ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/คนหนีภัยความตาย


                                             

                                                                    www.prachatham.com

  ผู้ลี้ภัย คือ บุคคลที่ประสบปัญหา ไม่ว่าจะทางการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา หรือความขัดแย้งต่างๆ จึงได้ออกมาจากประเทศของตนมา มาอยู่ประเทศอื่นๆ หรือบุคคลที่อยู่นอกประเทศต้นกำเนิด หรือ ผู้หนีภัยความตาย คือ ผู้หนีภัยที่เกิดขึ้นกับชีวิตทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือกระทบต่อจิตใจ โดยประเทศต้นกำเนิดของผู้ลี้ภัยที่สำคํญได้แก่ อัฟกานิสถาน อิรัก เซียร์ราลี-โอน พม่า โซมาเลีย เซาท์ซูดาน และ ปาเลสไตน์ สำหรับประเทศไทยก็มีผู้อพยพเข้ามาเช่นกัน ดังเช่นพม่า ชนชาติไทยใหญ่ เป็นต้น ซึ่งบางประเทศมีการจัดตั้ง ค่าย เพื่อรองรับและดูแลผู้ลี้ภัยเมื่อสถานการณ์ปลอดภัยจะส่งกลับประเทศเดิม แต่เมื่อบางครั้งพบว่าสถาการณ์ไม่ปลอดภัย ผู้ลี้ภัยบางกลุ่มจึงมีการตั้งถิ่นฐานใหม่ ซึ่งส่วนมากไม่ประสบความสำเร็จ และมีปัญหาต่อหลักสิทธิมนุษยชนดังต่อไปนี้

  ปัญหาการกวาดล้างชนกลุ่มน้อยซึ่งการฆ่าผู้ลี้ภัยหรือผู้อพยพเป็นลักษณะการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ โดยผู้ลี้ภัยย่อมมีสิทธิที่จะมีชีวิต เสรีภาพและความปลอดภัย สิทธิในการแสวงหาและพักพิง การกวาดล้างผู้ลี้ภัยนั้น เป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตาม ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ

  ปัญหาการเลือกปฏิบัติ โดยมีการกดขี่ข่มเหงผู้ลี้ภัย หรือการที่ผู้ลี้ภัยถูกเกณฑ์ไปใช้แรงงาน การเกณฑ์ไปใช้แรงงานทาส หรือการถูกล่วงละเมิดทางเพศต่างๆ  ซึ่งเป็นปัญหาที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน เนื่องจากผู้ลี้ภัยมีอิสรภาพแห่งการเคลื่อนย้ายและการอยู่อาศัยภายในพรมแดนของแต่ละรัฐโดยปราศจากเหตุแทรกแทรง หรือละเมิดสิทธิเสรีภาพความเป็นมนุษย์และควรได้รับกาปฏิบัติอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ตาม ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 7 ทุกคนเสมอภาคกันตามกฎหมายและ มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายเท่าเทียมกัน

  ปัญหาการขับไล่ผู้ลี้ภัยออกนอกประเทศ ส่งกลับ (ผลักดัน) ผู้ลี้ภัยไม่ว่าจะลักษณะใดๆ ไปยังชายเขตหรือดินแดน ซึ่ง ณ ที่นั้นชีวิตหรืออิสรภาพของผู้ลี้ภัยอาจได้รับการคุกคาม ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา ความคิดทางการเมือง ซึ่งผู้ลี้ภัยย่อมมีสิทธิที่จะแสวงหาและจะได้ที่ลี้ภัยในประเทศอื่นจากการประหัตประหาร โดยสิทธินี้จะยกขึ้นกล่าวอ้างกับกรณีที่การดำเนินคดีที่เกิดขึ้นโดยแท้จากความผิดที่มิใช่ทางการเมืองหรือจากการกระทำอันขัดต่อวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติไม่ได้ ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 13

  ปัญหาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ตอบสนองความต้องการในเบื้องต้นบางประเทศยังมีการช่วยเหลือที่ไม่ครอบคลุมหรือการรับรองสิทธิขึ้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัยอย่างไม่เต็มที่เนื่องจากรัฐบาลมีการมองผู้ลี้ภัยในเชิงลบ ผู้ลี้ภัยย่อมได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานไม่ว่าจะได้รับที่ พักพิง อาหาร น้ำ การดูแลด้านสุขภาพ ปัจจัยสี่รวมถึงสิทธิขึ้นพื้นฐานทางการศึกษาหรือการทำงาน ผู้ลี้ภัยควรได้รับการศึกษาและสามารถเลือกประกอบอาชีพได้อย่างอิสระ  อย่างไรก็ตามผู้ลี้ภัย ได้รับการคุกคามและถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน พวกเราจึงควรร่วมมือกันช่วยเหลือปัญหาเหล่านี้ ดังเช่นการจัดที่พักพิงให้กับผู้ลี้ภัยเพื่อให้ที่อยู่อาศัยและดูแลความปลอดภัย จัดหาปัจจัยสี่ อีกทั้งควรปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยอย่างเท่าเทียม ดังเช่น ประเทศไทยมีการจัดศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านต้นยาง อำเภอสังขละบุรี ดังนั้นปัญหาการจัดการผู้ลี้ภัยยังคงมีอยู่ พวกเราจึงควรตระหนักและหาวิธีการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธีเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในฐานะมนุษย์ร่วมโลก

  สำหรับประเทศไทย ในปัจจุบัน แม้ว่าประเทศไทยมิได้เป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย สถานะผู้ลี้ภัยปี ค.ศ. 1951 (พ.ศ. 2494) เนื่องจากมีข้อติดขัดหลายประการทาง กฎหมายในการให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ลี้ภัยตามที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาฯ แต่ประเทศไทย ก็ได้ให้การปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยบนพื้นฐานของหลักการมนุษยธรรมและสอดคล้องตามหลัก การพื้นฐานที่สำคัญของอนุสัญญาฯ มาโดยตลอด

  จะเห็นได้ว่า ผู้ลี้ภัย ก็เป็นมนุษย์ซึ่งมีสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันกับบุคคลคนอื่นๆซึ่งได้รับการคุ้มครองโดยรัฐในฐานะที่เป็นพลเมือง เพราะอย่างน้อยที่สุดมนุษย์ย่อมต้องได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นสิทธิที่ไม่สามารถพรากไปจากมนุษย์ได้

 

 อ้างอิงเนื้อหาบางส่วน

http://th.wikipedia.org/wiki/ผู้ลี้ภัย

http://www.nhrc.or.th/2012/wb/img_contentpage_attachment/510_file_name_7172.pdf

http://www.l3nr.org/posts/367715

 

 

 

 

   

คำสำคัญ (Tags): #HR-LLB-TU-2556-TPC
หมายเลขบันทึก: 565429เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2014 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2014 11:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท