ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้วยหรือ


      ธุรกิจ(Business) [1]หมายถึง การกระทำหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ดำเนินงานเกี่ยวกับสถาบันการผลิต การจำหน่าย และการให้บริการ โดยกลุ่มบุคคลมีการกระทำร่วมกันเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ กำไร หรือรายได้ เป็นการตอบแทนการลงทุนด้วยทรัพย์สินและแรงงานในกิจกรรมนั้น การกระทำดังกล่าวอาจจะเสี่ยงต่อการขาดทุนด้วย ดังนั้น การประกอบธุรกิจผู้ประกอบการประสงค์ที่จะได้รับกำไรเป็นหลัก จึงค่อนไปทางที่มุ่งที่จะหาผลกำไรเพี่ยงอย่างเดียวดดยไม่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของบบุคคอื่นใในสังคม

การที่ผู้ประกอบการจะทำให้กิจการที่ตนกระทำมีกำไรมาก เป็นที่รู้จัก ผู้ประกอบการต้องมีการประชาสัมพันธ์กิจการของตนเองซึ่งการประชาสัมพันธ์สามารถกระทำได้หลายวิธี เช่น การสนับสนุนกองทุนต่างๆ เป็นต้น แต่วิธีที่ผู้ประกอบการเลือกที่จะกระทำเป็นหลักคือ การการโฆษณา ซึ่งการโฆษณา[2]หมายถึง การสื่อสารในรูปแบบใด ๆ ซึ่งเจตนาที่จะกระตุ้นผู้ที่มี ศักยภาพในการซื้อและการ ส่งเสริมในด้านการจำหน่ายสินค้าและบริการ รวมถึงการสร้างประชามติ การกระทำการ เพื่อก่อให้เกิดการสนับสนุนทางการเมือง การขาย ความคิดหรือการเสนอความคิดเห็น หรือสาเหตุต่างๆ และการ กระทำ เพื่อให้ประชาชนเห็นคล้อยตาม หรือปฏิบัติไปในทางที่ผู้โฆษณาประสงค์

ซึ่งการโฆษนาธรรมดานั้น ไม่อาจทำให้ธุรกิจของตนประสบผลสำเร็จได้เท่าที่ควร ดังนั้นผู้ประกกอบธุรกิจจึงได้คิดวิธีการที่เรียกว่าการ โฆษนาแฝงขึ้น ซึ่งการโฆษนาแฝง [3]คือการปรากฏของผลิตภัณฑ์ หรือตราสินค้าและบริการ เข้าไปในส่วนที่เป็นเนื้อหารายการ ไม่ว่าจะเป็นรายการข่าว ละคร สารคดี เพลง เกมโชว์ เรียลลิตี้ ฯลฯ ซึ่งอาจเป็นความตั้งใจของผู้ผลิตรายการและเจ้าของของสินค้า โดยอยู่ในรูปแบบได้ทั้งการตกลงเพื่อส่งเสริมการขาย หรือการจ่ายเงิน ผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ เพื่อผลทางธุรกิจ ทั้งนี้ โฆษณาแฝง จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการส่งข้อมูลสู่ผู้บริโภคฝ่านสื่อต่างๆ อย่างแนบเนียน เป้าหมายต่ำสุดคือให้ผู้บริโภค "มองเห็นสินค้า" ทั้งนี้ โฆษณาแฝงเกิดจากค่าใช้จ่ายในการโฆษณา (ตรง) สูง มีผูกขาดเวลาโฆษณาไปหมดแล้ว ดังนั้น ผู้ผลิตรายการจึงใช้ โฆษณาแฝงเป็นการเพิ่มอำนาจในการต่อรองกับเจ้าของสินค้า และเพิ่มรายได้ให้กับตนเองหรือสถานี ซึ่งเม็ดเงินจากโฆษณาแฝงส่วนใหญ่ไม่ถูกตรวจสอบ

ซึ่งการโฆษนาแฝงเป็นการกระทำ ที่ทำให้สินค้าหรือบริการต่างๆ เข้าถึงผู้บริโภคในขณะที่ผู้บริโภคไม่ทันรู้ตัว ซึ่งผลทางวิทยาศาสตร์[4]บอกว่าการที่ทำให้ผู้บริภคเห็นสินค้าซ้ำๆเยอะๆเป็นเวลานานจะเป็นการสะกดจิต อ่อนๆกับผู้บริโภคทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้าที่ผ่านตาของตนบ่อยๆมีคุณภาพและมีชื่อเสียง ถึงแม้สินค้าของผู้ประกอบการจะมีคุณภาพต่ำแต่ก็สามารถขายได้ในราคาที่สูงมาก โดยเหตุเพราะสินค้าของตนผ่านตาผู้บริโภคมาอย่างยาวนานทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าเป็นสินค้าที่คู่ควรกับการยอมเสียเงิน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการประกอบธุรกิจ นั้น ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ด้วยมิใช่คำนึงถึงแต่กำไรที่ตนพึงจะได้รับ


[1] ธุรกิจ(Business) http://krusuranart.com/index.php/2011-11-24-13-35-...

[2] การโฆษณา http://etcserv.pnru.ac.th/pcc/Newnat/ad1-2.html

[3] โฆษนาแฝง http://bcp.nbtc.go.th/knowledge/detail/303

[4] ผลทางวิทยาศาสตร์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1...

หมายเลขบันทึก: 566835เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2014 01:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 03:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท