ครอบครัวข้ามชาติ


                                                                        ครอบครัวข้ามชาติ

         ครอบครัวข้ามชาติ คือมีลักษณะ บุคคลที่มีการกระทำในลักษณะที่ข้ามชาติ คือมีถิ่นที่อยู่หรือเคยอยู่อาศัยในประเทศประเทศหนึ่งอยู่แล้วแต่ได้มีการข้ามหรือเคลื่อนย้ายมายังอีกประเทศหนึ่ง
โดย
รูปแบบครอบครัวข้ามชาติที่พบในพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว

- รูปแบบแรก ครอบครัวที่เกิดจากการแต่งงานข้ามชาติระหว่างชาวบ้านคนไทยอีสานกับชาวบ้านคนลาว พบครอบครัวข้ามชาติแบบนี้อยู่ถึงร้อยละ 76

-รูปแบบที่สองครอบครัวผู้ลี้ภัยชาวลาวที่อพยพเข้ามาในเมืองไทยช่วงลาวแตกระหว่าง พ.ศ.2517-2519

-รูปแบบที่สาม ครอบครัวแรงงานข้ามชาติสัญชาติลาว ที่อพยพหนีปัญหาความยากจนภายในประเทศมาทำมาหากินหมู่บ้านฝั่งไทย[1]

       กรณีศึกษาครอบครัวเจดีย์ทอง ซึ่งเป็นครอบครัวของนายอาทิตย์ เจดีย์ทองคนไทย ได้พบรักกับ นางสาวแพทริเซียคนมาเลเซีย ในช่วงที่เดินทางไปทำงานเป็นแรงงานอยู่ ณ ประเทศไต้หวัน จนในที่สุดทั้งคู่ก็ต้องการมาสร้างครอบครัวอยู่ในประเทศไทย

        นางสาวแพทริเซียมีบุตรกับนายอาทิตย์จำนวน ๓ คน และบุตรทุกคนได้รับการแจ้งการเกิดและการอยู่ในทะเบียนราษฎรของรัฐไทยโดย นายอาทิตย์ เจดีย์ทอง ซึ่งได้รับการรับรองในทะเบียนราษฎรของรัฐไทยในสถานะสัญชาติไทยแต่มิได้รับการแจ้งการเกิดในทะเบียนราษฎรของรัฐมาเลเซีย บุตรทั้งสามจึงมีสานะบุคคลตามกฎหมายไทยว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเท่านั้น
นางสาวแพทริเซียต้องการจะอยู่ในประเทศไทยอย่างถาวร จึงไปแสดงตนกับเจ้าหน้าที่ ทำให้นางสาวแพทริเซียมีสถานะ2สถานะคือ เป็นคนสัญชาติมาเลเซีย และเป็นบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน ซึ่งจะมีกรณีปัญหาครอบครัวข้ามชาติหากมีการจดทะเบียนสมรสแต่ก็ได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นบางอย่าง และ บุตรของนางสาวแพทริเซียกับนายอาทิตย์ทั้ง3คน อาจได้รับสองสัญชาติได้คือ ได้รับสัญชาติไทย ผ่านหลักดินแดน คือประเทศไทย และผ่านสายโลหิตคือบิดาคนไทย และอาจได้รับสัญชาติมาเลเซียผ่านหลักสืบสายโลหิตทางมารดา หากนางสาวแพทริเซียถือสัญชาติมาเลเซีย บุตรทั้ง3คนอาจได้รับสัญชาติมาเลเซียด้วย ถ้าบุตรทั้งสามคนได้รับสัญชาติมาเลเซีย ก็จะสามารถได้รับสิทธิบางประการที่คนชาติมาเลเซียได้ ปัญหาสิทธิมนุษยชนของครอบครัวข้ามชาติครอบครัวนี้อีกประการหนึ่งคือการบุตรทั้งสามคนอาจเสียสิทธิบางประการในการไม่ได้ถือสัญชาติสองสัญชาติจึงอาจกล่าวได้ว่า ปัญหาครอบครัวข้ามชาติจะก่อให้เกิดสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน หรือการสูญเสียสิทธิบางประเภทตามลักษณะสัญชาติหรือ การไร้สัญชาติ [2] อีกทั้งปัญหาการเข้าเมืองผิดกฎหมาย


[1] รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร,ครอบครัวข้ามชาติ ,๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๒ แหล่งที่มา http://www.gotoknow.org/posts/269020 ค้นหา 28 เมษายน 2557

[2] รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ สายสุนทร ครอบครัวข้ามชาติ ,๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๒ . แหล่งที่มา http://www.l3nr.org/posts/535985

ค้นหา 28 เมษายน 2557


หมายเลขบันทึก: 567461เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2014 03:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2014 03:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท