ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้วยหรือ


           ในการทำธุรกิจสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ กำไร ซึ่งเป็นผลประโยชน์สูงสุดที่ผู้ประกอบการต้องการนำมาหมุนเวียนในธุรกิจของตน เพื่อตอบสนองความต้องการ การพัฒนา ของผู้ประกอบการ และในการที่ทำมักมิได้คำนึงถึงผลกระทบต่อบุคคลอื่น ที่เขาอาจเสียหายทั้งทางร่างกาย หรือ จิตใจ รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เป็นทุนอย่างหนึ่งในการประกอบธุรกิจได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากดังเห็นได้จาก

           กรณีเขื่อนไชยะบุรี ที่เป็นโครงการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าในแม่น้ำโขงมูลค่ากว่าแสนล้านบาทในลาว

บริษัทที่ลงทุนสร้างเขื่อนนี้ คือ บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งถือหุ้นโดย ช. การช่าง และบริษัทลูกของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยมีธนาคารของไทยอย่างน้อย 6 แห่งให้การสนับสนุนเงินกู้และการค้ำประกันโดยมีการกั้นแม่น้ำโขงทางด้านทิศใต้ของเมืองหลวงพระบางประมาณ 80 กิโลเมตร ในประเทศ สปป.ลาว แต่ในโครงการนี้ได้รับการคัดค้านจากชาวบ้านเป็นจำนวนมากเพราะได้รับผลกระทบ ซึ่งจากการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ของโครงการเขื่อนบนแม่น้ำโขง 12 เขื่อนŽโดย

1)ผลของการปิด-เปิดเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าในแต่ละวัน จะทำให้เกิดความผันผวนของระดับน้ำโขง ส่งผลให้ช่วงรอยต่อของฤดูกาลตามระบบนิเวศจะสูญเสียไปอย่างสิ้นเชิง

2) การเปลี่ยนแปลงต่อการขนถ่ายตะกอนในทุกขนาด

3) การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของวังน้ำลึกทั้งด้านเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน

4) การเปลี่ยนต่อการขนถ่ายอินทรีย์สารต่างๆ

5) การเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจย้อนคืนได้ของการอพยพและเส้นทางอพยพของปลา

6) การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับแรงของน้ำจะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ประโยชน์ของแม่น้ำ เช่น ความเสียหายต่อการเดินเรือ และโอกาสในการจับปลา

7) การออกแบบการระบายตะกอนและทราย เป็นไปในทางเพื่อป้องกันความเสียหายต่อระบบกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และการรักษาอายุใช้งานของเขื่อนไม่ให้เกิดการสะสมตะกอนในอ่างเก็บน้ำของเขื่อน หาได้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศหรือสิ่งแวดล้อมดังที่กล่าวอ้างแต่ประการใด

8) การออกแบบให้มีการระบายตะกอนทรายในช่วงฤดูแล้งในอัตรา 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีเป็นเวลา 6 ชั่วโมงต่อวัน จะยิ่งส่งผลกระทบต่อปลาแม่น้ำโขงและระบบนิเวศท้ายน้ำ เพราะเป็นการระบายตะกอนที่เน่าหมักหมม ออกมาจากเขื่อนในปริมาณมากเช่นนี้ จะเป็นการทำลายออกซิเจนในน้ำโขงด้านท้ายเขื่อน และส่งผลกระทบต่อปลาในแม่น้ำโขงอย่างรุนแรง

              แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการไม่คำนึงถึงชีวิต ความเป็นอยู่ชองชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านต่างก็มีสิทธิ เสรีภาพ ที่จะแสดงความคิดเห็น โต้ตอบ เสนอแนะแนวทางต่างๆ แสดงความต้องการของตน ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานที่พวกเขามีและสามารถอ้างได้ เพราะพวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นก่อน และ ครอบครองได้สุจริต มีสิทธิ์ หากการทำธุรกิจส่งผลกระทบต่อพวกเขาต่อการประกอบอาชีพ ที่หล่อเลี้ยงตนเอง ไม่สามารถกระทำได้อย่างปกติสุข พวกเขามีสิทธิ์ มีเสียงที่จะคัดค้าน และ แสดงความต้องการ ของตน หากธุรกิจนั้นไม่ได้สร้างความเจริญต่อทั้งชุมชน ชาวบ้าน หรือ ประเทศชาติ หรือ มีการพัฒนา สร้างความเจริญ แต่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีมากว่า การพัฒนา หรือ ความเจริญที่กำลังมาถึง อย่างเช่น เขื่อนไชยะบุรี และ ในข้อเท็จจริง ไม่ปรากฏว่าได้ทำการประเมินผลกระทบ“ข้ามพรมแดน” ในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพ อีกทั้งยังไม่ผ่านกระบวนการรับฟังความเห็น หรือได้รับฉันทามติจากประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขงตอนล่างอย่างที่ควรจะเป็น ทำให้การสร้างเขื่อนนี้อาจไม่โปร่งใส ในการประกอบการ ซึ่งพวกเราควรตระหนักถึงผลเสียที่กำลังจะเกิดขึ้น หากปล่อยไว้จะทำให้ระบบนิเวศที่สมบูรณ์เช่นนี้ถูกทำลาย และ คนจำนวนมากไม่มีทางทำมาหากิน .ซึ่งรัฐและเอกชนควรทบทวนให้ดีถึงผลได้ผลเสียที่กำลังจะเกิดอย่างถี่ถ้วนโดยทำธุรกิจพร้อมทั้งศึกษาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

อ้างอิง

บทเรียนที่ยังไม่จบของเขื่อไชยะบุรี,สฤณี อาชวานันทกุล ค้นเมื่อ 26 เมษายน 2014

 แหล่งที่มา:http://thaipublica.org/2013/04/xayaburi-and-equato...

เขื่อนไซยะบุรี ผลประโยชน์ของคนไม่กี่กลุ่ม หายนะของคนลุ่มน้ำโขง,รัฐวิทย์ เรืองประโคน ค้นเมื่อ 26เมษายน2014

แหล่งที่มา:http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID...

หมายเลขบันทึก: 566830เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2014 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 04:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท