แผ่นดินไหวที่เชียงรายกับ การเตรียมรับมือสำหรับอาคารในภาคเหนือ


          รองศาสตาจารย์ ดร.ไพบูลย์ ปัญญาคะโป ผู้อำนวยการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต และ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า

          เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ขนาด 6.3 ริคเตอร์ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยของอาคารในจังหวัดเชียงราย และพื้นที่ภาคเหนืออย่างกว้างขวาง อาคารจำนวนมากเกิดความเสียหาย ภาพที่ 1แสดง ความเสียหายของอาคารเรียน โรงเรียนพานพิทยาคมอ.พาน จ.เชียงราย พบว่าเสาอาคารเอียงและแตกเสียหายมาก ผนังก่ออิฐแตกทลายลงมาเป็นช่องเปิดขนาดใหญ่ เนื่องจากลักษณะโครงสร้างอาคารในทิศทางตามแนวยาวของอาคาร เป็นระบบคานและเสา มีผนังก่ออิฐอยู่ในช่วงระหว่างเสา อาคารนี้ไม่ได้มีการออกแบบต้านทานแผ่นดินไหว ผลการวิจัย การประเมินกำลังต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารเรียนนี้ สอดคล้องกับความเสียหายที่ปรากฏในภาพว่า เสาอาคารเกิดการเคลื่อนที่ไปมาก เนื่องจากแรงกระทำทางด้านข้างจากแรงแผ่นดินไหว ซึ่งไม่ได้มีการออกแบบรองรับไว้ก่อน จนทำให้เกิดการวิบัติแตกร้าวแบบแรงเฉือน และผนังก่ออิฐซึ่งมีคุณสมบัติมีกำลังรับแรงอัดและแรงเฉือนต่ำ จึงเกิดการแตกร้าวได้ง่าย  

          ดังนั้น สำหรับอาคารที่ไม่ได้มีการออกแบบต้านทานแผ่นดินไหว หากต้องการเสริมกำลังเพื่อความมั่นคงปลอดภัยอาจทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะรูปแบบของโครงสร้างอาคาร สำหรับอาคารเรียน ตามที่แสดงตัวอย่างนี้ เสนอแนะให้ใช้ วิธีการเสริมค้ำยันโครงสร้างด้วย โครงอาคารยึดรั้งไร้การโก่งเดาะ (Buckling Restrained Braced, BRB) ดังแสดงในภาพที่ 2-3 


          การเสริมกำลังโครงสร้างอาคารแบบนี้ ใช้สำหรับอาคารที่มีหลายช่วงเสา และจะเสริมกำลังที่เสาช่วงปลายทั้งข้างของขอบอาคาร ซึ่งไม่ได้เป็นส่วนทางเข้าออกเพื่อไม่ให้กีดขวางประโยชน์ใช้สอยอาคาร ผลการวิจัย ที่มีการประเมินกำลังต้านทานแผ่นดินไหวโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ PERFORM-3D โดยใช้คลื่นแผ่นดินไหวที่สอดคล้องกับการออกแบบตามมาตรฐาน มยผ.1302 จำนวน 7 ชุด พบว่า โครงสร้างอาคารมีการเคลื่อนที่ลดลงอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมให้ตามมาตรฐาน และ เสาอาคารมีความปลอดภัยไม่เกิดการแตกร้าว 


หมายเลขบันทึก: 567550เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2014 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2014 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับที่แบ่งปันความรู้ซึ่งน่าสนใจนี้ครับ อ.Nuttapon Disbanchong

...เป็นบันทึกที่ดีมีประโยชน์มากค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท