ครอบครัวข้ามชาติ


                                                                     ครอบครัวข้ามชาติ

  ในปัจจุบันนั้นการเดินทางข้ามประเทศจากประเทศหนึ่งสู่อีกประเทศหนึ่งนั้นสามารถทำได้ง่ายมากกว่าสมัยก่อน ซึ่งการเดินทางข้ามประเทศไม่ว่าจะเป็นการข้ามเข้าไปท่องเที่ยวหรือ เข้าไปทำงาน อาจทำให้เกิดความรักใคร่กันระหว่างคนที่มีสัญชาติต่างกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดการสมรสกันขึ้นและอยู่กินกันเป็นครอบครัว ซึ่งครอบครัวในลักษณะนี้ เป็นครอบครัวที่คู่สมรสต่างฝ่ายต่างเป็นคนละสัญชาติกัน จึงเรียกครอบครัวลักษณะนี้ว่าครอบครัวข้ามชาติ

  ในประเทศไทยเองพบครอบครัวเหล่านี้มากในบริเวณตามชายแดนของประเทศไทย ซึ่งส่วนมากจะไม่ได้ทำการสมรสตามกฎหมายไทยอย่างถูกต้อง มักจะมีลักษณะของการอยู่กินกันสามีภรรยาตามประเพณีทั่วไป เพราะการเข้าออกบริเวณชายแดนประเทศไทยกับประเทศใกล้เคียง เช่น เมียนม่า ลาว กัมพูชา หรือแม้กระทั่งเวียดนาม สามารถทำได้ง่าย มิได้มีการตรวจตราอย่างเข้มงวด ซึ่งเพราะการเข้าออกไปมาสามารถกระทำได้ง่าย ดังนั้นแล้วชาวบ้านที่ไม่ได้รู้กฎหมายจึงมักจะคิดว่า การเข้ามาอยู่กินสามีภรรยากันในประเทศไทยสามารถทำได้ทันที่โดยไม่ผิดกฎหมาย ทำให้ครอบครัวข้ามชาติในบริเวณชายแดนประเทศไทยมีอยู่มาก

  ปัญหาที่พบสำหรับครอบครัวข้ามชาติตามที่ข้าพเจ้าได้ศึกษานั้น มักจะมีปัญหาในเรื่องการรับรองสถานะบุคคล ของคนที่ข้ามชาตินั้น ซึ่งเมื่อเขาเข้ามาตั้งครอบครัวอยู่ในประเทศไทยแล้ว ตัวอย่างเช่น มีบิดา เป็นคนสัญไทย และมีมารดาเป็นคนสัญชาติเมียนม่า ต่อม่ได้ให้กำเนิดบุตรหนึ่งคน สิ่งที่เป็นปัญหาคือว่า เด็กที่คลอดออกมานั้นจะมีสัญชาติใด ซึ่งตามหลักเรื่องการพิจารณาสัญชาตินั้น ให้คำนึงถึงปัจจัย สองประการ คือ 

1.หลักสายโลหิต คือ บุตรจะได้มาซึ่งสัญชาติใดๆนั้น ให้ถือตามสายโลหิตของผู้ให้กำเนิด คือบิดา มารดา

2.หลักดินแดน คือการที่บุคคลได้มาซึ่งสัญชาติโดยการเกิดในประเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นคนสัญชาติใด หากกฏหมายสัญชาติประเทศนั้นรับรองการเกิด เด็กที่เกิดก็จะได้สัญชาติของประเทศนั้นโดยการแจ้งเกิดตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด โดยที่บิดามารดาไม่จำต้องถือสัญชาติของประเทศนั้นก็ได้

  ซึ่งในกรณีที่ยกตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่า เด็กคนดังกล่าวนั้น สามารถที่จะถือสองสัญชาติได้ คือ สัญชาติไทย ตามบิดาและถิ่นที่กำเนิด และสัญชาติเมียนม่าตามสัญชาติของมารดา ซึ่งประเทศไทยเองนั้นยอมรับการที่บุคคลคนหนึ่งจะสามารถที่จถือสองสัญชาติได้(บางประเทสไม่ยอมรับการถือสองสัญชาติ) การที่รับรองสัญชาติให้เด็กคนนี้แล้วทำให้เขาสามารถที่จะได้รับสิทธิต่างๆได้ตามที่กฎหมายไทยรับรอง และมีสิทธิที่จะได้รับการดูแล คุ้มครองสิทธิต่างๆ จากรัฐบาลไทย เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษา เป็นต้น 

  แต่ปัญหานั้นมีอยู่ว่าบางคนที่ประเทศไทยไม่ได้รับรองสัญชาติให้ ซึ่งทำให้ผู้ที่ไม่ได้ถูกรับรองสัญชาติจึงกลายเป็นคนไร้สัญชาติ และหากไม่มีเอกสารใดๆที่รัฐบาลไทยออกให้ หรือ รัฐบาลประเทศอื่นออกให้ ก็ถือได้ว่าเขาเป็นบุคคลไร้รัฐ ซึ่งหากเป็นกรณีเช่นนี้แล้ว การที่บุคคลผู้ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยจะได้รับสิทธิต่างๆอย่างคนไทยคงจะเป็นไปได้ยาก ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนแล้วแต่กระทบต่อหลักสิทธิมนุษยชน เพราะในฐานะที่เขาเป็นมนุษย์คนหนึงประเทศไทย อย่างน้อยจะต้องดูแล คุ้มครอง แลัส่งเสริมสิทธิตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล ซึ่งบุคคลเหล่านี้พบมากตามบริเวณตะเข็บชายแดนส่งผลให้เขาไม่สามารถที่จะตั้งครอบครัวได้อย่างถูกกฎหมายของไทย และปัญหาจะเกิดต่อมาคือ หากบุคคลเหล่านั้นให้กำเนิดบุตรแล้วบุตรจะมีสัญชาติใดหรือไม่อย่างใด ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากในครอบครัวข้ามชาติ หรือจะเป็นกรณีของการที่บุคคลคนหนึ่งตามความเป็นจริงสามารถที่จะถือได้สองสัญชาติแต่เพราะเหตุบางประการที่ทำให้เขาถือเพียงสัญชาติเดียวเท่านั้น

  ดังตัวอย่างการศึกษาครอบครัว เจดีย์ทอง ซึ่งสรุปใจความสำคัญของปัญหาแล้ว การที่นางสาวแพทริเซีย(คนมาเลเซีย) กลายเป็นบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติแล้ว เมื่อมาสร้างครอบครัวอยู่กับนายอาทิตย์ซึ่งมีสัญชาติไทย โดยที่นางสาวแพทริเซียกับนายอาทิตย์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน เมื่อบุตรทั้ง3คนเกิดมา ทุกคนได้รับการแจ้งเกิดและการอยู่ในทะเบียนราษฎรของรัฐไทย โดยนายอาทิตย์ซึ่งมีสัญชาติไทย แต่ทั้ง3คนไม่ได้รับการแจ้งเกิดในประเทศมาเลเซีย บุตรทั้ง3จึงมีสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยเท่านั้น ซึ่งตามหลักสัญชาติ แม้บุตรทั้ง3คนที่เกิดจากนายอาทิตย์กับนางสาวแพทริเซียซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่เมื่อเด็กเกิดในประเทศไทย และได้ทำการแจ้งเกิดและมีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎรของรัฐไทย จึงทำให้เด็กได้รับสัญชาติไทยตามหลักดินแดน และในขณะเดียวกันเด็กทั้ง3ก็ มีสิทธิได้รับสัญชาติมาเลเซียตามหลักสายโลหิต เนื่องจากมารดาเป็นคนสัญชาติมาเลเซีย แต่การจะได้รับสัญชาติมาเลเซียอาจต้องดำเนินการตามกฎหมายสัญชาติของมาเลเซียก่อน และจากข้อเท็จจริงนางสาวแพทริเซียไม่ได้เดินทางกลับประเทศมาเลเซียอีกเลย อีกทั้งก็ไม่ได้ดำเนินการติดต่อกับสถานทูตมาเลเซียในไทย จึงทำให้ในปัจจุบันบุตรทั้ง3มีเพียงสัญชาติไทยเท่านั้น ซึ่งทั้งที่จริงแล้วเด็กทั้งสามคนนั้นสามารถที่จะถือสัญชาติมาเลเซียได้ด้วย

    อ้างอิง

    1. http://www.l3nr.org/posts/535985.กรณีศึกษาครอบครัว...
    2. http://www.l3nr.org/posts/464789.สืบค้นเมื่อ28/4/57
หมายเลขบันทึก: 566954เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2014 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2014 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท