ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/คนหนีภัยความตาย


ผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 มีคำนิยาม และความหมายของสถานภาพผู้ลี้ภัยว่า ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหารหรือได้รับการคุกคามต่อชีวิตเนื่องจากสาเหตุข้อหนึ่งข้อใด เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติสมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง

ผู้หนีภัยความตาย คือ ผู้หนีภัยที่เกิดกับชีวิต ทั้งภัยโดยตรง และโดยอ้อม

  • ภัยความตายโดยตรง เช่น ภัยจากการสู้รบ
  • ภัยความตายโดยอ้อม แบ่งออกเป็นสองประเภท  คือ ภัยความตายทางกายภาพและ ภัยความตายทางจิตใจ
  • ภัยความตายทางกายภาพ เป็นภัยซึ่งเกิดจากการคาดการณ์ได้ว่า ถ้าไม่หนีออกมาจากพื้นที่นั้นจะต้องตาย เช่น เมื่อรู้ข่าวว่ามีกองทหารกำลังจะเข้ามาที่หมู่บ้านและมีข้อมูลว่า หากทหารเข้ามาในหมู่บ้านแล้วจะเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงหนีออกมาก่อนที่ทหารจะมาถึง หรือ กรณีการถูกบังคับเก็บภาษี หรือการข่มขืน ถ้าหากไม่ปฏิบัติตามก็มีความเสี่ยงที่จะตายได้
  • ภัยความตายอีกประเภทหนึ่งคือภัยความตายทางจิตใจ เช่น การข่มขืน เป็นต้น

 

กว่าสิบปีที่ผ่านมาประเทศไทยจะมีผู้หนีภัยความตายจากประเทศพม่าเข้ามาอาศัยจำนวนหลายแสนคน แต่เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้ลงนามเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย ทำให้การให้ความช่วยเหลือผู้หนีภัย ความตายในประเทศไทยไม่ได้ดำเนินไปตามมาตรฐานระดับสากลนอกจากนี้ สังคมไทยส่วนใหญ่ยังคงขาดความเข้าใจในเรื่องสิทธิของผู้หนีภัยความตายจนนำไปสู่การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหรือละเมิดสิทธิผู้หนีภัยความตายและเนื่องจากประเทศไทยไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยสถานะภาพผู้ลี้ภัยพ.ศ. 2494 และไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย หรือกระบวนการที่ใช้งานได้เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ขอลี้ภัยประเทศไทยถือว่า ผู้ลี้ภัยทุกสัญชาติที่อาศัยอยู่ของค่ายผู้ลี้ภัยชาวพม่าที่กำหนดไว้นั้นเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศโดยผิดกฎหมาย

กลุ่มผู้หนีภัยความตายที่อยู่ในประเทศไทยมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่อยู่ในค่ายพักพิงชั่วคราว ผู้หนีภัยความตายที่อยู่ในค่ายนี้จะได้รับความดูแลจากรัฐบาลไทย ยูเอ็นเอชซีอาร์ เอ็นจีโอทั้งไทยและต่างประเทศ และกลุ่มที่อยู่นอกค่ายพักพิงชั่วคราว

ไม่ว่าจะเป็นผู้ลี้ภัย หรือผู้หนีภัยความตายก็ตามต่างก็เป็นมนุษย์กันทุกคน ดังนั้นหากพิจารณาในเรื่องของสิทธิมนุษยชนแล้ว ทุกคนควรมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน จึงไม่ได้มีความแตกต่างที่ผู้ลี้ภัย หรือผู้หนีภัยความตายจะได้สิทธิต่างๆ เช่นเดียวกับประชาชนในรัฐนั้น เช่น สิทธิการเดินทางโดยเสรี ในประเทศและหากต้องการเดินทางไปต่างประเทศ รัฐที่ดูแลผู้ลี้ภัยอยู่ก็ต้องออกเอกสารเดินทางให้ รวมไปถึงสิทธิทางการศึกษาและสิทธิอื่น ๆ

ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย และผู้หนีภัยความตายมีหลายประการ ในที่นี้ข้าพเจ้าขอกล่าวถึงปัญหาที่สำคัญ 3 ประการ

  1. ปัญหาด้านการประกอบอาชีพ เนื่องจากผู้หนีภัยที่อยู่ในค่ายพักพิงชั่วคราวถูกจำกัดห้ามออกไปนอกค่ายพักพิง ทำให้ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ ซึ่งลำพังเพียงการช่วยเหลือจากรัฐบาลไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ดังนั้นเมื่อมีการจำกัดให้ผู้หนีภัยความตายอยู่เพียงแต่ในค่ายพักพิงชั่วคราว ทำให้มาสามารถออกไปประกอบอาชีพภายนอกได้ หากออกไปประกอบอาชีพภายนอกค่ายพักพิง จะทำให้ไม่ได้รับการคุ้มครองจากรัฐบาล ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ ซึ่งขัดกับมาตรา 43 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550
  2. ปัญหาด้านการศึกษา แม้จะใช้คำว่า ค่ายพักพิงชั่วคราว แต่อย่างไรก็ตามผู้หนีภัยความตายที่มาอยู่ในค่ายพักพิงนี้ ได้อยู่มาเป็นเวลานานหลายสิบปี จนมีบุคคลเกิดขึ้นมาอีกหลายรุ่น เด็กๆเหล่านี้ยังไม่ได้รับการศึกษาที่ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานอันรัฐบาลควรให้การคุ้มครองซึ่งตาม อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child)[1] ได้รับรองการปกป้องคุ้มครองสิทธิของเด็กผู้ลี้ภัยตลอดจนสิทธิในการได้รับการศึกษาด้วย
  3. ปัญหาด้านการไม่ได้รับสาธารณะสุขและการทำธุรกรรมต่างๆ บุคคลผู้หนีภัยความตายไม่สามารถเป็นผู้ถือครองทรัพย์สินได้ ซึงขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 41 อีกทั้งไม่ได้รับการบริการตลอดจนการช่วยเหลือที่เพียงพอจากรัฐบาล

เพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว จึงได้มีการเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาเหล่านั้นไว้ ดังต่อไปนี้

1. ควรมีการกำหนดแผนนโยบายยุทธศาสตร์ผู้หนีภัยความตาย เพื่อนำไปสู้การป้องกันผู้หนีภัยความตายมิให้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน อันจะเป็นการตอกย้ำหรือซ้ำเติมปัญหาที่พวกเขาเหล่านั้นได้เผชิญอยู่แล้ว นอกจากนี้ การกำหนดแผนนโยบายยุทธศาสตร์ผู้หนีภัยความตายให้มีความชัดเจน แยกออกจากผู้หลบหนีเข้าเมือง จะเป็นการป้องกันปัญหาความไม่มั่นคง อันเกิดจากการขาดนโยบายที่ชัดเจน สำหรับการแก้ไขปัญหาผู้หนีภัยความตายในประเทศไทย โดยยึดหลักความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งหากคนที่อยู่ในประเทศไทยทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ประเทศย่อมมีภูมิคุ้มกันปัญหาความไม่มั่นคงต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

 2. สังคมควรมีการตระหนักถึงคุณค่า และหลักการเคารพสิทธมนุษยชนในประเทศไทย รวมทั้งตระหนักในความสำคัญของการมีน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย อันจะนำไปสู่การเกิดความมั่นคงทางมนุษย์ขึ้น โดยลดการแบ่งแยกระหว่างชาติพันธุ์ และสถานะบุคคลทางกฎหมาย

 3. ปัจจุบัน โครงสร้างทางการบริหารจัดการ สำหรับผู้หนีภัยการตายนั้น ได้ดำเนินการโดยศูนย์ปฏิบัติการผู้พลัดถิ่น กระทรวงมหาไทย ซึ่งสามารถนำมาปรับปรุง และประยุกต์เพิ่มเติม เพื่อกำหนดกรอบการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีกฎหมายรับรอง และควบคุมนโยบายจากสำนักสภาความมั่นคงแห่งชาติ

4. ประเทศไทยควรจะให้โอกาสที่เป็นธรรมแก่ผู้ขอลี้ภัยทุกคนให้สามารถขอลี้ภัย และควรจะอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยสามารถเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่างๆ และสามารถทำงานได้ โดยนโยบายเช่นนี้จะช่วยให้ผู้ลี้ภัยสามารถเรียนรู้ทักษะต่างๆ และลดโอกาสที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบ ขณะเดียวกันก็จะเปิดทางให้พวกเขามีส่วนทำประโยชน์ให้กับเศรษฐกิจของไทยด้วย

[1] http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/crct.pdf เข้าถึงวันที่ 7 เมษายน 2557

ที่มา

1.ร่างยุทธศาสตร์ผู้หนีภัยความตาย,นายพงษ์เทพ ยังสมชีพ,http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=126&d_id=126 เข้าถึงวันที่ 7 เมษายน 2557

2. ประเทศไทย: นโยบายผู้ลี้ภัยที่เฉพาะหน้า และไม่เพียงพอ, http://www.hrw.org/node/110102 เข้าถึงวันที่ 7 เมษายน 2557

3.ยูเอ็นเอชซีอาร์ร่วมระลึกถึงโอกาสครบรอบ60ปีของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย, https://www.unhcr.or.th/th/news/general/697 เข้าถึงวันที่ 7 เมษายน 2557

หมายเลขบันทึก: 565580เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2014 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท