ครอบครัวข้ามชาติ


คนข้ามชาติ หมายถึง ผู้ดำรงชีวิตในถิ่นฐานที่ไม่ใช่บ้านเกิดของตนเอง ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้อพยพจากรัฐหนึ่งมาตั้งถิ่นฐานในอีกรัฐหนึ่ง และลงหลักปักฐานดำรงชีวิตในรัฐนั้น แต่เนื่องจากการอพยพมาอย่างผิดกฎหมาย ประกอบกับการสำรวจประชากรที่ไม่รอบคอบ ทำให้คนกลุ่มนี้ตกสำรวจ จึงเกิดปัญหาเรื่องสถานะของคนเหล่านั้น ว่าเป็นคนรัฐใด สัญชาติใด

ครอบครัวข้ามชาติจึงหมายถึง ครอบครัวที่ประกอบด้วยสมาชิกในครอบครัวที่มีปัญหาเรื่องสถานะของตน เช่น สัญชาติที่ไม่ตรงกับดินแดนที่ตั้งถิ่นฐานได้แก่ บิดาหรือมารดา เป็นคนข้ามชาติ จากการเข้ามาในประเทศนั้นๆ ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม

การสร้างครอบครัวของมนุษย์ที่ข้ามชาติจากกรณีศึกษาครอบครัวเจดีย์ทอง

นายอาทิตย์ เจดีย์ทอง ได้รู้จักนางสาวแพทริเซีย ในขณะที่เดินทางไปทำงาน ณ ไต้หวัน แต่ต่อมา เมื่อสัญญาจ้างแรงงานของนายอาทิตย์หมดสิ้นสุด เขาจึงต้องเดินทางกลับมาประเทศไทย แต่นางสาวแพทริเซียยังคงทำงานต่อไปในไต้หวันจนกระทั่งสัญญาแรงงานสิ้นสุดลงในระหว่างเดินทางจากไต้หวันกลับประเทศมาเลเซีย นางสาวแพทริเซียได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพื่อเยี่ยมนายอาทิตย์ โดยได้รับการตรวจลงตรา ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เจ้าหน้าที่ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองบันทึกในการตรวจลงตราบนหนังสือเดินทางของเธอ เธอจึงอาจอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้จนถึงวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๖ในระหว่างที่นางสาวแพทริเซียได้พักอาศัย ณ บ้านของนายอาทิตย์ในประเทศไทย นายอาทิตย์และนางสาวแพทริเซียได้ตกลงกันที่จะอยู่กินฉันสามีภริยา ณ จังหวัดตาก

ต่อมา มีบุคคลที่นายอาทิตย์นับถือแนะนำให้นางสาวแพทริเซียไปร้องขอต่ออำเภอ เพื่อรับการสำรวจในสถานะของ บุคคลที่ไม่มีสถานะบุคคลตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรและ นางสาวสาวแพทริเซียก็ได้รับการบันทึกใน ทะเบียนประวัติประเภท ท.ร.๓๘ กในชื่อของ อัญชลี เจดีย์ทองและได้รับการออก บัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน”ให้ถือเพื่อแสดง นอกจากนั้น เธอได้ใช้บัตรประจำตัวที่ได้ในชื่อใหม่ ไปร้องขอสิทธิทำงานต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัดตาก และได้รับใบอนุญาตทำงานในสถานะ คนไร้สัญชาติทั้งที่ในความจริงนางสาวแพทริเซียไม่ใช่คนไร้รัฐ เนื่องจากมีรัฐมาเลเซียรับรองสัญชาติมาเลเซีย ซึ่งการที่นางสาวแพทริเซียกลายเป็นคนไร้รัฐ ย่อมก่อให้เกิดปัญหาแก่บุตรทั้งสามคน คือ บุตรทั้งสามคนย่อมไม่ได้รับสัญชาติมาเลเซีย และเมื่อไม่ได้รับสัญชาติมาเลเซียย่อมไม่ได้รับสิทธิบางประการที่คนชาติมาเลเซียได้ เช่น การประกอบอาชีพบางประการหรือการซื้อที่ดิน เป็นต้น

ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้มาจากการไม่รู้กฎหมาย หากนายอาทิตย์และนางสาวแพทริเซียได้ทำการสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้วจะได้รับการคุ้มครองถึงสิทธิต่างๆเพิ่มมากขึ้น เช่น นางสาวแพทริเซียสามารถขอวีซ่าประเภทครอบครัว ที่จะทำให้สามารถอยู่ในประเทศไทยในฐานะผู้ติดตามของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยได้ อีกทั้งนางสาวแพทริเซียยังคงมีสัญชาติมาเลเซียและจะได้รับสิทธิต่างๆมากกว่าการเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนดังที่เป็นอยู่ อีกทั้งบุตรทั้ง 3 นอกจากจะมีสัญชาติไทยตามหลักดินแดนหรือตามสัญชาติของบิดาเเล้ว ยังมีสัญชาติมาเลเซียตามมารดาได้อีกด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการมีสิทธิบางประการตามกฎหมายของประเทศมาเลเซีย

จากที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการมีครอบครัวเป็นครอบครัวข้ามชาตินั้น สามารถมีได้หลายกรณีและในแต่ละกรณีก่อให้เกิดสิทธิประโยชน์แตกต่างกัน ซึ่งบางกรณีจากความไม่รู้หรือทำอย่างไม่ถูกต้องอาจทำให้คนในครอบครัวนั้นต้องเสียสิทธิที่ควรจะได้รับบางประการดังที่ได้ศึกษาจากครอบครัวเจดีย์ทอง

หมายเลขบันทึก: 567205เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2014 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2014 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท