สิทธิในเสรีภาพของคนต่างด้าว


          มนุษย์เมื่อเกิดมาย่อมมีสิทธิ เสรีภาพ และ ความเสมอภาค เท่าเทียมกัน  ซึ่งถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ สิทธิมนุษยชนได้รับรองไว้ ซึ่งปฏิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 ได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรี และ สิทธิ จึงทำให้มนุษย์ทุกคน เมื่อเกิดมา จึงเป็นผู้ทรงสิทธิในเสรีภาพ  

           เมื่อได้ศึกษา จากกรณีของ นายสาธิต เซกัล นักธุรกิจชาวอินเดีย [1] ที่ กำลังถูกศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.) มีคำสั่งเนรเทศออกจากประเทศไทย เนื่องจากเข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.)ขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กระทำผิดต่อความมั่นคงของประเทศไทย นั้น จึงทำให้เกิดความสงสัยว่า การแสดงความคิดเห็นของคนต่างด้าวในประเทศไทยจะสามารถทำได้หรือไม่

         ซึ่งตามความเห็นข้าพเจ้าถือว่า การปราศรัยบนเวทีเป็นการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญ [2] ได้บัญญัติรับรองไว้ตามมาตรา45 วรรค 1“บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น” ดังนั้นการปราศรัยแสดงความคิดเห็นย่อมเป็นเสรีภาพที่สามารถทำได้ และเป็นไปตามมาตรา45วรรค 2 “การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน” ซึ่งการที่นายสาธิต ขึ้นแสดงความคิดเห็นเป็นการใช้เสรีภาพของตนเอง สามารถทำได้ แต่อย่างไรก็ตามก็เกิดความเห็นอื่น ตามมาว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา45นั้น อยู่ในหมวด3 ซึ่งเป็นสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ดังนั้นมาตราทั้งหมดในหมวด3 จะใช้บังคับแก่คนต่างด้าวมิได้  แต่ในกฎหมายระหว่างประเทศ จากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง[3] ข้อ 19 ได้มีการรับรองว่า

1. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะถือเอาความเห็นใดก็ได้โดยปราศจากการแทรกแซง

2. บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและกระจายข่าวและความคิดเห็นทุกรูปแบบโดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ไม่ว่าด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือการตีพิมพ์ ในรูปของศิลปะหรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ประสงค์

3. การใช้สิทธิตามที่บัญญัติในวรรค 2 ของข้อนี้ ต้องเป็นไปโดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นพิเศษ ดังนั้นจึงอาจตกอยู่ใต้ข้อจำกัดตัดทอนบางเรื่องแต่ทั้งนี้ต้องบัญญัติไว้ใน กฎหมายและเป็นเรื่องจำเป็นแก่

(ก) การเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น

(ข) การรักษาความมั่นคงของชาติ หรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุขหรือศีลธรรม

        จากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองข้อ19 ยิ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันว่าสิ่งที่นายสาธิตกระทำนั้นเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ แม้ว่าจะเป็นคนต่างด้าวก็ตาม  การแสดงความคิดเห็นในประเทศไทย ไม่ใช่เพียงคนชาติไทยเท่านั้นที่สามารถทำได้  คนต่างด้าวก็สามารถทำได้ มีเสรีภาพที่จะแสดงออกทางความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเมือง หรือเรื่องอื่นใดก็ตาม เพราะสิทธิในการแสดงความคิดเห็น เป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนมี และจะถูกจำกัดจากผู้ใดมิได้

เขียนเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2557

อ้างอิง

[1] ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัยจากพม่าและผลกระทบต่อประเทศไทย

http://www.isranews.org/investigative/investigate-...

[2] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

http://www.ombudsman.go.th/10/documents/law/Consti...

[3] กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=30040


หมายเลขบันทึก: 567779เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2014 21:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท