ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


         ปัญหาสิทธิมนุษยชนดูเหมือนจะเป็นปัญหาเรื้อรังที่แก้ไขได้ยาก คนส่วนใหญ่มิได้ให้ความสำคัญมากนัก เพราะเมื่อไม่เกี่ยวข้องกับชีวิต ความเป็นอยู่ของตนเอง จึงไม่ใคร่สนใจที่จะแก้ปัญหา โดยเฉพาะประเทศไทย ที่ในปัจจุบันได้มีผู้อพยพชาวโรฮิงญาจำนวนมากหลบหนีเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมาย โดยจากข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง ระบุว่าชาวโรฮิงญา เริ่มอพยพเข้าประเทศไทยทางด้านจังหวัดระนองครั้งแรกเมื่อปี 2548 แต่ยังไม่มีการบันทึกสถิติไว้ต่อมาในปี 2549 มีการจับกุมได้ 1,225 คนปี 2550 จับกุม 2,763 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2549 คิดเป็น 125%และในปี 2551 จับกุม 4,886 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2550คิดเป็น 77% แสดงให้เห็นว่ามีผู้อพยพหลบหนีเข้ามาเป็นจำนวนมาก และยังคงเข้ามาอีกเรื่อยๆ ดังนั้นปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาที่เราจะมองข้ามไปแต่ต้องแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน

          ชาวโรฮิงญาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเชื้อสายบังกลาเทศ แต่อาศัยอยู่ในประเทศพม่า นับถือศาสนาอิสลามอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของพม่า มีถิ่นฐานอยู่ในบริเวณรัฐอะระกัน ในอดีตบริเวณนี้เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมอาหรับที่เดินทางค้าขายมาตั้งแต่โบราณ ชาวโรฮิงยามีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกับชาวเอเชียใต้โดยเฉพาะชาวเบงกอล บางส่วนสืบเชื้อสายมาจากชาวอาหรับ เปอร์เซีย และปาทาน ที่อพยพมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโมกุล[1] การที่ชาวโรฮิงญาได้มาอยู่อาศัยในเขตประเทศพม่าทั้งๆที่ตัวเองมีเชื้อสายแขกเบงกอลนั้นเป็นเพราะการล่าอาณานิคม ซึ่งในขณะนั้นอังฤษได้ยึดครองแล้วแบ่งเขตดินแดน แยกคนให้เป็นเขตของประเทศพม่า จนทำให้เกิดปัญหามากมายจนถึงทุกวันนี้ เพราะ ชาวพม่าไม่ยอมรับและเกลียดชังชาวโรฮิงญา เช่น เหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2491 กองทหารพม่าออกปฏิบัติการกวาดล้างพวกนี้ เผาหมู่บ้านหลายร้อยแห่งและกวาดล้างฆ่าชาวโรฮิงญาอีกเป็นจำนวนมาก ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมหาศาลอพยพหนีไปยังบริเวณที่เป็นปากีสถานในขณะนั้น

          ใดยรัฐบาลเผด็จการทหารพม่ามอง ชาวโรฮิงญาเป็นประชาชนที่ "ลี้ภัยอย่างผิดกฎหมาย"และอพยพมากจากประเทศบังกลาเทศในสมัยที่พม่าตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของจักรวรรดินิยมอังกฤษ ดังนั้นด้วยทัศนคติเช่นนี้ของรัฐบาลเผด็จการพม่าทำให้ประชาชนชาวโรฮิงญาไม่ได้รับการรวมเข้าไปในกลุ่มชนพื้นเมือง ในรัฐธรรมนูญพม่า ส่งผลให้ไม่ได้รับสัญชาติพม่า และถูกปฏิบัติเช่น คนต่างด้าว ไม่มีสิทธิ์เช่นเดียวกับชาวพม่า จนทำให้ชาวโรฮิงญาหลบหนีเข้ามาในประเทศไทยเพื่อหนีภัยความตาย

          สำหรับประเทศไทยเมื่อมีชาวโรฮิงญาอพยพมามากขึ้นเรื่อยๆ และถูกจับกุมไว้นั้นในค่ายกักกันนั้น ไม่ได้ให้การดูแลที่ดี อีกทั้งไม่ยอมให้ออกจากค่ายกักกัน เด็กไม่ได้รับการศึกษา การใช้ชีวิตในค่ายอยู่อย่าแออัด อาหารการกินไม่เพียงพอ การทำพิธีตามหลักศาสนาอิสลามไม่ได้สะดวก จนทำให้มีการหนีออกจากค่าย และ ชาวโรฮิงญาเมื่อหนีออกมามีสภาพเป็นคนหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย เมื่อมีสถานะที่ผิดกฎหมายจึงไม่สามารถทำงานหาเงินเพื่อเลี้ยงชีวิตได้อย่างปกติสุขนัก อีกทั้งพวกเขาไม่ได้มีการศึกษาสูงเพราะถูกกดขี่มาจากรัฐบาลพม่า จึงมีเพียงการใช้แรงงานที่สามารถหาเงินเลี้ยงชีพได้ โดยหลักชาวโรฮิงญาจะใช้แรงงานในเรือประมง เป็นลูกเรือประมง แต่มักถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างเป็นอย่างมาก และที่แย่ไปกว่านั้นชาวโรฮิงญาถูกค้ามนุษย์ มีการใช้แรงงานเยี่ยงทาส ไม่มีสิทธิ เสรีภาพ เช่นมนุษย์ทั่วไป ถูกกักขัง สามารถออกจากที่กักขังต่อเมื่อทำงานเท่านั้น เป็นต้น

         สำหรับการแก้ปัญหาเบื้องต้นนั้น “นายมอง จอ นุ” ประธานสมาคมโรฮิงญาแห่งประเทศไทยพร้อมคณะกรรมการสมาคมได้เข้าพบ นาย อาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรีพร้อมข้อเสนอ 5 ข้อผ่านจุฬาราชมนตรีไปยังรัฐบาลไทย ในการดูแลชาวโรฮิงญา ซึ่งประกอบไปด้วย

1 .อย่าส่งชาวโรฮิงญาที่ถูกจับกลับประเทศพม่า

2. ให้จัดสถานที่สำหรับดูแลชาวโรฮิงญารวมไว้ในที่เดียวกันเพื่อความเป็นอิสระและสะดวกต่อการประกอบศาสนกิจ อย่าควบคุมไว้ในห้องขัง

3.ให้รัฐบาลไทยประสานองค์การสหประชาชาติ หรือ UN ให้รับรองชาวโรฮิงญาให้อยู่ในข่ายของผู้ลี้ภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้อยู่ในประเทศไทยได้ก่อนที่จะถูกผลักดันไปยังประเทศที่สาม

4.ให้อาเซียนและนานาประเทศกดดันพม่าให้ปฏิรูปการเมืองและปฏิบัติต่อชาวโรฮิงญาด้วยมนุษยธรรม

5.หากพม่าไม่ยอมรับข้อเสนอให้จัดกองกำลังนานาชาติเข้าไปคุ้มครองดูแลชาวพม่าในพม่าเพื่อความปลอดภัย[2]

         ซึ่งทางประเทศไทยยังมิได้จัดส่งผู้อพยพไปยังประเทศโลกที่สาม ทั้งยังดูแลชาวโรฮิงญาแบบตามมีตามเกิด ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทั้งชาวโรฮิงญาเอง และ ชาวบ้านในจังหวัดที่ชาวโรฮิงญาหลบหนีเข้าไป เช่น ปัญหาอาชญากรรม เป็นต้น ซึ่งจากข้อเรียกร้องของชาวโรฮิงญา ประเทศไทยควรดูแลชาวโรฮิงญาให้ได้มาตรฐาน มีการแบ่งสัดส่วนจัดสรร มีการสำรวจประชากร และ ดูแลอย่างได้มาตรฐาน ควรให้สิทธิ์ในการทำงานเลี้ยงชีพ ให้การศึกษา สาธารณสุขแก่พวกเขา ไม่ปิดกั้นการทำศาสนกิจ และควรมีการประสานกับประเทศพม่าเกี่ยวกับปัญหานี้ด้วย เพราะประเทศต้นทางเป็นประเทศพม่า ซึ่งกำลังพัฒนาไปสู่ระบอบประชิปไตย ซึ่งมีแนวโน้มที่จะดูแลและรับรองชาวโรฮิงญาได้ดีกว่าเดิม สำหรับการลึ้ภัยไปยังประเทศที่สามนั้นควรทำความเข้าใจกับประชาคมโลก เมื่อชาวโรฮิญานับถือศาสนาอิสลาม ประเทศโลกที่สามก็ควรเป็นประเทศที่นับถือศาสนาเดียวกัน เช่น ซาอุดิอาระเบีย หรือ สาธารณรัฐอาหรับอิมีเรตส์ ที่มีการพัฒนาเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ควรให้อาเซียนรับรู้ถึงปัญหาและเสนอทางออกของปัญหาด้วย

อ้างอิง

[1]CV TEAM,โรฮิงญา คนไร้ถิ่นที่มีราก เปิดมุมมอง ด้วยความเข้าใจ ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2014

แหล่งที่มา:http://www.cityvariety.com/cityscoop-8587.html

[2]โรฮิงญา ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2014

<p>แหล่งที่มา:http://www.publicpostonline.com/main/content.php?p..</p><p>ประวัติชาวโรฮิงญา,ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2014 แหล่งที่มา:http://www.tacdb-burmese.org/web/index.php?option=….<p>http://www.naewna.com/politic/columnist/6795</p>

หมายเลขบันทึก: 566654เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2014 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท