“คณะกรรมการสหวิชาชีพ” คือใคร สำคัญอย่างไร


       ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553

มาตรา 43 ให้มีคณะกรรมการสหวิชาชีพประจำสถานพินิจ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ

ในวิชาชีพด้านจิตวิทยา สังคมสงเคราะห์ สาธารณสุข และการศึกษา ด้านละหนึ่งคนมีหน้าที่ให้

ข้อเสนอแนะต่อผู้อำนวยการสถานพินิจในกรณี ดังต่อไปนี้

(1) การจำแนกเด็กและเยาวชน

(2) การแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชนแต่ละราย

(3) หน้าที่อื่นตามพระราชบัญญัตินี้

       คณะกรรมการสหวิชาชีพอย่างน้อยกึ่งหนึ่งต้องไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของสถานพินิจและในแต่ละสถานพินิจอาจมีคณะกรรมการสหวิชาชีพหลายคณะก็ได้

คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้ง การปฏิบัติหน้าที่ และการพ้นจากตำแหน่งของ

 คณะกรรมการสหวิชาชีพให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด

ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสหวิชาชีพที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่สถานพินิจ ให้ได้รับค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าตอบแทนอย่างอื่นตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง

หมายเลขบันทึก: 565431เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2014 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2014 12:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท