nobita
นาย ชัยพร รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

คลองแสนแสบ (จมูก)


การเดินทางไปสัมมนาในวันนี้ ผมเลือกเดินทางด้วยเรือด่วนที่แล่นในคลองแสนแสบซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่ท่าเรือสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ใกล้ ๆ กับภูเขาทอง และเป้าหมายปลายทางของผมคือ รามคำแหง

สิ่งที่เป็นต้นทุนของบันทึกนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพน้ำในคลองแสนแสบนี้เอง  จากประกาศเกี่ยวกับการวัดคุณภาพน้ำที่ติดไว้ตรงท่าเรือ ซึ่งผมอ่านผ่าน ๆ จับใจความได้ว่า วัดแล้วปริมาณอ๊อกซิเจนในน้ำของคลองแสนแสบนี้ต่ำมาก ทำให้น้ำเน่าเสีย และขอความร่วมมือให้ประชาชนช่วยกันรักษาความสะอาด งดทิ้งขยะลงในคลอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนริมคลองแสนแสบนี้ ช่วยกันบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงคลองแสนแสบ...

จากการสังเกตดูน้ำในคลอง ท่อน้ำทิ้งแต่ละจุด ขยะที่ลอยในน้ำ และสัมผัสกับกลิ่นเหม็นของน้ำ ทำให้เข้าใจได้ว่าคนที่อยู่รอบ ๆ คลองแสนแสบนี้ รวมถึงคนที่ต้องอาศัยเส้นเดินทางด้วยคลองนี้ ยังไม่รับรู้ถึงการร่วมกันแก้ปัญหา การป้องกัน และความน่ารำคาญหรือความเหม็นของน้ำเสียสักเท่าไร เพราะทุกคนยังคงนิ่งเฉยกับกลิ่นน้ำเสียที่แรงมาก (สำหรับผม) ยังคงปล่อยน้ำเสียและขยะลงคลองไม่หยุดหย่อนกันเลย...

ตลอดทางที่ผมนั่งมาในเรือ ผมนั่งคิดไปเรื่อยเปื่อยว่า จะมีวิธีการใดบ้างที่จะบำบัดน้ำเสียให้ค่อย ๆ ดีขึ้น  ต้องใช้น้ำอีเอ็ม หรืออีเอ็มบอลกันอย่างไรดี  หรือว่า วันนี้ เรามีสถาบันระดับอุดมศึกษากันมามาย จะมีสักกี่แห่งที่ทำวิจัยแนวทางการแก้ปัญหาน้ำเสียในคลองแสนแสบกันบ้าง หรือ จะมีหน่วยงานใดบ้างที่จะลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง และวางแนวทางการพัฒนาให้เกิดน้ำดี เป็นคลองที่สวยงามดังเดิมและทำให้เกิดความยั่งยืนต่อไป...

จากต้นทาง ถึงปลายทางความคิดก็หยุดลงปั๊บ ชีวิตผมต้องก้าวขึ้นสู่ฝั่งเพื่อเดินทางไปทำหน้าที่ต่อไป แต่สิ่งที่คิดไว้ก็ยังคงคาใจอยู่ ผมคิดว่าหากวันหนึ่งมีใครหรือหน่วยงานใดจริงจังกับการแก้ปัญหานี้ ผมอยากสนับสนุน ผมอยากช่วย ผมอยากเห็น..

ผมอยากเห็นน้ำในคลองแสนแสบกลับมามีคุณภาพที่ดี ไม่ถึงกับใสไหลเย็นเห็นตัวปลาก็ได้ แค่ขอให้ได้แค่ไม่มีกลิ่นเหม็น และสะอาดปราศจากเชื้อโรคที่อันตราย  ด้วยเหตุผลที่ว่า หากวันใดพ่อคุณคนขับเรือซิ่งจนน้ำกระเด็นเข้ามาใส่ตัวผู้โดยสารในเรือ ผมหรือเขาเหล่านั้นจะได้ลดโอกาสการสัมผัสกับน้ำเน่ามีเชื้อโรค หรือโดนแล้วไม่มีกลิ่นเหม็นติดตัวจนเป็นที่น่ารังเกียจของเพื่อนร่วมเดินทาง...

ที่สำคัญ ถ้าเราได้คลองแสนแสบที่สะอาดกลับคืนมา เราก็จะได้เห็นชุมชนริมน้ำที่มีเด็ก ๆ เล่นน้ำ ดำผุดดำว่ายให้เห็นน่ารักกันอีกครั้งแน่นอน

หมายเลขบันทึก: 567187เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2014 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2014 23:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อย่างน้อยๆ การคิดถึงเรื่องพวกนี้ก็ทำให้เราตระหนักถึงปัญหา เริ่มต้นหาวิธีแก้ไข และมีส่วนร่วม  

ทำได้ง่ายโดยเริ่มที่ตัวเอง สอนลูกๆ  แต่ก็ยังไม่ส่งผลกระทบในวงกว้าง จนกว่าจะมีคนคิดเหมือนเรามากๆ

ทฤษฎีห่วงโซ่ความสัมพันธ์บอกว่า  "การที่เราทำหรือไม่ทำสิ่งใด สิ่งนั้นจะย้อนกลับมาถึงเราเสมอ ทั้งสิ่งดีและไม่ดี"

การทิ้งขยะลงถนน ขยะลงไปในท่อ ลงไปในคลอง เมื่อฝนตกลงมาเพียงเล็กน้อย น้ำท่วม เราเดือดร้อนกันถ้วนหน้าร่วมกัน  นี่คือรูปธรรมที่เป็นตัวอย่างชัดเจน

น้องเป็นคนคิดดี ทำดี พี่ชื่นชมค่ะ

การปลูกจิตสำนึกคือสิ่งสำคัญที่ต้องช่วยกันจริงๆ ค่ะ

...น้ำในคลองแสนแสบ มีสีดำและส่งกลิ่นเหม็นมานานแล้วนะคะ ...ตอนเด็กๆมีบ้านพักอยู่ในกรมตำรวจปทุมวัน (2500-2516) เวลาจะไปตลาดประตูน้ำ พี่สาวจะพาเดินทะลุผ่านวัดสระปทุม พอถึงประตูน้ำ (ประตูปิด-เปิดระบายน้ำ คลองแสนแสบ)ต้องปิดจมูกและรีบเดินข้ามอย่างเร็วเพราะเหม็นมากๆค่ะ

การเปลี่ยนน้ำเน่าให้เป็นน้ำดีมีคุณภาพมีปลาว่ายอยู่ในน้ำได้..เยอรมัน..ใช้เวลา..เป็นหลายสิบปี..(และสำเร็จลงได้ด้วยความเพียรพยายาม)..นั้นหมายความว่าไม่ใช่แต่เพียงว่า..เจ้าหน้าที่ของรัฐ..จะบอกเพียงว่าอย่าทิ้งของเสีย..ลงแม่น้ำลำคลองแต่อย่างเดียว..การจัดการผังเมืองให้มีคุณภาพ..นั้นสำคัญอย่ายิ่งยวด..ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ละเลยการเรียนรู้และปฏิบัติ..จะมาแก้เมื่อสาย..(เสียแล้ว)...แต่ก็..ควรจะเริ่มต้นกันเสียที..ดีกว่าจะมัวหาเรื่องกันเองอย่างทุกวันนี้..ว่าใครทำ..ทั้งๆที่รู้อยู่ดี.ว่า?.??.ด่าว่ากัน..จึงไม่มีประโยชน์...ดังที่เห็น..(ใครทนได้..ทนไป..คงจะไม่มี..อีกแล้วเป็นแน่...ฮ่ะ)...เพราะแค่แสบจมูก..อาจไม่ใช่เรื่อง..เล็กๆๆ.ต่อไป...เมื่อจมูกทำงานไม่ได้...ตายไหม...เจ้าหน้าที่รัฐนี้..คงมีคำตอบให้แค่..เฉพาะตัว..ฮ่าๆๆๆๆๆ..... มีเสือสิงกระทิงแรดมาฝากเจ้าค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท