วิจัยและบทคัดย่อเกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย 1


โซเชียลมีเดียกับการศึกษาไทย Social media in Thailand education

บทคัดย่อ

           การใช้โซเชียลมีเดียในการจัดการเรียนรู้ เป็นการน าเครื่องมือที่มีอยู่บนระบบอินเตอร์เน็ต มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นสำหรับนักเรียน ทั้งยังเป็นการลดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ในการเรียนรู้ โดยเครื่องมือเหล่านี้อยู่บนพื้นฐานของยุคเว็บ 2.0 ที่นักเรียนและครูสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างรวดเร็วผ่านโซเชียลมีเดีย ก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งยังเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากประสบการณ์ตรงอีกด้วย ตัวอย่าง โซเชียลมีเดียที่ใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ Facebook, Twitter, Web Blog, Youtube และ Google Apps เป็นต้น โดยครูต้องเข้าใจคุณลักษณะของเครื่องมือแต่ละชนิด เพื่อวางแผนและเลือกใช้ได้ตรงกับความต้องการและสอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ นอกจากโซเชียลมีเดียจะเป็นเครื่องมือสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างมากในการจัดการศึกษาสมัยใหม่แล้ว ในทางกลับกันก็อาจเป็นภัยหากนักเรียนขาดวิจารณญาณในการใช้ ดังนั้นครูผู้สอนควรคำนึงถึงผลกระทบด้านลบที่จะเกิดขึ้นหากมีการจัดการและการควบคุมที่ไม่ดีพอ


Abstract

            Using Social Media in learning. The tool is available on the Internet to apply for benefits in Education to enhance the knowledge and skills necessary for the students. It also reduces the limitations of time and place of learning. These tools are based on the web 2.0 era, where students and teachers can interact with each other through social media which creates collaborative learning. It also creates new knowledge gained from direct experience as well. The Social Media as a tool for learning, including Facebook, Twitter, Web Blog, Youtube, Google Apps, etc. Teachers need to understand the features of each tool. Available to meet the needs and learning styles. Also, social media is an important tool and is very useful in the study of modern management. On the other hand, it could be a disaster if the student lacks judgment. Therefore, teachers should take into account the negative impact that would occur if the management and control is not good enough. Key words : Social media, Thai Education, Web 2.0

โดย : อาจารย์ภาควิชา เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร

ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ : http://www.flipbooksoft.com/upload/books/11-2013/72591ff00ad9d4168c1ca008085fa02f/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C_%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%98.pdf

สืบค้นเมื่อ : วันที่ 26 เมษายน 2557 เวลา 12.03 น.

หมายเลขบันทึก: 566870เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2014 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2014 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท