jenasheta
นาง สุจิตรา สุ จันทรัตน์

รำลึกนวนิยายที่อ่านสนุกมีสาระ......ปุลากง


เรื่องปุลากงเป็นวนิยายที่ถูกกำหนดให้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสมัยเรียนอยู่ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นบทประพันธ์ของ โสภาค สุวรรณ นับได้ว่านวนิยายเรื่องนี้จัดว่าเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าไม่ว่าผ่านกาลเวลาหรือยุคสมัยใด เนื่องจากให้ข้อคิดที่สะท้อนความเป็นไปของสังคมได้เป็นอย่างนี้ เป็นนวนิยายที่มีมุมมองทางการเมืองเชิงอุดมคติที่สามารถปรับใช้ในชีวิตได้จริง เป็นผลงานชิ้นโบแดงชิ้นหนึ่งของ โสภาค สุวรรณ

เนื้อเรื่องกล่าวถึงเรื่องราวทางอุดมการณ์ทางการเมืองโดยมีความรักของชายหญิงคู่หนึ่งเป็นตัวเดินเรื่อง คือ “เข้ม” และ “หนูตุ่น” เข้มเป็นนายร้อยตำรวจไฟแรงที่พร้อมจะทำงานเพื่อชาติและบ้านเมือง โดยไม่หวั่นเกรงต่อภัยอันตราย ส่วนหนูตุ่นเธอเป็นนักพัฒนาผู้มีความมุ่งมั่นและอุดมการณ์อันแรงกล้า เธอต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนชนบทให้อยู่ดีกินดีและมีความสุข ทั้งเข้มและหนูตุ่นได้ปฏิบัติหน้าที่ของตน ณ ตำบลปุลากง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ที่นี่เป็นจุดสำคัญของเรื่อง เป็นที่ที่เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นรวมทั้งความรักของทั้งสองคนก็ได้ก่อตัวขึ้น ณ ที่แห่งนี้ด้วย

ความสัมพันธ์ของทั้งเข้มและหนูตุ่นเริ่มต้นขึ้นนับจากวัยเยาว์จากความขัดแย้งไม่ชอบกัน แต่ด้วยความเหมือนกันตรงที่ทั้งคู่ต่างก็มุ่งมั่นและทำงานโดยยึดถืออุดมการณ์ที่มีต่อประเทศชาติและแผ่นดินรวมถึงการให้ความสำคัญกับความถูกต้องเหมือนกัน ด้วยหน้าที่การงานที่ทั้งคู่เลือกเป็นทางดำเนินชีวิตส่งผลให้เส้นทางชีวิตของทั้งสองคนโคจรมาพบกัน ณ ที่ห่างไกลจากเมืองหลวงอันเป็นบ้านเกิด มายังดินแดนที่ยังคุกรุ่นไปด้วยความขัดแย้งในความแตกต่างของอีกสังคมหนึ่งในประเทศ คือ ตำบลปุลากง ณ ที่นี้เองเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนทั้งคู่ส่งผลให้เกิดความใกล้ชิดสนิทสนมกันขณะอยู่ที่ปุลากง ในที่สุดสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็ทำให้คนทั้งสองเข้าใจกัน ผูกพันรักกันและสัญญาว่าจะเป็นคู่ชีวิตของกันและกันและพร้อมที่จะเดินเคียงข้างกันทั้งในชีวิตคู่และชีวิตที่เสียสละเพื่อส่วนรวมตลอดไป

คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 567151เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2014 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2014 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นเรื่องที่รักมากเช่นกัน...เด็กรุ่นนี้น่าจะได้อ่านอย่างยิ่ง....เพราะคำว่า "อุดมการณ์" เหลือน้อยลงในยุคสมัยนี้ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท