กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


   การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคม จะเกิดเป็นปัญหาต่างๆขัดแย้งกันมากมาย ทำให้บุคคลในสังคมต่างก็ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน จากผู้ที่กำลัแข็งแรงกว่า ดังนั้นจึงต้องมีเครื่องมือเพื่อคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ กฏหมาย แต่อย่างไรก็ดี บทบัญญัติบางอย่างของกฏหมายมีลักษณะทีขัดต่อสิทธิมนุษยชน เป็นผลทำให้สิทธิมนุษยชนที่ควรจะได้รับการคุ้มครองกลับยิ่งลดน้อยถอยลงไปอีก

ซึ่งสิทธิมนุษยชน เป็นสิ่งที่ติตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด โดยไม่คำนึงถึง เพศ สัญชาติ เชื้อชาติ หรือ แหล่งที่มาฐานะใดๆ ดังนั้นเมื่อ มนุษย์มีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่อาศัย ได้รับการปกปอง เลี้ยงดู จากผู้ปกครองจากรัฐ หากมนุษย์ไม่ต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ก็ทำการฆ่าตัวตายเสีย แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าหากมนุษย์ผู้นั้นไม่สามารถทำการฆ่าตัวตายได้อันเกิดจากการ เจ็บป่วย หรือ ไม่มีความสามารถ บุคคลนั้นมีสิทธิยินยอมให้บุคคลอื่นทำการฆ่าตนเองหรือที่เรียกว่าการุณยฆาต Mercy killing หรือไม่?? ซึ่งกฏหมายไทยไม่ยอมรับการกระทำเช่นว่านี้เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ของผู้ที่ต้องการฆ่าตัวตายหรือไม่

การุณยฆาต [1]หมายถึง การกระทํา หรืองดเว้นการกระทำอยางหนึ่งอยางใด เพื่อใหบุคคลที่ตกอยู่ในสภาวะน่าเวทนา เดือดรอนแสนสาหัส เนื่องจากสภาวะทางรางกาย หรือจิตใจไมปกติ ขาดการรับรูเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น ทําการรักษาใหหายไมได ดำรงชีวิตอยู่ต่อไป ก็มีแต่จะสิ้นสภาพความเป็นมนุษย์ การจบชีวิตลงทำขึ้นเพื่อใหพนจากความทุกขทรมาน รักษาศักดิ์ศรีความเปนมนุษย และจํากัดความสูญเปลาทางเศรษฐกิจ สรุปอยางงายคือ การทําให้ผู้ป่วยตายดวยเจตนาที่แฝงดวยเจตนาดี ทําลงไปดวยความกรุณา เพื่อใหผูป่วยพ้นจากความทุกขทรมาน

การุณยฆาต มีอยูสองประเภทคือ

1. การช่วยใหผูปวยที่สิ้นหวังตายอยางสงบ (active euthanasia) คือ การที่แพทยฉีดยา ใหยา หรือกระทําโดยวิธีอื่นๆ ใหผูปวยตายโดยตรง การยุติการใช้เครื่องชวยหายใจ ก็จัดอยูในประเภทนี้ดวย การกระทำการุณยฆาตเช่นนี้เรียกอีกแบบหนึ่งว่า Mercy Killing ตัวอย่างของประเทศที่สามารถใช้วิธินี้ได้คือประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เดนมาร์ก ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส สิงคโปร์

2. การปลอยใหผูปวยที่สิ้นหวังตายอยางสงบ (passive euthanasia) คือ การที่แพทย์ไมสั่งการรักษา หรือยกเลิกการรักษาที่จะยืดชีวิตผู้ปวยที่สิ้นหวัง แต่ยังคงให้การดูแลรักษาทั่วไป เพื่อช่วยลดความทุกข์ทรมานของผูป่วยลง จนกวาจะเสียชีวิตไปเอง

เมื่อพิจารณาจากพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ[2]มาตรา12 บัญญัติไว้ว่า

บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติความทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการนั้นเป็นความผิดแล้วพ้นจากความผิดทั้งปวง

มาตรา 3 บัญญัติว่า ในพระราชบัญญัตินี้

“บริการสาธารณสุข” หมายความว่า บริการต่างๆอันเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ การตรวจวินิจฉัยและบำบัดสภาวะความเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคคล รอบครัวและชุมชน

“ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข”หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

หากพิจารณามาตรา12และมาตรา 3จะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้ยอมรับการทำการุณยฆาตโดยการตัดการรักษา (Passive Euthanasia) ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยนั้นมีสิทธิที่จะเลือกว่าตนต้องการที่จะได้รับการบริการสาธารณสุขที่ยืดชีวิตของตนหรือไม่ เช่น ประสงค์จะไม่ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น แต่ประเทศไทยไม่ยอมรับการทำการุณยฆาตโดยการเร่งให้ตาย (Active Euthanasia) ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์คนหนึ่งหมดหวังกับชีวิตและได้รับความทุกข์ทรมานจากการเป็นโรคนั้น จะร้องขอให้แพทย์ผู้รักษาฉีดยาให้ตนตายและจากไปอย่างสงบไม่ได้ และถ้าแพทย์ผู้นั้นได้กระทำลงแพทย์ผู้นั้นย่อมได้รับโทษทางอาญา [3]

ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า เมือประเทศไทยได้ยอมรับการกระทำการุณยฆาต (Mercy Killing)โดยการตัดการรักษาเพียงอย่างเดียวนั้น เป็นการกระทำที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชน เนื่องจากเหตุที่มนุษย์ผู้นนั้นไม่ต้องการที่จะมีชีวิตต่อนั้นเกิดจากความทรมานอย่างแสนสาหัต ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะรักษาให้หายเป็นปรกติได้ การที่ตนไม่ประสงค์ที่จะมีชีวิตต่อไปจึงควรเป็นทางเลือกของบุคคลนั้น การที่กำหนดโทษทางอาญากับ บุคคลที่จะกระทำการการุณยฆาต จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนของผู้ป่วย หรือ ผู้บาดเจ็บ ถึงแม้ไม่ได้บัญญัติเป็นโทษแก ผู้ที่ไม่ประสงค์ที่จะมีชีวิตอยู่็ตาม


[1] การุณยฆาต คือ http://meded.kku.ac.th/medednew/b_a_l/08_08_50_2.p...

[2] พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ http://www.moph.go.th/hot/national_health_50.pdf

[3] http://www.l3nr.org/posts/257523

หมายเลขบันทึก: 566789เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2014 01:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 03:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท