การประชุมเชิงปฏิบัติการ Selection Workshop 2014 ตอนที่ 1: การเทียบโอนผลการเรียนและพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน


หากเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ สามารถสมัครเข้าศึกษาต่อได้เลย แต่บางมหาวิทยาลัยของไทย หลายคณะฯ อาจกำหนดเกรดเฉลี่ย เช่นสาขาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ แพทย์ วิศวะฯ ผู้เรียน จึงต้องกลับมาเรียนซ้ำเพื่อนำเกรดไปยื่นสมัครเรียนต่อในสาขาที่ตนถนัดและสนใจ

ฝ่ายคัดเลือกและส่งเสริมอาสาสมัครฯ เอเอฟเอสประเทศไทย จัด ประชุมเชิงปฏิบัติการ Selection Workshop 2014 ขึ้นระหว่างวันที่ 6-8 พฤษภาคม 2557 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นท์ กรุงเทพฯ

ผู้เข้าร่วมประชุมฯ ประกอบด้วยผู้ประสานงานเอเอฟเอสเขตและผู้ช่วยผู้ประสานงานเอเอฟเอสเขต จากทั่วประเทศรวม 78 เขต (จาก 81เขต) จำนวน 150 คน


          


พิธีเปิด : คุณอภิธัย บุรณศิริ กรรมการมูลนิธิเอเอฟเอส ประเทศไทย ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ 

ผู้กล่าวต้อนรับ : คุณจิรวัฒนา จรูญภัทรพงษ์ ผู้อำนวยการใหญ่มูลนิธิเอเอฟเอสประเทศไทย

พิธีปิด: คุณประจวบ ชำนิประศาสน์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียน กรรมการมูลนิธิเอเอฟเอสประเทศไทยให้เกียรติเป็นประธานกล่าวปิดการประชุม


         


ขอสรุปสาระสำคัญ ของกิจกรรมเรียงลำดับไปตามกำหนดการ ดังนี้

วันที่ 6 พฤษภาคม 2557

การเทียบโอนผลการเรียนกรณีเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนฯ

วิทยากร : คุณมธุรส ประภาจันทร์ นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ กลุ่มประเมินคุณภาพการศึกษา สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน

       


สรุปสาระ-แนวทางการปฏิบัติ

การเทียบโอน ตาม พรบ.กำหนดไว้ 6 กรณี

1. ย้ายสถานศึกษา ตามผู้ปกครอง /กลับภูมิลำเนา
2. การเปลี่ยนรูปแบบการศึกษา  เช่นการเปลี่ยนหลักสูตรของชาติ
3. การย้ายหลักสูตร เช่น หลักสูตรนาฏศิลป์ หลักสูตรปริยัติธรรม สู่การศึกษาภาคปกติ
4. การขอกลับเข้าเรียนต่อ หลังจากหยุดไปเนื่องจากความจำเป็นในกรณีต่างๆ
5. กลับจากต่างประเทศ นำหน่วยกิตมาเทียบโอนเก็บหน่วยกิตต่อในระบบโรงเรียน
6. การเทียบโอนความรู้ด้านทักษะ-ประสบการณ์

ความหมายของการเทียบโอน : การนำผลการเรียน ผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์ การทำงาน การฝึกอาชีพ มาเทียบโอนเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาต่อเนื่องตามหลักสูตรของสถานศึกษาที่รับโอน

การโอนหน่วยกิต : จะไม่ได้ผลการเรียนในวิชาที่โอน แต่จะได้หน่วยกิตที่สามารถนำไปใช้เพื่อแสดงว่าจบการศึกษาในระดับชั้นต่างๆ ตามข้อกำหนดของระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ

การสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา : หากเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ สามารถสมัครเข้าศึกษาต่อได้เลย แต่บางมหาวิทยาลัยของไทย หลายคณะฯ อาจกำหนดเกรดเฉลี่ย เช่นสาขาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ แพทย์ วิศวะฯ ผู้เรียน จึงต้องกลับมาเรียนซ้ำเพื่อนำเกรดไปยื่นสมัครเรียนต่อในสาขาที่ตนถนัดและสนใจ

ก่อนออกเดินทาง:

1.ประสาน สร้างความเข้าใจระหว่างสถานศึกษากับโครงการแลกเปลี่ยน

2.ยื่นคำร้องต่อสถานศึกษาเพื่อแสดงความจำนงขอลาพักการเรียน 1 ปีการศึกษา

3.ยื่นคำร้องต่อสถานศึกษาเพื่อขอใบแสดงผลการเรียนเป็นรายวิชา ( Transcript) ชั้นล่าสุด

เกณฑ์การจัดเข้าชั้นเรียนในต่างประเทศ

* อายุ(age)

* ใบแสดงผลการเรียนเป็นรายวิชา (Transcript)

* ผลการสอบ ( Placement Test)

       


ข้อเสนอแนะในการเรียนที่ต่างประเทศ

* เลือกรายวิชาเรียนที่สอดคล้องกับแผนการเรียนในประเทศไทย และเป็นรายวิชาพื้นฐานในสาขาวิชาที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

* พยายามเข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนในต่างประเทศจีดให้เพื่อสิทธิประโยชน์ในการเทียบโอนผลการเรียน

* ตั้งใจ กระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมทั้งในชั้นเรียนและกิจกรรมหลังเลิกเรียนที่ตนมีความสามารถและถนัด

* เก็บรวบรวมเอกสารทุกประเภท เช่นประกาศนียบัตร วุฒิบัตร ภาพถ่าย เหรียญรางวัล เพื่อจัดทำแฟ้มสะสมงาน ( Portfolio)

การเทียบวุฒิการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คุณสมบัติ

1. ได้รับประกาศนียบัตรที่แสดงการจบหลักสูตรHigh School (Regular/Standard Diploma)

2. ได้รับใบแสดงผลการเรียน ( Official Transcript)ในชั้นสุดท้ายในระดับ High School

เอกสารที่ใช้

1. ประกาศนียบัตร (High School Diploma)

2. ใบแสดงผลการเรียน ( Official Transcript)

3. รูปถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 2 รูป

4. บัตรประชาชน

5. พื้นความรู้ก่อนเดินทางจากสถานศึกษาในประเทศไทย

6. ที่ตั้งสถานศึกษาในประเทศไทย

กลุ่มทะเบียนและสารสนเทศ สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน www.bet.obec.go.th/it

              


พฤติกรรมของผู้เข้าร่วมโครงการ

วิทยากร : คุณรุจิรา คันทรง ผู้อำนวยการฝ่ายบริการการศึกษา

               คุณมลฤญช์  จิระสกุล  ผู้จัดการฝ่ายฯ 

*** ... นำกรณีศึกษาพฤติกรรมของเยาวชนเอเอฟเอส ที่เข้าร่วมโครงการ ฯ จำนวน 15 ตัวอย่างมาให้อาสาสมัครเอเอฟเอสได้ระดมความคิด-แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มอภิปรายสรุป ...***  

          

                    ตัวแทนกลุ่มทั้ง 15  นำเสนอ-แสดงความคิดเห็นของกลุ่มฯ

          

   

สิ่งที่ได้เรียนรู้: อาสาสมัครเอเอฟเอสได้รับรู้-รับทราบพฤติกรรมของเยาวชนฯ ซึ่งเป็นข้อคิดในการกำหนดแนวทางการคัดสรรเยาวชนเข้าร่วมโครงการ ในรุ่นต่อไป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฯ


         


                         ***... ขอขอบคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านนะคะ   ...*** 

หมายเลขบันทึก: 567681เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2014 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2014 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท