ข้อคิดที่ได้จากภาพยนตร์ Amazing Grace


Amazing Grace เป็นภาพยนตร์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อฉลองการครบรอบ 200 ปี แห่งการยกเลิกการค้าทาสในประเทศอังกฤษ ในภาพยนตร์ได้เล่าเรื่องราวการต่อสู้ของ วิลเลียม วิลเบอร์ฟอร์ซ ผู้เป็นสมาชิกรัฐสภาอังกฤษที่อายุน้อยที่สุดในเวลานั้น วิลเบอร์ฟอร์ซได้ต่อสู้เพื่อยกเลิกกฎหมายการค้าทาสในสหราชอาณาจักรอังกฤษ ซึ่งเวลานั้นนับได้ว่าการค้าทาสเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงจนแทบประเมินค่าไม่ได้ เนื่องจากมีทาสผิวดำชาวแอฟริกาถูกเกณฑ์มาขายในตลาดค้าทาสกว่า 12 ล้านคน พวกาสเหล่านั้นถูกมองว่าไม่ได้แตกต่างอะไรจากสัตว์ใช้งาน เพียงเพราะเขาเกิดมามีสีผิวและหน้าตาที่แตกต่างออกไป ทาสถูกปฏิบัติอย่างทารุณโหดร้าย ทาสถูกล่ามโซ่ ถูกเฆี่ยนตี ถูกตีตรา ตลอดจนถูกนำไปใช้เป็นสิ่งของในการพนัน วิลเวอร์ฟอร์ซใช้เวลากว่า18 ปี ในการพยายามผลักดันกฎหมายการเลิกการค้าทาส จนในที่สุดมาประสบความสำเร็จในปี 1807

ในยุคนั้น ทาสส่วนใหญ่เป็นชาวแอฟริกัน ที่ถูกส่งตัวข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อมาเป็นแรงงานอยู่ในเหมือง ในไร่ โดยทาสส่วนใหญ่ถูกส่งไปบราซิลและอาณานิคมต่าง ๆ ของอังกฤษฝรั่งเศสสเปนเป็นต้นในการส่งตัวทาสไปยังที่ต่างๆ มักส่งไปในทางเรือ ดังนั้นวิลเบอร์ฟอร์ซจึงได้ผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ธงบนเรือสินค้าและการเรียกเก็บภาษี เพื่อเป็นการควบคุมเรือที่ใช้ในการขนแรงงานทาส ทำให้เรือต่างๆไม่กล้านำเรือออกเดินทาง รัฐบาลจึงสามารถควบคุมการขนส่งทาสได้ง่ายขึ้น

โดยปกติแล้วเรือที่อยู่ในท้องทะเลจะต้องมีสัญชาติเสมอ โดยสัญชาติของเรือจะแสดงออกผ่านธงชาติที่ประดับไว้บนเรือ โดยสัญชาติของเรือจะเป็นตัวกำหนดว่าเรือลำนั้นผูกพันกับกฎหมายประเทศใด และรวมถึงเขตอำนาจศาลเหนือเรือนายเรือ และลูกเรือ เรือลำใดที่ไม่มีสัญชาติจะถือว่าเป็นเรือเถื่อน และไม่ได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ[1]

หลักกฎหมายที่วิลเบอร์ฟอร์ซใช้ในการเรียกร้องให้มีการยกเลิกการค้าทาส คือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน[2] ข้อ1 มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและ เสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ ต่างในตนมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ และ ข้อ4 บุคคลใดจะตกอยู่ในความเป็นทาส หรือสภาวะจำยอมไม่ได้ ทั้งนี้ ห้ามความเป็นทาส และการค้าทาสทุกรูปแบบ

หลังจากดูภาพยนตร์เรื่อง Amazing Grace แล้ว ข้าพเจ้าได้รับข้อคิดหลายประการ เช่น การที่เราจะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆที่ทำมาเป็นเวลานานนั้น จะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปและจะต้องมีความอดทน ไม่ย่อท้อเหมือนอย่างที่บิลเวอร์ฟอร์ซต้องการให้มีการยกเลิกการค้าทาสและใช้ความอดทนเป็นเวลานานกว่า 18ปีเพื่อผลักดันการยกเลิกการค้าทาส  และในการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งควรดำเนินไปอย่างสงบ ใช้วิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดความรุนแรง เหมือนอย่างในภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นถึงความชาญฉลาดในการออกกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ธงและการเก็บภาษีเรือ จนในที่สุดการยกเลิกการค้าทาสเป็นผลสำเร็จ นอกจากนั้นข้าพเจ้าได้เห็นถึงการกดขี่ห่มเหงกระทำการอันทารุณต่อมนุษย์ด้วยกัน ด้วยเหตุเพราะความแตกต่างในด้านสีผิว ภาษา หรือเชื้อชาติ ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อความเสมอภาค และละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งทำให้เป็นแรงผลักดันในการศึกษาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เพื่อที่จะนำไปใช้ลดความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม ให้ทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง

ท้ายที่สุดนี้ แม้ปัจจุบันจะมีการเลิกทาสไปแล้วเป็นเวลานาน แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ทาสได้แปรสภาพเป็นบุคคลในรูปแบบอื่น เช่นการค้าทาส ถูกเปลี่ยนมาอยู่ในรูปแบบของการค้ามนุษย์ ซึ่งยังคงมีการใช้แรงงานอย่างหนัก ถูกกดขี่ข่มเหง ถูกกระทำด้วยความโหดร้ายทารุณอันไม่เป็นธรรม เช่นเดียวกับทาสในอดีต แม้ไม่มีเรือจอดทอดสมอถัดออกมาจากป้อมกักกันทาส แต่ผู้คนก็ยังกำลังถูกบังคับเข้าสู่รูปแบบของความเป็นทาสอย่างใดอย่างหนึ่งกันอยู่ทั่วโลกนั่งเอง นี่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องให้ความสำคัญกับกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเพื่อยุติการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อเพื่อนมนุษย์อย่างแท้จริง

รูปทาสที่อยู่ในโซ่ตรวน ถือเป็นสัญลักษณ์ของการรณรงค์ต่อต้านการค้าทาสของวิลเบอร์ฟอร์ซ โดยมีสโลแกนในการรณรงค์ว่า “Am I not a man and a brother?”[3]


[1] สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง,สัญชาติเรือ : ความสำคัญของการมีสัญชาติของเรือ,1/4/2557, http://www.tri.chula.ac.th/triresearch/nationality... เข้าถึงวันที่ 2 เมษายน 2557

[2] ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(Universal Declaration of Human Rights),

http://www.mfa.go.th/humanrights/images/stories/book.pdf เข้าถึงวันที่ 2 เมษายน 2557

[3]จุดจบของการเลิกทาส(End of the Slave Trade) , http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=1512 เข้าถึงวันที่ 2 เมษายน 2557

หมายเลขบันทึก: 565313เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2014 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท