อำนาจหน้าที่ของพนักงานคุมประพฤติ ของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนตามมาตรา ๔๗


มาตรา ๔๗ ให้พนักงานคุมประพฤติมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายอื่น
และโดยเฉพาะให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) สืบเสาะและพินิจข้อเท็จจริงและสิ่งแวดล้อมตามมาตรา ๓๖ (๑) เกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนซึ่งเป็นผู้ต้องหาและบุคคลอื่น

(๒) คุมความประพฤติเด็กหรือเยาวชนตามคำสั่งศาล ตลอดจนดูแลอบรมสั่งสอนเด็กหรือเยาวชน
ซึ่งอยู่ระหว่างคุมประพฤติ

(๓) สอดส่องให้เด็กหรือเยาวชนปฏิบัติตามเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติตามที่ศาลกำหนด

(๔) ให้คำแนะนำแก่บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยในเรื่อง
การเลี้ยงดู อบรม และสั่งสอนเด็กหรือเยาวชน

(๕) ประมวลและรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เยาว์ ในกรณีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวจะต้องบังคับใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในคดีแพ่งที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสีย เพื่อรายงานต่อศาลตามที่ผู้อำนวยการสถานพินิจมอบหมาย

(๖) ทำรายงานและความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม (๑) และ (๕) เพื่อเสนอต่อศาลตามที่ผู้อำนวยการสถานพินิจมอบหมาย

(๗) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ศาลสั่งเกี่ยวกับคดีเยาวชนและครอบครัวหรือที่ผู้อำนวยการสถานพินิจมอบหมาย ”

อ้างอิงจาก แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานคดีอาญาสำหรับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน                                   โดยนางวิมัย   ศรีจันทรา   ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนและกลุ่มพัฒนาระบบงานคดี                                      สำนักพัฒนาระบบงานยุติธรรมเด็กและเยาวชน

หมายเลขบันทึก: 566494เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2014 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2014 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท