กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นกติการะหว่างประเทศ ที่มีผลทางกฎหมาย และสหประชาชาติมีมติรับรอง โดยบรรดาประเทศที่ให้สัตยาบัน หรือรับรองกติการะหว่างประเทศดังกล่าว จะต้องปฏิบัติตามข้อกติการะหว่างประเทศนั้นด้วย ทั้งนี้ เพราะกติการะหว่างประเทศมีข้อผูกพันทางกฎหมาย ประเทศที่เป็นภาคีในกติการะหว่างประเทศมีข้อผูกพันที่จะต้องเคารพและปฏิบัติตามเงื่อนไขของกติการะหว่างประเทศ และรวมไปถึงต้องส่งรายงานการปฏิบัติตามกติการะหว่างประเทศให้แก่สหประชาชาติเป็นประจำด้วย เมื่อกติการะหว่างประเทศทั้งสองฉบับมีผลในการบังคับใช้ใน ค.ศ. 1976 ประเทศต่าง ๆ ได้เข้าเป็นภาคี จนปัจจุบันนับได้ 134 ประเทศ[1] โดยทั้งนี้ มีตราสารระหว่างประเทศ ที่พัฒนามาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนทั้งสิ้น 9 ฉบับ ได้แก่

(1) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR)  

(2) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights-ICESCR)

(3) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบต่อสตรี (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women-CEDAW)  

(4) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child-CRC)  

(5) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-CERD)

(6) อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย  ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment- CAT)

(7)  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD)

(8)  อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (Convention on the Protection of All Persons from Enforced Disappearance - CED)

(9)  อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว (Convention on the Protection of the Rights of Migrants Workers and Member of their Families MWC)

โดยในปัจจุบันนั้น ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีตราสารระหว่างประเทศหลักเหล่านี้แล้วทั้งสิ้น 7 ฉบับ  ส่วนอนุสัญญาอีกสองฉบับที่ไทยยังไม่ได้เป็นภาคีคือ อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว [2]  ทั้งนี้การที่ประเทศไทย มิได้ลงนามเป็นภาคีในตราสารระหว่างประเทศดังกล่าว ก็เนื่องมาจากเหตุผลบางประการอันจะเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ

 

เมื่อเราได้ทำความเข้าใจถึงประเภทของตราสารระหว่างประเทศ ในส่วนของที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนแล้ว ณ ที่นี้ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังคมไทย และมีกรณีศึกษา ที่เป็นประเด็นปัญหาว่า จะละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่  โดยจะกล่าวถึงในกรณีที่ผู้สมัครสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา ที่มีร่างกายพิการเป็นโปลิโอ  ได้ไปสมัครทดสอบความรู้เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษา  แต่ คณะกรรมการตุลการศาลยุติธรรม ได้พิจารณาคุณสมบัติแล้วมีมติไม่รับ โดยอ้างว่า ผู้สมัครสอบรายนี้ มีสภาพร่างกายและจิตใจไม่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการตุลาการ  ตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.  2543

โดยในกรณีดังกล่าว ก็มีนักวิชาการให้ความเห็นต่างกันออกไป ซึ่งหากพิจารณาจาก พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.  2543มาตรา 26 วรรคหนึ่ง (10) ได้กำหนดไว้ว่า ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิต ฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตุลาการหรือ เป็นโรคที่ระบุไว้ในระเบียบ จึงเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า ความพิการในลักษณะใด จึงจะถึงขนาดไม่เหมาะสม ที่จะเป็นข้าราชการตุลาการ

หากจะกล่าวถึง กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ โดย ณ ที่นี้ ผู้เขียนจะขอยกเพียงแต่เฉพาะสาระสำคัญ ที่มีความเกี่ยวข้อง และมีประเด็นปัญหาว่า กรณีศึกษาดังกล่าว จะขัดต่อ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ที่ประเทศไทยได้ลงนามเป็นภาคีหรือไม่ โดยมีสาระสำคัญดังนี้

เคารพศักดิ์ศรีที่มีมาแต่กำเนิด การอยู่ได้ด้วยตนเองเสรีภาพในการตัดสินใจด้วยตนเอง และความเป็นอิสระของบุคคล ไม่เลือกปฏิบัติต่อคนพิการ      การมีส่วนร่วม การเข้าร่วมของคนพิการได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพในสังคม
เคารพความแตกต่าง ยอมรับคนพิการว่าเป็นส่วนหนึ่งของความแตกต่างของมนุษยชาติและความเป็นมนุษย์
ความเทียมของโอกาส    การเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้สิทธิความเท่าเทียม และการไม่เลือกปฏิบัติสิทธิที่จะได้รับการเคารพต่อศักดิ์ศรี ทางร่างกาย และจิตใจสิทธิด้านการทำงาน

นอกจากนี้กฎหมายไทยที่สอดคล้องกับอนุสัญญา CRPD
·       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
·       พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2)พ.ศ.2545
·       พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
·       พรบ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2)พ.ศ.2550
·       พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550
·       พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
·       พรบ.การจัดการศึกษาสำรับคนพิการ พ.ศ.2551[3]

เมื่อพิจารณาจากกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง กับกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย แม้ในปัจจุบัน จะยังมีนักวิชาการ หรือบุคคลอื่นๆ มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน บ้างก็ว่า มีบุคลิกภาพไม่เหมาะสม หรืออีกฝ่ายหนึ่ง ก็เห็นว่าขัดต่อสิทธิมนุษยชน และถึงแม้จะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีดังกล่าวแล้วก็ตามว่า เป็นการกระทำที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชน[4] ซึ่งในส่วนตัวผู้เขียนเองนั้น ในเฉพาะแต่ในกรณีปัญหาดังกล่าว ตัวผู้เขียนเห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาล ว่าการที่มีความพิการทางกาย คือเป็นโปลิโอ มิได้กระทบต่อการปฏิบัติงานของผู้พิพากษาแต่อย่างใด ผู้ป่วยพิการด้วยโรคดังกล่าว ยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความรู้ ความสามารถที่ตนมี การที่กต. เห็นว่าผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าว มีบุคลิกภาพไม่เหมาะสม ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการตีความกฎหมายที่ไม่ถูกต้องเท่าใดนัก ทั้งยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทย ลงนามเป็นภาคี และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาจักรไทย

 

 

 

 

 

 

[1] http://www.l3nr.org/posts/365030

[2] http://www.mfa.go.th/humanrights/human-rights-conventions

[3] http://www.braille-cet.in.th/Braille-new/?q=news-1286

[4] http://sdulaw.dusit.ac.th/newsletter/article_file/17257c93e6249fc7d3f4b2d12f8088e2.pdf

หมายเลขบันทึก: 566474เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2014 00:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 เมษายน 2014 00:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท