ข้อคิดที่ได้จากภาพยนตร์ Amazing Grace


         เมื่อข้าพเจ้าได้มีโอกาสรับชมภาพยนตร์เรื่อง Amazing Grace ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการยกเลิกการค้าทาสในประเทศอังกฤษ เป็นเรื่องราวการต่อสู้ของ วิลเลียม วิลเบอร์ฟอร์ซ คริสเตียนหนุ่ม ผู้เป็นสมาชิกรัฐสภาอังกฤษที่อายุน้อยที่สุดในเวลานั้น เพื่อยกเลิกกฎหมายการค้าทาสในสหราชอาณาจักรอังกฤษ โดยในเวลานั้นนับได้ว่าเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงจนแทบประเมินค่าไม่ได้ เนื่องจากมีทาสผิวดำชาวแอฟริกาถูกเกณฑ์มาขายในตลาดค้าทาส ซึ่ง “การค้ามนุษย์” หรือ “การค้าทาส”นั้น ในอดีตถือเป็นเรื่องที่ชนชั้นสูง ไม่ว่าจะเป็น ขุนนาง พ่อค้า คนร่ำคนรวยได้กระทำกันเป็นปกติ เพราะในสังคมแต่ละประเทศก็ได้ทำการซื้อขายคนเอาไปเป็นทาส เหมือนกับเป็นการซื้อขายสิ่งของทั่วไป เมื่อซื้อทาสไปแล้วจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรก็ได้ ถือว่าทาสคนนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของชนชั้นสูงที่ได้ซื้อไป โดยคนส่วนใหญ่ในสังคมไม่ได้มองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ผิด หรือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด เนื่องด้วยในตอนนั้นแนวความคิดในเรื่องการรับรองและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนยัง ไม่เด่นชัดขึ้นมา

     ซึ่งหลังจากได้รับชมภาพยนตร์เรื่องนี้  ข้าพเจ้าได้ข้อคิดดังต่อไปนี้

      ประการแรก สะท้อนให้เห็นว่า หากคนเรามีความพยายามไม่ย่อท้อ เราก็สามารถประสบความสำเร็จได้ แม้อาจจะไม่ประสบความสำเร็จในทันที แต่หากเรามีความตั้งใจ ก็อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ตามมาได้ เห็นได้จากการที่วิลเลียมได้เสนอแนวคิด ของความเท่าเทียมกันต่อสภาสูงอังกฤษไป แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในทันที วิลเลียมต้องใช้เวลาทั้งชีวิตในการพยายามยื่นเรื่องต่อสภา   กินเวลาเกือบทั้งชีวิตของวิลเลียม กว่าที่ความตั้งใจของเขาจะบรรลุผล แม้จำใช้เวลานาน ท้ายสุดแล้วความพยายามของเขาไม่ได้สูญเปล่า ยังเป็นแรงผลักดันให้ประเทศอื่น เกิดแนวคิดการเลิกทาส

      ประการต่อมา สะท้อนให้เห็นว่า การค้าทาส ถือเป็น การละเมิดสิทธิมนุษชนอย่างหนึ่ง ซึ่งจากภาพยนตร์ในยุคนั้น การค้าทาสถือเป็นเรื่องธรรมดา เนื่องจากเป็นยุคในการแผ่ขยายอาณานิคม ทาสจึงเป็นแรงงานสำคัญในการสร้างผลผลิตให้แก่อังกฤษ จึงทำให้คนส่วนใหญ่ในสังคม มองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป ทั้งๆที่ความจริงแล้วสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่สำคัญมากในสังคมมนุษย์ กว่าที่        สิทธิมนุษยชน จะเป็นที่ยอมรับในสังคมว่าเป็นสิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่ามนุษย์คนนั้นจะเป็นชนชาติใด เชื้อสายใด หรือพูดภาษาอะไรดังเช่นในปัจจุบันนั้น ในอดีตได้มีคนจำนวนมากมายที่ต้องพบกับความทุกข์ทรมานและความอดสูจากการที่ตน เองต้องถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและไม่ได้รับการยอมรับว่าตนเองก็เป็นมนุษย์คน หนึ่ง ต้องถูกปฏิบัติดังเช่นสิ่งของหรือสัตว์เดรัจฉาน ถูกทารุณกรรมในรูปแบบต่างๆมากมาย ซึ่งการค้าทาสก็เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการละเมิดต่อสิทธิมนุษยชนของ ทาสที่ถูกค้าขายเหล่านั้น

     ประการสุดท้าย สะท้อนให้เห็นถึง หลักความเท่าเทียมและเสมอภาคของมนุษย์ เพราะไม่ว่า จะอยู่ชนชาติใด ศาสนาใด หรือ มีสถานะทางสังคมอย่างไร ทุกคนล้วนมีสิทธิเท่าเทียมกัน มีคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่ากัน  ย่อมต้องได้รับการปฏิบัติที่เหมือนกัน  ไม่ถูกกดขี่หรือถูกข่มเหงจากบุคคลหรือสิ่งอื่นใด ซึ่งจากภาพยนตร์เห็นได้จากการ ที่ วิลเลียม วิลเบอร์ฟอร์ซ พยายามเสนอสภาสูงของประเทศอังกฤษให้ตรากฎหมายยกเลิกการค้าทาส และ ได้เห็นถึงความเท่าเทียมกันของมนุษย์ไม่ว่าจะมีชนชาติใดหรือผิวสีใด ก็เนื่องมาจากความศรัทธาในพระเจ้าและพระธรรมของศาสนาคริสต์ที่ส่งผลให้วิลเลียม มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่นที่มีฐานะความเป็นมนุษย์เฉกเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดความรู้สึกที่อยากจะช่วยเหลือและต่อสู้ทางกฎหมาย  เพื่อให้ผู้คนที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเหล่านั้นได้รับการปฏิบัติและได้รับการยอมรับอย่าง เท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์

 

 

คำสำคัญ (Tags): #HR-LLB-TU-2556-TPC
หมายเลขบันทึก: 565468เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2014 23:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากดูจังครับ ขอบคุณสำหรับบันทึกที่ดีมากครับ

อดนึกถึง อับราฮัม ลินคอล์น ผู้ปลดปล่อยทาส และให้ความเสมอภาคแก่ประชาชนชาวสหรัฐอเมริกาจังครับ

"รัฐบาลประชาธิปไตย คือ รัฐบาลของประชาชน

เพื่อประชาชน จักไม่มลายไปจากโลก"

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท