มนุษย์ที่ข้ามชาติ


         มนุษย์ที่ข้ามชาติ [1] หมายถึง บุคคลที่มีการกระทำในลักษณะที่ข้ามชาติ คือมีถิ่นที่อยู่หรือเคยอยู่อาศัยในประเทศหนึ่งอยู่แล้วแต่ได้มีการข้ามหรือเคลื่อนย้ายมายังอีกประเทศหนึ่ง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม บุคคลเหล่านี้ได้แก่ นักท่องเที่ยว แรงงานข้ามชาติ นักลงทุนข้ามชาติ นักศึกษาและผู้หนีภัยความตายเป็นต้น

          ชีวิตของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยเป็นชีวิตที่ยากลำาบาก พวกเขาเป็นกลุ่มแรงงานที่มีความเปราะบางต่อการถูกใช้ในการหาประโยชน์มากที่สุด ถึงแม้จะมีระบบการสรรหาที่อนุญาตให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างถูกกฎหมายแต่ระบบเหล่านี้กินเวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูง ผลก็คือแรงงานข้ามชาติจำานวนมากยังคงเข้ามาในประเทศไทยแบบไม่เป็นทางการและผิดกฎหมายโดยมีนายหน้าคอยช่วยเหลือดำเนินการให้ แรงงานข้ามชาติจำานวนไม่น้อยถูกควบคุมเหมือนทาสจากการเป็นหนี้นายหน้าและต้องทำางานชดใช้นายหน้าจนกว่าหนี้จะหมดแรงงานข้ามชาติบางรายไม่เคยได้รับค่าจ้างและถูกบังคับเหมือนทาส นี่เป็นเรื่องจริงบางส่วนของแรงงานบนเรือประมงซึ่งพวกเขาถูกกักขังไว้บนเรือเป็นเดือนๆ มีรายงานเกี่ยวกับแรงงานเหล่านี้ที่ถูกตีและถูกทำร้ายถือรวมถึงถูกฆาตกรรม

          หญิงแรงงานข้ามชาติเป็นกลุ่มเปราะบางต่อการถูกใช้หาประโยชน์และถูกทำาร้าย ประมาณร้อยละ 50 ของพวกเธอ ทำางานในกิจการประมงต่อเนื่อง เกษตรกรรม โรงงานเสื้อผ้า ก่อสร้างและรับจ้างทำงานบ้าน มีเอกสารจำานวนมากที่บันทึกกรณีของแรงงานข้ามชาติหญิงวัยสาวที่ถูกข่มขืนและล่วงละเมิดทางเพศโดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างการเดินทางเข้ามาทำางานในประเทศไทย กรณีที่แย่ที่สุดที่เกิดขึ้นคือแรงงานข้ามชาติหญิงบางคนถูกค้ามนุษย์โดยถูกขายไปเป็นพนักงานบริการในสถานบริการทางเพศและให้แรงงานข้ามชาติโดยทั่วไปหมายถึง บุคคลผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

          จากการสอบถามแรงงานข้ามชาติบางคนว่า ทำาไมต้องละทิ้งบ้านเกิดมาทำางานในประเทศไทย พวกเขาตอบเหมือนๆ กันว่า เพื่อหลีกหนีความยากจน ในพม่า ซึ่งประเทศถูกปกครองโดยรัฐบาลทหารเผด็จการมาเกือบครึ่งศตวรรษ และในช่วงสิบปีของการปิดประเทศทำาให้ประชาชนพม่ายังจมอยกับความยากจน และจำนวนมากต้องหลบหนีจากสงครามกลางเมืองที่ต่อเนื่องและรุนแรงตามชายแดนพม่า ในกัมพูชา เมื่อสิ้นสุดความขัดแย้ง มีประชากรเกิดขึ้นจำวนมาก ต่มีงานเพียงเล็กน้อย เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ชาวนาชาวกัมพูชาหมื่นคนถูกบังคับให้ออกจากที่ดินของตน ในขณะที่แถบชนบทยังคงถูกเพิกเฉยจากการพัฒนาและยังคงยากจน คนรุ่นใหม่จึงมีทางเลือกไม่มากนักในการหางานทำ

การจดทะเบียนแรงงาน [2]

          รัฐบาลไทยอนุญาตให้นายจ้างจดทะเบียนลูกจ้างที่เป็นแรงงานข้ามชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 เมื่อไม่นานมานี้ มีแรงงานข้ามชาติที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งได้รับหนังสือเดินทางชั่วคราวและสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2553 มีแรงงานข้ามชาติมาจดทะเบียนและมีใบอนุญาตทำางานไม่ถึง 1 ล้านคน ซึ่งน่าจะมีแรงงานจำานวนมากที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย นอกจากนี้เด็กลูกแรงงานข้ามชาติกว่าแสนคนที่ยังมีสถานะทางกฎหมายครุมเครือ มีหลายเหตุผลว่าทำาไมแรงงานข้ามชาติจึงไม่จดทะเบียน แรงงานฯที่มาจากประเทศพม่าบางส่วนหวาดกลัวเนื่องจากกระบวนการจดทะเบียนต้องให้พวกเขากลับประเทศซึ่งพวกเขาจะถูกก่อกวนและรีดไถจากกองกำาลังทหาร อีกหัวข้อหนึ่งที่เป็นการขัดขวางกระบวนการขออนุญาตทำางานคือการเชื่อมโยงใบอนุญาติทำงานกับนายจ้างของแรงงานข้ามชาติ เนื่องจากนายจ้างจ่ายค่าใบอนุญาติทำางานให้แก่แรงงานไปก่อน นายจ้างอาจต้องการยึดใบอนุญาติทำางานของแรงงานฯไว้เพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานฯหลบหนีแม้ว่าแรงงานฯจะถูกหักค่าใช้จ่ายเหล่านี้คืนนายจ้างจากเงินเดือนของตน ด้วยการยึดใบอนุญาติทำางานจากนายจ้าง แรงงานฯถูกบังคับให้ทำางานเกิน 10 ชั ่วโมงต่อวัน และบางทีมีวันหยุดเพียงวันเดียวในหนึ่งเดือน อีกทั้งนายจ้างจำานวนมากมักจ่ายค่าจ้างต่ำากว่าค่าแรงขั้นต่ำาตามกฎหมายละไม่จ่ายค่าล่วงเวลา ด้วยทางเลือกที่จำากัดระหว่างความสามารถในการเปลี่ยนนายจ้างหรือเป็นแรงงานเถื่อน แรงงานข้ามชาติเหล่านี้กลายเป็นนักโทษของระบบซึ่งแทนที่ระบบจะช่วยปกป้ องพวกเขา แต่ระบบกลับเปิดช่องให้แรงงานข้ามชาติถูกเอารัดเอาเปรียบแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนถูกตัดสินว่าเข้าเมืองผิดกฎหมายซึ่งบ่อยครั้งทำาให้เกิดความสับสนว่าไม่มีสิทธิใดๆเลย เจ้าหน้าที่รัฐ นายจ้าง รวมทั้งผู้รักษากฎหมายบางคนที่ไม่มีคุณธรรม ใช้วิธีการหาประโยชน์จากแรงงานฯกลุ่มนี้ โดยการคุกคาม รีดไถเงิน รวมถึงขู้ว่าจะจับขังคุกและส่งกลับประเทศ

          คือ " แม้ว่าในอดีต ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม ปี 1990 องค์การสหประชาชาติได้จัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ และครอบครัว ค.ศ.1990 (INTERNATIONAL CONVENTION ON THE PROTECTION OF THE RIGHTS OF ALL MIGRANT WORKERS AND MEMBERS OF THEIR FAMILIES 1990) ขึ้นมา เพื่อทำให้แรงงานข้ามชาติในประเทศต่างๆ ได้รับการคุ้มครองในฐานะที่เป็นมนุษย์ และการเป็นแรงงานที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกและ ประเทศต่างๆแต่ปัญหาหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยคือ นโยบายรัฐเป็นอุปสรรคสำคัญ และยังไม่เอื้อต่อการดำรงชีวิตต่อสภาพการทำงานของเขาเหล่านั้น ดังนั้น การรณรงค์ให้สังคมเกิดการรับรู้ เล็งเห็นถึงความสำคัญที่ต้องเคารพสิทธิ์ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การผลักดันต่อนโยบายรัฐให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ให้เห็นว่า ปรากฏการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น หากรัฐไม่ดำเนินการแก้ไข ผ่อนปรน ปรับเปลี่ยน อาจส่งต่อการบริหารจัดการด้านแรงงานในอนาคต ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญๆ ที่รัฐไทยต้องเข้ามากำหนดนโยบายและมาตรการ เช่น แรงงานข้ามชาติ จะทำอย่างไรให้เขาได้รับการคุ้มครองตามสิทธิประกันสังคมที่เป็นธรรม และเหมาะสม ตามสถิติที่พบจากสำนักงานประกันสังคม พบว่า แรงงานข้ามชาติที่มีใบอนุญาตทำงาน และมีหนังสือเดินทางมีจำนวนน้อยมากที่ผู้ประกอบการจะนำไปจดทะเบียนสู่ ระบบประกันสังคม และอีกส่วนหนึ่งคือแรงงานข้ามชาติที่น้อยมากที่ผู้ประกอบการจะนำไปจดทะ เบียนสู่ระบบประกันสังคม และอีกส่วนหนึ่งคือแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงาน ทุกคนมีความต้องการอยากได้เอกสารประจำตัว หนังสือเดินทางและใบอนุญาตทำงาน " ( คัดลอกจากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์,สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2556 , เข้าถึงได้จาก :http://www.ryt9.com/s/tpd/1555189 )

          ดังนั้นแม้ว่ารัฐไทยจะไม่สามารถควบคุมการเข้ามาของคนข้ามชาติที่จะกลายเป็นแรงงานข้ามชาติที่ผิดกฎหมายได้ทั้งหมด แต่รัฐก็ต้องดำเนินนโยบายให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน คือ ให้การยอมรับและจัดบริการทางสาธารณะที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานให้แก่แรงงานข้ามชาติทุกคน เสมือนเป็นคนในรัฐของตนเอง และดำเนินการตรวจสอบ อำนวยความสะดวก และขึ้นทะเบียนให้เขาเหล่านั้นเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับอย่างถูกกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของแรงงานเท่านั้น แต่หมายถึงความเจริญงอกงามของเรื่อง สิทธิมนุษยชน ในประเทศไทยของเรา

อ้างอิง

[1] “”เด็กข้ามชาติ ” มนุษย์ข้ามชาติที่มาจากหลากหลายสาเหตุ” (ออนไลน์).http://www.l3nr.org/posts/535656(สืบค้นวันที่28เมษายน2557)

[2]“ชีวิตที่ไร้ตัวตัน เรื่องราวชีวิตของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย.” (ออนไลน์).http://www.phamit.org/upload/public/file/b1345622012.pdf (สืบค้นวันที่28เมษายน2557)

หมายเลขบันทึก: 566935เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2014 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2014 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท