ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


  ปัญหาสิทธิมนุษยชนในปัจจุบันในประเทศไทยมีทั้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศกับผู้ที่มีสัญชาติไทยและประชากรจากประเทศอื่นที่มิได้มีสัญชาติไทย ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนชนตามที่ได้บัญญัติไว้ ในปฏิณญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(UDHR) ซึ่งถึงแม้บุคคลเหล่านั้นอาจจะไม่ได้มีสัญชาติไทยก็ตาม พวกเขาอาจจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายไทยก็ตาม แต่พวกเขาเหล่านั้นก็มีสิธิได้รับความคุ้มครองตามปฎิณญาดังกล่าว

ชาวโรฮิงญา

 โรฮิงญา เป็นกลุ่มชนบริเวณชายแดนฝั่งพม่าที่พูดภาษาจิตตะกอง-เบงกาลี และนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าปฏิเสธสถานภาพพลเมืองของชาวโรฮิงยา ส่งผลให้มีชาวโรฮิงยาจำนวนมากต้องอพยพลี้ภัยไปยังประเทศอื่นเพื่อแสวงหา ชีวิตที่ดีกว่า (ซึ่งชาวโรฮิงญานั้นมาจากเมืองจิดตะกองของบังกลาเทศ ) แต่โดยส่วนใหญ่แล้วชาวโรฮิงญาแล้วจะอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ ในตอนเหนือของประเทศพม่าติดกับชายแดนประเทศบังกลาเทศ 

  ซึ่งชาวโรฮิงญานั้นรัฐาลพม่าไม่ยอมรับว่าโรฮิงญาเป็นพลเมือง และในปี พ.ศ. 2491 กองทหารพม่าออกปฏิบัติการกวาดล้างพวกนี้ หมู่บ้านหลายร้อยแห่ง “ถูกเผาและคนหลายพันคนถูกฆ่า ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมหาศาลอพยพหนีไปยังประเทศใกล้เคียง มีทั้งที่เข้าไปอย่างถูกกฏหมายและไม่ถูกกฏหมาย ทำให้มีบางส่วนของชาวโรฮิงญาที่อพยพมาอย่างผิดกฏหมายถูกส่งตัวกลับพม่าและถูกรัฐบาลของพม่าทารุณและฆ่า เพื่อกวาดล้างชาวโรฮิงญา เพราะในมุมมองของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ชาวโรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่ "ลี้ภัยอย่างผิดกฎหมาย"  และอพยพมากจากประเทศบังกลาเทศในสมัยที่พม่าตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของจักรวรรดินิยมอังกฤษ ดังนั้นด้วยทัศนคติเช่นนี้ของรัฐบาลเผด็จการพม่าทำให้ประชาชนชาวโรฮิงยาส์ไม่ได้รับการรวมเข้าไปในกลุ่มชนพื้นเมือง ในรัฐธรรมนูญพม่า ส่งผลให้ไม่ได้รับสัญชาติพม่า

  อีกทั้งยังส่งผลให้ชาวโรฮิงญาถูกจำกัดสิทธิพลเมืองอีกหลายประการ ได้แก่ ไม่มีอิสระในการเดินทาง การบังคับเก็บภาษี การยึดที่ดินและบังคับย้ายถิ่น การขัดขวางการเข้าถึงด้านสาธารณสุข ที่พักอาศัยและอาหารไม่เพียงพอ การบังคับใช้แรงงาน รวมทั้งมีข้อจำกัดในการสมรส  ซึ่งส่งผลให้ชาวมุสลิมโรฮิงยาหลายพันคนอพยพไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้สถานการณ์ด้านมนุษยธรรมในภูมิภาคซับซ้อน ซึ่งรวมไปถึงการอพยพเข้ามาในประเทศไทย อันเป็นปัญหาที่ปรากฏขึ้นในปัจจุบัน

  โดยสรุปแล้วการกระทำของรัฐบาลพม่านั้นเป็นการกระทำที่เป็นการละเมิด สิทธิมนุษยชน ตามปฎิณญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสากล(UDHR) อันได้แก่  

  (ข้อ 2) วางหลักว่า แต่ละคนมีสิทธิเสรีภาพตามปฏิญญานี้ โดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างประการใดๆ ซึ่งรัฐบาลพม่ากลับใช้ความรุนแรงกับชาวโรฮิงญา อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางศาสนา(ที่คนส่วนใหญ่ในพม่านับถือศาสนาพุทธ)และเชื้อชาติ

  (ข้อ 3) ที่วางหลักว่า ทุกคนมีสิทธิในการดำรงชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งตัวตน แต่ชาวโรฮิงญากลับไม่ได้รับสิ่งเหล่านี้จากรัฐบาลพม่า อีกทั้งถูกทำร้ายอย่างทารุณเพื่อขับไล่พวกเขาเหล่านี้ออกไปจากประเทศเพราะเห็นว่าพวกเขามิใช่ชาวพม่า และ

  (ข้อ 5) ที่วางหลักว่า บุคคลใดๆจะถูกทรมานหรือได้รับผลปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายผิดมนุษยธรรมหรือต่ำช้าไม่ได้ ซึ่งข้อนี้ย่อมเห็นได้จากชัดเจนจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพม่า จากการกระทำโยการใช้ความรุนแรงทั้งจากทหาร และ ชาวพุทธในพม่าที่ ทำร้ายร่างกาย รวมไปถึงการฆ่า อันส่งผลให้ชาวโรฮิงญาเหล่านั้นต้องหลบหนีออกจากพม่า

  แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีปัญหาอยู่ว่าเพราะรัฐบาลพม่ามิได้รับรองสัญชาติพม่าให้กับชาวโรฮิงญาในรัฐธรรมนูญ ดังนั้นชาวโรฮิงญาจึงมิได้เป็นชนชาติพม่า พวกเขาจึงไม่ได้ถูกรับรองสิทธิโดยกฏหมายของประเทศพม่า แต่ถึงอย่างไรชาวโรฮิงญาก็มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง ด้วยปฎิณญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสากล(UDHR) ที่ได้กล่าวไปนี้ได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

  ชาวโรฮิงญานั้นได้อพยพเข้ามาในประเทศไทยโดยการลักลอบเข้ามา โดยส่วนมากมักจะลักลอบมาโดยทางเรือ เพื่อจะเดินทางต่อไปยังประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามเพื่อ เริ่มต้นชีวิตใหม่ เช่น ประเทศมาเลเซีย และ ประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น แต่ภายหลังการลักลอบเข้ามาทางเรือมักถูกจับได้โดยรัฐบาลพม่าเอง อันทำให้ถูกส่งตัวกลีบไปดำเนินชะตากรรมอันโหดร้ายต่อไป หรือ ถูกจับได้โดยผู้ตรวจของไทยก็มักจะถูกส่งกลับไปเช่นกัน ดังนั้นชาวโรฮิงญาบางส่วนจึงลักลอบขึ้นบก บริเวณจังหวัดระนองเพื่อ เดินทางต่อทางบกเพื่อข้ามไปยังประเทศมาเลเซียและ ประเทศอินโดนีเซียต่อไป ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ชาวโรฮิงญาตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย นั้นก็คือกระบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งจากข่าวได้ระบุว่า 

 จ.สงขลา เป็น 1ใน 6 จังหวัด ที่องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศ ระบุว่าเป็นแหล่งการค้ามนุษย์แหล่งใหญ่ ซึ่งที่ผ่านมา มีหลายหน่วยงานของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต่างพยายามหาเหตุผลขึ้นมาหักล้างว่าขบวนการค้ามนุษย์ที่ จ.สงขลา ไม่ได้รุนแรงอย่างที่องค์กรสิทธิมนุษยชนได้กล่าวอ้าง

ตามข้อเท็จจริง จ.สงขลา ยังเป็นแหล่งใหญ่ของการค้ามนุษย์ ไล่ตั้งแต่การนำ “ผู้หญิง” ทั้งในและต่างประเทศ เข้าสู่ขบวนการ “ขายเนื้อสด” ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ โดยเป็นในรูปแบบของการ “สมยอม” ทั้งสองฝ่าย ไม่มีการกักขัง ซ้อมทารุณเหมือนเช่นในอดีต ซึ่งนานๆ จะมีสักครั้งที่มี “เหยื่อ” ออกมาร้องขอให้เจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือ แต่เมื่อ “เจาะลึก” ลงไปจริง ๆ พบว่าส่วนใหญ่หญิงสาวเหล่านั้นถูกกดขี่ ถูกโกงค่าแรงแทบทุกราย แต่ไม่ว่าจะ “สมยอม” หรือ “ไม่เต็มใจ” ก็ถือว่าผิดกฎหมาย ในอดีตการนำคนเข้าสู่การค้าประเวณี จะมีคนนำผู้หญิงจากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ว่าจะเป็นหญิงสาวจากประเทศเพื่อนบ้าน “จีนฮ่อ” หรือชาวพม่า แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นจากลาวมากที่สุด"

และอีกส่วนหนึ่งที่กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่า

"โดยขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา เริ่มต้นจากการ “รับจ้าง” นำออกจากประเทศพม่าเข้ามายังฝั่งไทย คิดค่าหัวตั้งแต่ 20,000-50,000 บาท แล้วแต่ข้อตกลง เมื่อส่งข้ามแดนประเทศไทยมาแล้วก็ถือว่าหมดหน้าที่ แต่ปัจจุบันขบวนการรับจ้างนำชาวโรฮิงญา ไปยังประเทศที่ 3 มีความ “แยบยล” มากยิ่งขึ้น ซึ่งใช้วิธีการ “เข้าฮอส” แบบกินสองต่อ นั่นคือการรับจ้างนำชาวโรฮิงญาหลบหนีออกจากประเทศพม่าแล้ว ยังทำการกักขังควบคุมตัวเอาไว้ในสถานที่ตามแนวชายแดน เพื่อขายชาวโรฮิงญาให้กับผู้ต้องการแรงงานในประเทศเพื่อนบ้าน ในราคาหัวละ 30,000–50,000 บาท ซึ่งมีนายทุนทั้งภาคการเกษตรและการประมง ที่ต้องการแรงงานเหล่านี้ไว้ใช้งาน เพราะค่าแรงถูก นายทุนสามารถกดขี่ได้ตามชอบใจ ดังนั้นชาวโรฮิงญาเหล่านี้จึงตกอยู่ในสภาพ “หนีเสือปะจระเข้” ถูกทารุณกรรมสารพัด"

 ซึ่งจากข่าวแสดงให้เห็นว่าชาวโรฮิงญาที่รู้เท่าไม่ถึงการณืเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์เพราะความหวังที่ว่าตนจะได้ไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม เพื่อจะได้ไม่ต้องกลับไปอยู่ในความรุนแรงดังกล่าวอีก พวกค้ามนุษย์จึงมองจุดอ่อนตรงนี้มาใช้เพื่อจูงใจชาวโรฮิงญา จนเป็นสาเหตุให้เกิดการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญาขึ้นในประเทศไทย ซึ่งการกระทำของขบวนการค้ามนุษย์เหล่านี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิตามปฎิณญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(UDHR) (ข้อ 4) ที่วางหลักว่า บุคคลใดๆจะถูกนำไปเป็นทาสไม่ได้ และห้ามการค้าทาสทุกรูปแบบ ซึ่งการค้ามนุษย์ก็ถือเป็นสิ่งต้องห้ามตามปฎิณญาสากลข้อ 4 นี้ และนอกจากชาวโรฮิงญาแล้ว ชนชาติอื่นที่ถูกหลอกเข้ามาในประเทศไทย รวมถึงคนไทยด้วยกันเองก็ตกเป็นเหยื่อของกระบวนการค้ามนุษย์อีกเช่นกัน ดังนั้นแล้วขบวนการค้ามนุษย์จึงถือเป็นปัญหาระดับชาติ และ สากลที่ต้องร่วมมือกันแก่ไข

  อีกทั้งยังมีข้อเท็จจริงปรากฎว่า เจ้าหน้าที่ของไทยนั้นละเลยกับการขอความช่วยเหลือของชาวโรฮิงญาทั้งๆที่ มีหน้าที่ตาม (ข้อ 14) ที่วางหลักว่า บุคคลมีสิทธิลี้ภัยในประเทศอื่น  แต่จะอ้างสิทธินี้มิได้ในกรณีการฟ้องคดี ซึ่งเกิดจากความผิดที่ไม่ใช่เรื่องทางการเมือง หรือจากการกระทำที่ขัดต่อความมุ่งประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ ถึงแม้เขาจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไทยก็ตาม แต่เจ้าหน้าที่ไทยก็จะต้องให้ความช่วยเหลือหากเขาถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามหลักการเป็นเพื่อนมนุษย์ ที่ต้องให้ความเคารพ คุ้มครอง และช่วยเหลือ สิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขา

  ดังนั้นแล้วการที่จะแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเกิดขึ้นจากความแตกต่างทางเชื้อชาตินั้น ต้องขจัดเจตคติเรื่องของความแตกต่างทางเชื้อชาติและชนชาติออกไป โดยการมองว่าเขาก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีสิทธิและศักดิ์ความเป็นมนุุษย์ เช่นเดียวกับเรา เพื่อเขาช่วยเหลือให้เขาได้รับสิทธิเหล่านั้นตามสมควรที่เขาควรจะได้รับ มิใช่การปฏิเสธเขาเพราะเพียงเหตุที่ว่า"คุณไม่ใช่คนไทย"

อ้างอิง

1.เจาะลึก"โรฮิงญา"เหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ตายทั้งเป็น ถูกขูดรีด กักขัง กดขี่เยี่ยงทาส

ที่มา:http://www.dailynews.co.th/Content/regional/174579/ ,สืบค้นเมื่อ 8/4/57

2.ปฎิณญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(UDHR):ความเป็นมาและสาระสำคัญ

ที่มา:http://www.l3nr.org/posts/519241,สืบค้นมา 8/4/57

3.โรฮิงญาชีวิตภายใต้อำนาจ จากชายแดนพม่าถึงไทย

ที่มา:http://prachatai.com/journal/2013/08/48462 ,สืบค้นเมื่อ 8/4/57

4.ประวัติชาวโรฮิงญา

ที่มา:http://www.tacdb-burmese.org/web/index.php?option=com_content&view ,สืบค้นเมื่อ 8/4/57

หมายเลขบันทึก: 565698เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2014 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2014 21:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท