การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ


                                                                 การละเมิดสิทธิในชีวิตอื่นๆ 

     มนุษย์ทุกคนเกิดมา ย่อมมีสิทธิและศักดื์ศรีความเป็นมนุษย์ติดตัวมาตั้งกำเนิด อันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถพรากไปจากมนุษย์ได้ เว้นแต่จะตายเท่านั้นสิทธิเหล่านี้จึงจะสิ้นสุดลง ดังนั้นแล้วการกระทำใด ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของรัฐหรือ เอกชน จะเป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนถึงสิทธิเหล่านี้ไม่ได้ หากมีการละเมิดสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แล้วมนุษย์ผู้ถูกละเมิดสามารถเรียกร้องให้หน่วยงานหรือ องค์กรที่เกี่ยวข้องให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ หรือ ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นได้

     คำถามต่อมาแล้วผู้ใดบ้างที่มีหน้าที่ในการให้ความคุ้มครองสิทธิ และ ศักดิ์ความเป็นมนุษย์เหล่านี้ หากจะให้ตอบต้องคำนึงถึงหลักอย่างหนึ่งที่ว่า ทุกคนเกิดมาในฐานะเป็นมนุษย์เช่นเดียวกันทั้งหมด ดังนั้นแล้วตามหลักการเป็นเพื่อนมนุษย์กัน จึงต้องให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้นรัฐจึงเป็นผู้ที่มีหน้าที่ให้การ ดูแล คุ้มครอง ส่งเสริมและช่วยเหลือ ให้มนุษย์ทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักสิทธิมนุษยชน ตามปฏิณญาสากลว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชนสากล(UDHR) ถึงแม้บุคคลนั้นจะมิใช้คนที่มีสัญชาติของรัฐนั้นก็ตาม แต่ก็มิใช่เหตุที่จะให้อำนาจ ในการขับไล่ผลักไสพวกเขาเหล่านั้นอย่างไม่มีเหตุผล ร่วมไปถึงมิใช่ว่าจะกระทำการละเมิดพวกเขาเช่นใดก็ได้ เพราะสิ่งที่สำคัญสำหรับหลัดสิทธิมนุษยชนสากลก็คือ มนุษย์ทุกคนต้องได้รับความคุ้มครองในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จะมากระทำการย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้น จะกระทำไม่ได้ ถึงแม้อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าเขาจะไม่ใช่คนที่มีสัญชาติของรัฐนั้น รัฐดังกล่าวก็มีอำนาจแค่เพียงจำกัดสิทธิบางประการ สำหรับบุคคลต่างด้าว อันเป็นสิทธิที่ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ แต่จะจำกัดจนถึงขนาดที่กระทบกับสิทธิขั้นพื้นฐาน มากเกินไปนั้นไม่ได้

 กรณีตัวอย่าง:ชาวโรฮิงญา

     โรฮิงญา เป็นกลุ่มชนบริเวณชายแดนฝั่งพม่าที่พูดภาษาจิตตะกอง-เบงกาลี และนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าปฏิเสธสถานภาพพลเมืองของชาวโรฮิงยา ส่งผลให้มีชาวโรฮิงยาจำนวนมากต้องอพยพลี้ภัยไปยังประเทศอื่นเพื่อแสวงหา ชีวิตที่ดีกว่า

     ตั้งแต่แรกเริ่มเป็นต้นมา ประเทศพม่ามองว่าพวกโรฮิงญาไม่มีความจงรักภักดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชาวโรฮิงญาบางคนต้องการสร้างรัฐอิสระขึ้นทางอะรากันตอน เหนือ และผนวกเข้ากับปากีสถาน

     พม่าไม่ยอมรับว่าโรฮิงญาเป็นพลเมือง และในปี พ.ศ. 2491 กองทหารพม่าออกปฏิบัติการกวาดล้างพวกนี้ หมู่บ้านหลายร้อยแห่ง “ถูกเผาและคนหลายพันคนถูกฆ่า ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมหาศาลอพยพหนีไปยังบริเวณที่เป็นปากีสถานในขณะนั้น” (Yunus 1995:3) และ นี้เป็นจุดเริ่มต้นของการที่เจ้าหน้าที่ทางการพม่าพยายามจะข่มขวัญและขับไล่ พวกโรฮิงญาในครั้งต่อ ๆ มาอีก ทำให้ผู้ลี้ภัยหลั่งไหลเข้าสู่ปากีสถานและต่อด้วยบังคลาเทศระลอกแล้วระลอกเล่า

     ในมุมมองของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ชาวโรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่ "ลี้ภัยอย่างผิดกฎหมาย" และอพยพมากจากประเทศบังกลาเทศในสมัยที่พม่าตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของจักรวรรดินิยมอังกฤษ ดังนั้นด้วยทัศนคติเช่นนี้ของรัฐบาลเผด็จการพม่าทำให้ประชาชนชาวโรฮิงยาส์ไม่ได้รับการรวมเข้าไปในกลุ่มชนพื้นเมือง (Indigenous groups) ในรัฐธรรมนูญพม่า ส่งผลให้ไม่ได้รับสัญชาติพม่า

สาเหตุที่โรฮิงญาไม่สามารถอยู่ในประเทศของตนเองได้ และส่งกลับไปก็จะหนีออกมาอีก

     ชาวโรฮิงยาส่วนใหญ่ยังคงถูกปฏิเสธสิทธิในสัญชาติภายใต้กฎหมายพลเมืองพม่าปี 2525 พวกเขาอาศัยอยู่ในรัฐระไข่ห์ ตอนเหนือ ซึ่งยังคงต้องขออนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมเพื่อออกจากหมู่บ้าน เรื่องดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการค้าขายและแสวงหางานทำ นอกจากนั้นพวกเขามักจะถูกบังคับให้เป็นแรงงานอีกด้วย

     ชาวมุสลิมโรฮิงยายังถูกจำกัดสิทธิพลเมืองอีกหลายประการ ได้แก่ ไม่มีอิสระในการเดินทาง การบังคับเก็บภาษี การยึดที่ดินและบังคับย้ายถิ่น การขัดขวางการเข้าถึงด้านสาธารณสุข ที่พักอาศัยและอาหารไม่เพียงพอ การบังคับใช้แรงงาน รวมทั้งมีข้อจำกัดในการสมรส ซึ่งส่งผลให้ชาวมุสลิมโรฮิงยาหลายพันคนอพยพไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้สถานการณ์ด้านมนุษยธรรมในภูมิภาคซับซ้อน

วิเคราะห์ปัญหา:ชาวโรฮิงญา

     จากข้อเท็จจริงที่กล่าวไปข้างต้นเป็นเรื่องปัญหาของชาวโรฮิงญา ที่เป็นกรณีปัญหากับประเทศไทยเพราะมีชาวโรฮิงญาจำนวนมากที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย และถูกจับกุมตัวได้ ซึ่งทางรัฐบาลไทยก้ได้จัดตั้งเป็นสูญอพยพสำหรับชาวโรฮิงญา ซึ่งนับวันยิ่งมีจำนวนผู้อพยพเข้ามาในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น 

    ปัญหาที่ข้าพเจ้าพบจากการศึกษาประเด็นของชาวโรฮิงญาพบว่า การที่รัฐบาลไทยได้จับกุมชาวโรฮิงญาไปอยู่ ในสถานที่ที่รัฐบาลไทยได้จัดเตรียมไว้ให้ โดยพวกเขาไม่สามารถที่จะออกมาดำเนินชีวิต หรือ เดินทางออกมาภายนอกค่ายผู้อพยพไม่ได้เลย หากพวกเขาหลบหนีออกมาก็จะกลายเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิกกฎหมายทันที่ ดังนั้นการที่รัฐบาลไทยให้ผู้อพยพ ไปไหนมาไหนได้เพียงแต่ในค่าย นั้นเป็นลักษณะของการละเมิดในเรื่องของสิทธิในการเดินทาง อันเป็นหลักที่บัญญัติไว้ใน ปฏิณญาสากลว่าด้วยหลักสิทธิมนุษยชนสากล ข้อ 13 ที่ว่า "ทุกคนมีเสรีภาพในการเดินทางและย้ายที่อยู่ภายในเขตของแต่ละรัฐ และมีสิทธิที่จะออกจากประเทศใดๆรวมทั้งประเทศตนและกลับยังประเทศของตน" ดังนั้นแล้วการที่กักกันให้เขาอยู่ได้แต่นค่ายผู้อพยพ จึงเป็นการละเมิดสิทธิ ตามหลักใน ข้อ 13 นี้

    อีกทั้งจากข่าวที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาข้อมูล ได้พบอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นกับ ชาวโรฮิงญา ที่เข้ามาในประเทศไทย คือ ปัญหาเรื่องการค้าแรงงานชาวโรฮิงญา อันเป็นเรื่องของปัญหาการค้ามนุษย์ อันเป็นปัญหาระดับต้นของประเทศไทย(มีลักษณะเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ) โดยนายหน้ามักจะทำการหลอกลวงชาวโรฮิงญาว่าจะนำตัวไปส่งยังประเทศที่สาม โดยผ่านทางประเทศไทย แต่จะต้องจ่ายค่าเดินทางให้แก่นายหน้าที่ไปรับ และจะพาขึ้นรถตู้ หรื อรถบรรทุก โดยขับผ่านเข้ามาในประเทศไทยทำที่ว่าจะไปส่งยังประเทศที่สาม คือ มาเลเซีย อินโดนีเซียเป็น ต้น อันเป็นลักษณะของการลักลอบเข้าประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย แต่เมื่อถึงที่หมายกลับมิใช่ประเทศที่สามแต่อย่างไร ชาวโรฮิงญาที่เคราะห์ร้ายเหล่านั้น กลับถูกบังคับใช้แรงงานเยี่ยงทาส อีกทั้งยังถูกทรมานหากไม่ยอมทำตามคำสั้ง หรือ ถูกฆ่าทิ้งหากป่วยหนัก ก็จะไม่ได้รับการักษาพยาบาล โดยยังคงอยู่ในประเทศไทย โดยแลกกับค่าแรงอันน้อยนิด ส่งผลให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ลำบากจะ หลบหนีก็ไม่ได้เพราะตนเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย อาจถูกตำรวจไทยจับได้ จากข้อเท็จจริงที่นำเสนอไปนี้ การกระทำของเหล่านายหน้ามีลักษณะที่เห็นได้ชัดคือ เป็นการละเมิกสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักสิทธิมนุษยชน หลายข้อ ดังนี้

     ข้อ 1. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีอิสระและความเสมอภาคกัน ควรปฏิบัติต่อกันด้วนเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ

     ข้อ 4. บุคคลใดๆจะถูกนำไปเป็นทาสไม่ได้ และห้ามการค้าทาสทุกรูปแบบ

     ข้อ 5. บุคคลใดๆจะถูกทรมานหรือได้รับผลปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายผิดมนุษยธรรมหรือต่ำช้าไม่ได้

  ซึ่งการละเมิดสิทธิต่างๆเหล่านี้ในต่างประเทศหลายประเทศไม่อาจยอมรับการกระทำเหล่านี้ได้ จนถึงขั้นที่มีบางประเทศไม่รับผลผลิตจากผลิตภัณฑ์ต่างๆของประเทศไทย จนกว่าจะมีการแก้ไขปัญหาเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชน อันมีลักษณะของการค้ามนุษย์ อันเป็นสิ่งที่นานาประเทศรับไม่ได้

อ้างอิง

1.ปฏิณญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน.ที่มาhttp://www.l3nr.org/posts/519241.สืบค้นเมื่อ 8 พ.ค. 57

2.ประวัติชาวโรฮิงญา.ที่มาhttp://www.tacdb-burmese.org/web/index.php?option=com.สืบค้นเมื่อ 8 พ.ค. 57

3.เจาะลึก"โรฮิงญา"เหยื่อขบวนการค้ามนุษย์.ที่มาhttp://www.dailynews.co.th/Content/regional/174579... 8 พ.ค. 57

หมายเลขบันทึก: 567759เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2014 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2014 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท