บทสาขาที่ 7.1 ปรัชญาดนครี เรื่องดุริยะสัญญานิพนธ์ 2


ดุริยะสัญญานิพนธ์

ครั้งที่ 2

เมื่อมนุษย์รู้จักสัญญาดนตรี

เสียงที่เรียงร้อยเป็นทำนองก็เกิดขึ้น

เมื่อมนุษย์รู้รักทำนองที่เกิดขึ้น

ความแตกต่างเชิงวาระย่อมอุบัติตน

การเกิดขึ้นสองอย่างทำให้เกิดรู้

แตกต่างไปด้วยความรู้สึก

อันเสียงสัญญากับสามัญ

วาระนั้นได้ด้วยการเทียบเคียง

ได้ด้วยการยอมรับฟัง

ความต่างของทำนองเกิดขึ้นจากความคิดประดิษฐ์

มิสามารถร่วมผสมปนให้กลืนกลมได้

อันหมายถึงความคมของเข็มมีด้านเดียวเสมอ

ระหว่างทำนองย่อมแตกความต่างกัน

เสียงดนตรีนั้นเปรียบได้แก่นแท้แห่งสัจจะ

ท่วงทำนองร้อยเรียงเสียงแตรกำหนดเป็นสัญญาลักษณะ

สัจจะดนตรีเสียงมีกำหนดได้ด้วยธาตุเสียง

ทำนองระหกเหิรนั้น

เป็นตามประสงค์ได้ในอารมณ์

ณัฐนพมนูอินทาภิรัต


หมายเลขบันทึก: 567722เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2014 04:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2014 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท