สมาธิ 16


ในช่วงท้ายของการบรรยาย ก่อนตอบคำถาม ผมจะแนะนำการทำวิปัสสนาแบบง่าย ๆ สำหรับฆราวาสครับ

โดยให้เราพิจารณา กรรมฐาน 5 ที่มองเห็นได้ง่าย ชัดเจน คือเกศา(ผม), โลมา(ขน), นักขา(เล็บ), ทันตา(ฟัน), ตโจ(ผิวหนัง) เข้ามาเทียบเคียงกับพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา ครับ

เริ่มโดยให้ทำสมาธิจาก วิตก, วิจาร แล้วพอเกิดปิติ ก็ให้ละปิติ แล้วรักษาสมาธิในสภาวะนั้นไว้ด้วยสติอย่างมั่นคงครับ

แล้วผมก็เริ่มถามว่า ผมของเรายืดยาวออกเรื่อย ๆ ใช่หรือไม่..แล้วก็ให้เขาพิจารณาในสมาธิจิตอย่างมีสติมั่น แล้วก็ตอบในใจว่า ..ใช่/ไม่ใช่

แล้วก็ถามว่า ผมของเรา ถ้าไม่ทำความสะอาด จะเน่าเหม็น น่ารังเกียจ...ใช่หรือไม่...

แล้วก็ถามว่า ผมของเรา สั่งบังคับ ไม่ให้ยืดยาวออกได้หรือไม่...

หลังจากนั้นผมก็จะบอกว่า ถ้าใช่ แสดงว่า..ผมเป็นอนิจจัง (คำถามแรก), ผมเป็นทุกขัง (คำถามสอง), ผมเป็นอนัตตา(คำถามสาม)..ใช่หรือไม่

แล้วผมก็จะถามว่า ผมของเรา ควรยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นของเราหรือไม่.. ผมของผู้อื่น ก็เป็นเช่นเดียวกัน..ใช่หรือไม่...

การถามตอบเหล่านี้ อยู่ในสภาวะจิตที่เป็นสมาธิ มีสติตั้งมั่นดีแล้วนะครับ การทำวิปัสสนาจึงจะได้ผลดี คือ เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง หลุดพ้นจากมายา ลดละเลิกอัตตาได้ในที่สุดนะครับ..

รายละเอียดปลีกย่อย มีมาก แต่ต้องปฏิบัติในสมาธิจิตนะครับ ไม่งั้นจะเป็นแบบที่เรียกว่า วิปัสสนึก คือ นึกเอาตามตรรกะ แบบปัญญาพื้นๆ ที่เรา ๆ เป็นกันอยู่ ..ซึ่งจะเป็นเพียงการค้นพบทางสัจธรรมสัมพัท(relative) เท่านั้นเอง ไม่ได้รู้แจ้งในสัจธรรมใด ๆ นะครับ..

...

ชยพร แอคะรัจน์

...

คำสำคัญ (Tags): #ชยพร
หมายเลขบันทึก: 567610เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2014 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2015 12:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะอาจารย์

...พยายามศึกษา และทำความเข้าใจ...ขอบคุณมากค่ะอาจารย์

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท