบอร์ฟอร์ซพูดถึง People ในสภาซึ่งเป็นเรื่องที่ตลกมากในสังคมและความเชื่อณขณะนั้นแต่เขาก็กล้าที่จะคิดที่จะพูดแสดงมันออกมานี่เป็นสิ่งหนึ่งที่เราควรมองและสะท้อนถึงสังคมปัจจุบันคนที่กล้าจะเปลี่ยนเพื่อความถูกต้องนั้นหาได้น้อยมากและลดลงทุกที

2. ข้อคิดที่ได้จากภาพยนต์เรื่องนี้คือการสะท้อนถึงคุณค่าของสิทธิมนุษยชนว่าในความเป็นจริงแล้วว่าที่จะต่อสู้เพื่อให้ได้มันมานั้นยากเย็นเเค่ไหนในวันนี้วันที่กฎหมายได้มอบสิทธิเหล่านี้ให้เราเเล้วเราควรเคารพและรักษามันไว้อย่างเต็มที่วิลเลียมวิลเบอร์ฟอร์ซเริ่มจากการที่เชื่อและศรัทธาถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์และผลักดันหลักแนวทางเพื่อปกป้องคุ้มครองทำลายสิ่งที่มันทำลายความเป็นมนุษย์ของบุคคลแต่ในขณะที่ในปัจจุบันเรามีเครื่องมืออุปกรณ์ในการปกป้องคุ้มครองตนและเพื่อนมนุษย์เเต่ดูเหมือนว่าในปัจจุบันทุกคนกลับมองข้ามสิ่งเหล่านี้กลับละทิ้งเครื่องมือดังกล่าวและทำลายศักศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลอื่นแม้จะไม่ใช่รูปแบบของการค้าทาสอย่างเช่นในอดีคก็ตาม

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

1. ในเมื่อเป็นการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนจะไม่อาจปฏิเสธได้ว่าไม่มีความเกี่ยวข้อกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

- ข้อ 1 มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิต่างในตนมีเหตผุลและมโนธรรมและควรปฏบิตัติอ่กนัดว้ยจติวญิญาณแหง่ภราดรภาพ

เมื่อมีการต่อสู้ให้ยกเลิกการค้าทาสก็เท่ากับว่าเป็นการสนับสนุนให้มนุษย์ทุกคนมีความเป็นอิสระมีความเสมอภาคในศักดิ์ศรีและสิทธิต่างๆของตนอย่างเห็นได้ชัดการค้าทาสทำให้มนุษย์ผูกถูกค้าไม่มีอิสระใดๆในชีวิตของตน

- ข้อ 4 บุคคลใดจะตกอยู่ในความเป็นทาสหรือสภาวะจํายอมไม่ได้ทั้งนี้ห้ามความเป็นทาสและการค้าทาสทุกรูปแบบ

สิ่งที่เห็นได้ชัดคือการกระทำของวิลเลียมวิลเบอร์ฟอร์ซเป็นการกระทำที่สอดคล้องอนุสัญญาดังกล่าวหรืออาเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่วิลเลียมวิลเบอร์ฟอร์ซพยายามผลักดันให้มีมาตลอดชีวิตของเขาเลยก็ว่าได้

2. มีการพูดถึงการชักธงสัญชาติของเรื่องในส่วนนี้เป็นการอ้างถึงหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือกฎหมายพาณิชยนาวีซึ่งเป็นบรรดากฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรือเดินทะเท [2]

- พระราชบัญญัติเรือไทยพุทธศักราช 2481

- พระราชบัญญติการเดินเรือในน่านน้ำไทยพระพุทธศักราช 2456

อ้างอิง :

[1] "Amazing Grace." (ออนไลน์). http://www.oknation.net/blog/print.php?id=181700 (สืบค้นวันที่ 11 พฤษภาคม 2557)

[2] ไผทชิตเอกจริยกร, (2535). คำจำกัดความของกฎหมายพาณิชยนาวี. ในกฎหมายพาณิชยนาวี. หน้า 20. กรุงเทพฯ : วิญญุชน.

[3]" ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน." (ออนไลน์). http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/bo... 11 พฤษภาคม 2557)

หมายเลขบันทึก: 567788เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2014 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2014 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท