HR-LLB-TU-2556-TPC-ครอบครัวข้ามชาติ


ครอบครัวข้ามชาติ : ปัญหาสิทธิมนุษยชนของครอบครัวข้ามชาติ



(ที่มารูปภาพ : http://3.bp.blogspot.com/-SjlpgO8ExHo/Ua4qBCBT85I/...


          เนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว ข้าพเจ้าได้เขียนบทความในเรื่องมนุษย์ข้ามชาติ ซึ่งเป็นเรื่องของบุคคลที่ข้ามรัฐข้ามประเทศมาใช้ชีวิตในอีกรัฐอีกประเทศหนึ่งที่ไม่ใช่รัฐหรือประเทศที่เขาเคยอยู่ หรือเป็นบุตรหรือผลพวงจากการข้ามชาติของบิดามารดา ดังนั้น ครอบครัวข้ามชาติ ก็คือครอบครัวที่มีสมาชิกของครอบครัวคนใดคนหนึ่งเป็นมนุษย์ข้ามชาตินั้นเอง ในปัจจุบัน ครอบครัวข้ามชาติเป็นเรื่องปกติในสังคมไทย ไม่ว่าจะมีสามีหรือภรรยาเป็นชาวต่างชาติ หรือทั้งสามีและภรรยาเป็นชาวต่างชาติของรัฐที่ภรรยาได้ให้กำเนิดบุตร ปัญหาสิทธิมนุษยชนของครอบครัวข้ามชาติที่สำคัญๆที่อยู่สองปัญหาด้วยกัน คือปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติ ปัญหาสองสัญชาติ และปัญหาการเดินทางเข้าเมืองผิดกฎหมาย

          ปัญหาความไร้สัญชาติ (Nationalityless) ที่เกิดขึ้นแก่บุคคลธรรมดา ก็คือ สภาพที่บุคคลไม่มีสัญชาติของประเทศใดเลยในโลก กล่าวโดยหลักกฎหมายได้ว่า คนไร้สัญชาติมีสถานะเป็นคนต่างด้าวในทุกประเทศของโลก แต่ปัญหาไร้สัญชาติจะรุนแรงมากขึ้นหากบุคคลไม่ได้รับการยอมรับให้ “สิทธิอาศัย” โดยรัฐใดเลยในโลก โดยผลของกฎหมาย บุคคลในสถานการณ์นี้จึงตกเป็น“คนต่างด้าวผิดกฎหมาย” ในทุกประเภทของโลก บุคคลในลักษณะนี้จึงตกเป็น “คนไร้รัฐ” (Stateless) โดยสิ้นเชิง1

          ตัวอย่างของปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติเกิดขึ้นกับครอบครัวข้ามชาติครอบครัวหนึ่ง คือ ครอบครัวเจดีย์ทอง ครอบครัวเจดีย์ทองได้เริ่มต้นมาจากนายอาทิตย์ เจดีย์ทอง ชาวไทย และนางสาวแพทริเซีย ชาวมาเลเซีย เกิดพบรักกันขณะไปทำงานที่ไต้หวัน เมื่อต่างคนต่างกลับประเทศ แต่ด้วยความรัก นางสาวแพทริเซียได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพื่อมาเยี่ยมนายอาทิตย์และตัดสินใจอยู่กินกันฉันสามีภรรยากับนายอาทิตย์ที่ บ้านห้วยส้าน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จนมีบุตรสามคน แต่ละคนได้เกิดในประเทศไทย มีสัญชาติไทย และมีเลขประจำตัวประชาชน13หลักตามปกติ

          เมื่อนางสาวแพทริเซียตั้งใจอยู่กินกับนายอาทิตย์ฉันสามีภรรยา นางสาวแพทริเซียก็ไม่ได้สนใจว่าตนจะสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้นานเท่าใด นางสาวแพทริเซียจึงอยู่ในปรเะทศไทยเลยกำหนดที่ตนสามารถอยู่ได้ในการตรวจลงตราบนหนังสือเดินทาง

          นางสาวแพทริเซียต้องการจะอยู่ในประเทศไทยอย่างถาวร จึงไปแสดงตนกับเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นคนไร้รัฐ เมื่อนางสาวแพทริเซียได้เข้าไปแสดงตน เจ้าหน้าที่ก็ได้จัดการบันทึกให้นางสาวแพทริเซียเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน โดยใช้ชื่อ อัญชลี เจดีย์ทอง ทำให้นางสาวแพทริเซียมีสถานะ2สถานะคือ เป็นคนสัญชาติมาเลเซีย และเป็นบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน หรือเป็นบุคคลไร้รัฐนั่นเอง

          หากนางสาวแพทริเซียได้ถือสถานะเป็นคนไร้รัฐอยู่ในประเทศไทย ก็จะเกิดปัญหาสิทธิมนุษยชนขึ้น คือ ถ้านางสาวแพทริเซียถือสัญชาติมาเลเซีย ได้ขอวีซ่าคู่สมรสหรือ Spouse Visa และจดทะเบียนสมรส ก็จะเป็นครอบครัวข้ามชาติตามกฎหมาย สิทธิของนางสาวแพทริเซียก็จะมีมากกว่าตอนที่ตนถือสถานะเป็นบุคคลไร้สัญชาติ ดังนั้น ปัญหาสิทธิมนุษยชนของครอบครัวข้ามชาติครอบครัวนี้คือการเสียสิทธิบางประการของนางสาวแพทริเซียที่ถือสถานะไร้สัญชาติ แทนที่จะถือสัญชาติมาเลเซีย

          นอกจากนี้แล้ว บุตรของนางสาวแพทริเซียกับนายอาทิตย์ทั้ง3คน อาจได้รับสองสัญชาติได้คือ ได้รับสัญชาติไทย ผ่านดินแดนที่เกิด คือประเทศไทย และผ่านสายโลหิตคือบิดาซึ่งก็คือนายอาทิตย์ เป็นคนไทย และอาจได้รับสัญชาติมาเลเซียผ่านหลักสืบสายโลหิตทางมารดา ซึ่งก็คือ นางสาวแพทริเซีย หากนางสาวแพทริเซียถือสัญชาติมาเลเซีย บุตรทั้ง3คนอาจได้รับสัญชาติมาเลเซียด้วย ถ้าบุตรทั้งสามคนได้รับสัญชาติมาเลเซีย ก็จะสามารถได้รับสิทธิบางประการที่คนชาติมาเลเซียได้ เช่น การประกอบอาชีพบางประการหรือการซื้อที่ดิน ดังนั้น ปัญหาสิทธิมนุษยชนของครอบครัวข้ามชาติครอบครัวนี้อีกประการหนึ่งคือการบุตรทั้งสามคนอาจเสียสิทธิบางประการในการไม่ได้ถือสัญชาติสองสัญชาติ

          ปัญหาของครอบครัวข้ามชาติ นอกจากจะเป็นเรื่องความไร้รัฐไร้สัญชาติแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการเดินทางเข้าเมืองผิดกฎหมาย คือไม่ได้ใช้หนังสือเดินทางหรือผ่านการตรวจลงตราในการผ่านไปยังอีกประเทศหนึ่ง

          ตัวอย่างของปัญหาการเดินทางเข้าเมืองผิดกฎหมายเกิดขึ้นกับครอบครัวข้ามชาติครอบครัวหนึ่ง คือ ครอบครัว ฐานะรุ่งอุดม ครอบครัวฐานะรุ่งอุดมได้เริ่มต้นมาจาก นายวิเชียร ฐานะรุ่งอุดม เป็นคนสัญชาติไทย ชาติพันธุ์กระเหรี่ยง มีเลขประจำตัวประชาชน13 หลักตามปกติ และนางสาวมีนา มีสัญชาติเมียนมาร์ ชาติพันธุ์กระเหรี่ยง นางสาวมีนาเข้ามาในประเทศไทย มาประกอบอาชีพค้าขายผลไม้ที่เยาวราช โดยมี Oversea Worker Identification ออกโดยประเทศเมียนมาร์ มีใบอนุญาตทำงาน ออกโดยกรุงเทพมหานคร และ มีหนังสือเดินทางชั่วคราว ออกโดยประเทศเมียนมาร์ หากพิจารณาถึงการตรวจลงตรา พบว่านางสาวมีนามีวีซ่าเข้าประเทศไทย โดยผ่านการพิสูจน์สัญชาติเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังมีชื่อในทะเบียนแรงงานต่างด้าวอีกด้วย

          ขณะที่นางสาวมีนาได้มาทำงานที่เยาวราช นายวิเชียรกับนางสาวมีนาก็ได้พบรักกันและอยู่กินกันฉันสามีภรรยา ต่อมาทั้งสองคนตัดสินใจย้ายไปอยู่ที่บ้านก้อเชอ ประเทศเมียนมาร์ ซึ่งเป็นบ้านของนางสาวมีนา เมื่อนางสาวมีนาต้องการคลอดน้องแอ้สะโม่เคร นายวิเชียรได้พานางสาวมีนามาคลอดอำเภอฝาง จังหวัดตาก ทำให้น้องแอ้สะโม่เครมีสัญชาติไทย ตามหลักดินแดนคือ น้องเกิดในประเทศไทย และตามหลักสืบสายโลหิตคือบิดาซึ่งก็คือนายวิเชียรมีสัญชาติไทย

          แต่อย่างไรก็ตาม น้องแอ้สะโม่เครได้ไปอยู่กับบิดามารดาที่บ้านก้อเชอ ประเทศเมียนมาร์ ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอฝางเพียง20 นาที คุณพ่อวิเชียรกับน้องแอ้สะโม่เครได้เดินทางไปยังฝั่งประเทศเมียนมาร์ โดยไม่ได้ใช้หนังสือเดินทางหรือมีการตรวจลงตราแต่อย่างใด คุณพ่อวิเชียรกับน้องแอ้สะโม่เครจึงเดินทางเข้าประเทศเมียนมาร์โดยผิดกฎหมาย

          น้องแอ้สะโม่เครนั้น ทั้งที่อายุไม่ถึง1ขวบดี ก็มีปัญหาเรื่องการเข้าเมืองผิดกฎหมายเสียแล้ว ถ้าวันหนึ่งเกิดมีการตรวจพื้นที่ น้องแอ้สะโมเครก็อาจจะถูกจับได้ ทั้งนี้ ถ้าน้องแอ้สะโม่เครถือสองสัญชาติ คือสัญชาติไทยตามหลักดินแดนและหลักสืบสายโลหิตตามบิดา และสัญชาติ น้องก็จะไม่มีปัญหาในการเข้าประเทศเมียนมาร์ เพราะน้องแอ้สะโม่เครก็จะเป็นคนชาิ สามารถเข้าเมืองได้ เหมือนกับคุณแม่มีนาหรือบุคคลที่มีสัญชาติเมียนมาร์ทั่วไป

          จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า ปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติ ปัญหาสองสัญชาติ และปัญหาการเดินทางเข้าเมืองผิดกฎหมาย ยังคงเป็นปัญหาสิทธิมนุษยชนในครอบครัวข้ามชาติบางครอบครัว ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิบางประการได้ ประเทศไทยจึงควรให้ความช่วยเหลือเพื่อให้เขาได้รับสิทธิที่สมควรได้ต่อไป



จิดาภา รัตนนาคินทร์

28 เมษายน 2557



1 รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. 2547. ความเป็นคนไร้รัฐและคนไร้สัญชาติในประเทศไทย: คืออะไร ? และควรจัดการอย่างไร ?. แหล่งที่มา : http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t... 28 เมษายน 2557.

หมายเลขบันทึก: 566941เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2014 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2014 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สิ่งที่เรากังวลอีกอย่าง ก็คือ มีการบันทึกทางทะเบียนราษฎรเมียนม่าร์ให้แก่คุณมีนาและน้องแอ้สโม่เครอย่างสมบูรณ์แล้วยัง. ?  วันนี้ เราจะวิเคราะห์กันต่อนะคะ 

วันนี้ อ.เชอรี่แนะนำวิธีการเขียนบันทึกแล้วยังคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท