ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย / คนหนีภัยความตาย


ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย / คนหนีภัยความตาย

Human Rights are the basic freedoms and protections that people are entitled to simply because they are human beings. They are basic rights that all people are entitles to regardless of nationality sex national  or ethnic origin race religion language or other status.

                                                                    Amnesty International                                                              

        สิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสิทธิที่ตกติดตัวมาพร้อมกับความเป็นมนุษย์ หรือกล่าวได้ว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิซึ่งเป็นของบุคคลเนื่องจากเป็นมนุษย์ โดยวางอยู่บนพื้นฐานของกรเคารพในตัวปัจเจกชน เนื่องจาก เชื่อว่าบุคคลหนึ่งๆเป็นผู้ที่มีศีลธรรม รู้จักใช้เหตุผล ซึ่งสมควรที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรี ซึ่งในแง่การปฏิบัติแล้วนั้น ย่อมยังไม่สามารถที่จะกำหนดให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกันอย่างทั่วถึง แต่หากกล่าวได้ว่า สิทธิมนุษยชนนั้น ให้มองในแง่ของให้มนุษย์ทุคนสามารถเข้าถึงสิทธิที่ควรจะได้รับได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่นำสัญชาติ เชื้อชาติเข้ามาเป็นเงื่อนไขในการเข้าถึงสิทธิ เพียงแค่เป็นมนุษย์ย่อมมีสิทธิได้รับแต่กำเนิด

 

กรณีศึกษา : ปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศซีเรีย

( ที่มาhttp://www.cicot.or.th/2011/main/content.php?page=sub&category=58&id=1668 ค้นคว้าเมื่อวันที่  6 เมษายน 57)

 

       ความเป็นมาโดยย่อ  : ด้วยกับกระแสการฟื้นฟูและการตื่นตัวของโลกอิสลาม เมื่อเดือนธันวาคม 2010 การประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ได้เริ่มขึ้นที่ประเทศตูนีเซีย ภายหลังได้แพร่กระจายไปทั่วโลกอาหรับ นำมาซึ่งการโค่นล้มทรราชและการแทนที่ด้วยรัฐบาลที่มีอุดมการณ์อิสลามของหลายประเทศเช่นตูนีเซีย โมร็อคโค อียิปต์ และลิเบีย เป็นที่รู้จักกันในชื่อปรากฏการณ์อาหรับสปริง (Arab Spring) ซึ่งรวมถึงซีเรียในเดือนกุมภาพันธ์ 2011 เมื่อประชาชนได้เริ่มออกมาประท้วงโดยสงบ โดยต้องการเพียงให้รัฐบาลทำการปฏิรูปทางการเมือง แต่รัฐบาลของบัชชาร อะสัด กลับใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ชุมนุมและผู้เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลอย่างโหดเหี้ยมมาโดยตลอด การปราบปรามประชนอย่างโหดเหี้ยมและรุนแรงในครั้งนี้แทนที่จะทำให้ประชาชนชาวซีเรียหวาดกลัวและไม่กล้าออกมาต่อต้านรัฐบาลกลับให้ผลตรงกันข้าม ประชาชนชาวซีเรียตามเมืองต่างๆทั่วประเทศต่างออกมาประท้วงกันมากขึ้น รัฐบาลก็เพิ่มระดับความรุนแรงในการปราบปรามผู้ชุมนุม จนกระทั่งเริ่มมีทหารของรัฐบาลที่รับไม่ได้กับการสั่งฆ่าประชาชนเริ่มแปรพักตร์มาช่วยปกป้องประชาชน และได้ก่อตัวขึ้นเป็นกองกำลังซีเรียเสรี (Free Syrian Army) ในภายหลัง[1]

           เมื่อเกิดเหตุการณ์สงครามกลางเมืองในประเทศซีเรีย รัฐบาลได้ต่อสู้กับประชาชนในประเทศด้วยความทารุณโหดร้ายด้วยเหตุที่เกรงกลัวว่าตนจะศูนย์เสียอำนาจในการปกครอง โดยเหตุการณ์นี้จะไม่ทวีความรุนแรงขึ้นหากว่า รัฐบาลไม่ได้จ้างกองกำลังกบฏเลบานอนเพื่อเข้ามาช่วยเหลือตนในการจัดการกับประชาชน ซึ่งฝ่ายรัฐบาลได้เรียกกลุ่มประชาชนผู้ต่อต้านว่ากลุ่มผู้ก่อการร้าย

             การกระทำของฝ่ายรัฐบาลซึ่งต้องการปราบปรามผู้ต่อต้านอำนาจของตนนั้น กระทำด้วยการใช้อาวุธที่รุนแรง โดยกระทำต่อมนุษย์ทุกคนที่เป็นผู้ต่อต้านตนอย่างไร้ศีลธรรม โดยไม่คำนึงเพศ อายุ วัยของผู้ถูกกระทำแต่อย่างไร ซึ่งรัฐบาลต้องการบีบให้ผู้ประท้วงนั้นไม่สามารถที่จะต่อสู้ต่อไปได้ ซึ่งนอกจากจะใช้อาวุธเพื่อฆ่าประชาชนผู้ประท้วงแล้ว ยังใช้วิธการไม่อนุญาตให้กาชาดเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ หรือการเล็งเป้าหมายทำร้ายแพทย์ผู้คอยช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากการประท้วง แพทย์จำนวนมากจึงไม่สามารถทำการรักษาผู้ป่วยได้ และบางส่วนก็หลบหนีออกนอกประเทศไป ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นการก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน

             กล่าวคือ การกระทำที่ใช้อาวุธรุนแรงเข่นฆ่าผู้ประท้วง การห้ามแพทย์ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากการสู้รบนั้น เป็นการกระทำที่กระทบต่อหลักสิทธิที่ผู้เป็นมนุษย์ทุกคนต้องได้รับ คือ การที่ได้รับการคุ้มครองในความปลอดภัยของชีวิตและร่างกาย ไม่ให้ผู้ใดเข้ามาทำร้ายร่างกายของตนได้ ส่วนกรณีห้ามแพทย์เข้าช่วยเหลือนั้น เป็นกรณีที่ละเมิดสิทธิซึ่งมนุษย์ทุกคน ควรจะได้รับการรักษาเมื่อเจ็บป่วยซึ่งนอกจากจะเป็นสิทธิมนุษยชนแล้ว ยังเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนภายในรัฐ ซึ่งรัฐต้องจัดเป็นสวัสดิการแก่ประชาชนภายในประเทศของตนอีกด้วย

             นอกจากนี้แล้วเมื่อเหตุการณ์รุนแรงมาขึ้น จึงทำให้ประชาชนบางส่วนต้องหลบหนีออกนอกประเทศไป โดยอาจจอยู่แถบชายแดนของประเทศของตน หรือต้องอพยพเป็นผู้ลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้านซึ่งกรณีเช่นนี้ทำให้ประชาชนผู้หลบหนี้ไม่สามารถที่จะประกอบอาชีพของตนได้อีกต่อไป จึงเป็นเหตุให้ไม่สามารถมีเงินเพียงพอมาเลี้ยงชีพของตนเองและครอบครัวได้ ชีวิตความเป็นอยู่ก็จะยากลำบากขึ้น ไม่สามารถอยู่บ้านของตนเองต่อไปได้ ซึ่งกระทบต่อสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ สิทธิในการดำรงชีพด้วยตนเอง สิทธิการอยู่อาศัย และยังกระทบต่อเด็กซึ่งเป็นอนาคตชาติ เพราะเมื่อเกิดสงครามแล้วย่อมไม่ได้เรียนหนังสือ จึงเป็นการกระทบต่อสิทธิที่จะได้รับการศึกษา อีกด้วย

             เหตุการณ์ในประเทศซีเรียนั้นเป็นเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงอย่างมากเพราะมีผู้เกี่ยวข้องในหลายฝ่าย มีผู้ได้รับผลกระทบในหลายประเทศเพราะประเทศซีเรียได้มีความสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจ หรือด้านการค้าขายกับต่างประเทศด้วย จึงมีบางประเทศให้ความช่วยเหลือรัฐบาลซีเรียในการปราบปรามประชาชนผู้ประท้วง โดยให้การสนับสนุนในด้านกำลัง อาวุธยุทโธปกรณ์ ในการต่อสู้ จึงทำให้เหตุการณ์ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอีก และเป็นการต่อสู้ที่ยาวนาน โดยประเทศที่ให้ความสนับสนุนก็คือ ประเทศรัสเซียและจีน ซึ่งเป็นเพราะเหตุที่ว่ารัสเซียนั้นได้กำไรจากการค้าอาวุธ การลงทุนในระบบสาธารณะรัฐ มีการตั้งกองทัพเรือในประเทศซีเรีย และรัสเซียยังคงต้องการคงความเป็นมหาอำนาจของตนซึ่งมีอยู่เหนือซีเรียต่อไป เช่นเดียวกับจีนซึ่งเล็งเห็นว่าซีเรียมีแนวความคิดในระบอบการเมืองการปกครองแบบสังคมนิยมเหมือนๆกัน จึงทำให้องค์กรสหประชาชาติ ( UN ) ไม่สามารถเข้าช่วยเหลือซีเรียได้เพราะได้รับการคัดค้าน (Veto) จากประเทศผู้เป็นสมาชิก

             แต่อย่างไรก็ตามนั้น ยังมีองค์กรผู้เข้าช่วยเหลือซีเรียซึ่งก็คือ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ หรือที่เรียกว่า UNHCRย่อมาจาก United Nations High Commissioner for Refugees  เป็นองค์การที่ให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ผู้ที่ถูกริดรอนศักดิ์ศรี[2] ซึ่งทำหน้าที่ประกันสิทธิและความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ผู้ลี้ภัยเป็นสำคัญ โดยจะปฏิบัติงานตามแนวทางของอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 และพิธีสารเพิ่มเติม ค.ศ.1967 แม้เป็นประเทศที่ไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกของ UNHCR แต่ UNHCR ก็จะเข้าไปช่วยไกล่เกลี่ยกับรัฐบาลประเทศนั้นๆไม่ให้ส่งตัวผู้ลี้ภัยกลับประเทศหากว่าประเทศนั้นยังไม่ปลอดภัย [3]

              เห็นได้ว่าการที่ UNHCR นั้นจะเข้ามาช่วยเหลือได้นั้นจะต้องเป็นกรณีของผู้ลี้ภัย ซึ่งผู้ลี้ภัยหมายถึง  ประชากรของรัฐอื่น ที่หนีจากการสู้รบ การเข่นฆ่ากันภายในรัฐของตน มาอาศัยหลบภัยในรัฐของเราในฐานะเพื่อนมนุษย์ มนุษย์ที่ต้องมีหลักเมตตาธรรมคอยช่วยเหลือกัน ดังนั้นการช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือผู้ลี้ภัย จึงเป็นบรรทัดฐานของมนุษย์ทุกชาติทุกเหล่า เผ่าพันธุ์พึงมีเมตตาต่อกัน[4] หากแต่ว่าประเทศไทยไม่ได้ใช้ คำว่า ผู้ภัยแต่ได้ใช้คำว่า ผู้หนีภัยความตาย เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้เข้าร่วมในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951  แต่ก็ไม่สามารถเพิกเฉยต่อเพื่อนมนุษย์ ที่รอคอยการช่วยเหลือได้

              จึงเห็นได้ว่าจากปัญหาที่เกิดขึ้นในซีเรียนั้น หากมีผู้ลี้ภัยเข้ามายังประเทศใกล้เคียงแล้วย่อมต้องเข้าช่วยเหลือผู้อพยพดังกล่าว แม้ว่าตนจะไม่ได้เข้าเป็นประเทศสมาชิกในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 และพิธีสารเพิ่มเติม ค.ศ.1967 ก็ตาม แต่ด้วยเพื่อการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ โดยจะมี UNHCR เป็นองค์ที่มีบทบาทสำคัญต่อผู้ลี้ภัยอีกทางหนึ่งด้วย

 

            

 

[1] http://www.thai4syria.com/content/257 ค้นคว้าเมื่อวันที่  6 เมษายน 57

[2] https://www.unhcr.or.th/th/refugee/about_refugee ค้นคว้าเมื่อวันที่  6 เมษายน 57

[3] http://www.l3nr.org ค้นคว้าเมื่อวันที่ 6 เมษายน 57

[4] http://www.thaingo.org/story/leepai2744.htm ค้นคว้าเมื่อวันที่ 6 เมษายน 57

หมายเลขบันทึก: 565504เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2014 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2014 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท